หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management-BCM)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 091-770-3350 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
Advance Management and Productivity
งานขายและการตลาด (Sales and Marketing)
งานขายและการตลาด (Sales and Marketing)
ทำไมองค์กรยุคใหม่จึงต้องบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ได้ดี?
“น้ำท่วม 9 จังหวัดภาคกลางเป็นเวลากว่า 3 เดือน โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่งต้องหยุดดำเนินการนานกว่า 1 เดือน”
“สหรัฐอเมริกามีนโยบายลด QE เงินทุนไหนออกจากตลาดทุนไทย กดดัชนีตลาดหุ้นลดต่ำสุดในรอบปี และค่าเงินของไทยของไทยผันผวนอย่างหนัก”
“แผ่นดินไหวในทะเลอันดามันจนเกิดสึนามิ เศรษฐกิจและธุรกิจเสียหาย ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก”
“ไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ของไทยกว่า 15 ชั่วโมง”
“แผ่นดินไหวจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เสียหาย มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีสู่สิ่งแวดล้อม”
“วันที่ 24 ธ.ค. 56 รถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง หยุดดำเนินการตั้งแต่ 8 โมงเช้า เป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง การจราจรโกลาหลทั้งกรุงเทพฯ BTS เสียหาย 5 ล้านบาท” ตัวอย่างเหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน ความผันผวน ความเสี่ยงภัย และภัยคุกคามแบบต่าง ๆ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบที่รุนแรงและกว้างขวางต่อธุรกิจทำให้ต้องหยุดดำเนินการ (business disruption) รวมทั้งอาจส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมของประเทศได้ นอกจากนี้ เหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งสามารถส่งผลต่อเสียหายทางธุรกิจในอีกหลายประเทศที่อยู่ห่างไกลคนละทวีปได้เนื่องจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของ global supply chain
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจึงอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อมที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความพร้อมและเตรียมตัวรับมือเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้เกิดเหตุการณ์ความผันผวนหรือวิกฤติ รวมทั้งยังต้องมีระบบในการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพด้วย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงบางประการที่ไม่อาจป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เพราะอยู่นอกการควบคุมขององค์กร เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาด วินาศกรรม จราจล นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจโลก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้กิจการต้องหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่บริษัทได้ เพราะหลายเหตุการณ์ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ และเป็นเหตุสำคัญที่ให้ธุรกิจไม่อาจดำเนินกิจการได้ตามปกติ สิ่งนี้เป็นเหตุผลให้การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ได้รับความสนใจและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกิจปัจจุบัน ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และกิจการ SMEs
ขณะที่นักบริหารมืออาชีพและผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ตระหนักและเข้าใจอย่างดีว่าความเสียหายจาก business disruption เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แสนแพง และได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันและหยุดยั้งผลกระทบเชิงลบเหล่านั้นได้ แต่ผู้บริหารองค์กรอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องพบกับความสูญเสียอย่างมหาศาล เมื่อต้องรับผลกระทบจากปัญหาที่มิได้เตรียมพร้อมรับมือไว้ล่วงหน้าอย่างดีเพียงพอ ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยความไม่รู้ คาดการณ์ไม่ถึง หรือการขาดความเอาใจใส่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในองค์กร
BCM และ BCP จึงเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารความเสี่ยง เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ แม้อยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤต โดยไม่ทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก รวมถึงจำกัดวงให้มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถป้องกันความเสียหายความสูญเสียที่มีมูลค่าสูงมหาศาลได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าขององค์การสูงขึ้นเนื่องจากความมั่นใจของลูกค้าและผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจะเกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติทุกคนในองค์กร และทุกหน่วยงานในองค์การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องนี้ และสามารถนำความรู้ แนวคิด และหลักการไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล และสามารถจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีความเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้? ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจตามหลักการบริหารที่เป็นมาตรฐานสากล
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามของและผลกระทบเมื่อเกิดการหยุดชะงักต่อองค์กร
เข้าใจแนวคิดและหลักการของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ได้เรียนรู้เทคนิคและแนวปฏิบัติในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจทั่วทั้งองค์กร
ฝึกพัฒนากลยุทธ์ กลวิธี และระบบการจัดการเพื่อบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอน ได้ฝึกทักษะการระบุ วินิจฉัยและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ประเมินผลกระทบ การออกแบบกำหนดแผนการตอบสนองความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
เพื่อระบุกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ การจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
DAY 1 Introduction to Business Continuity Management (BCM) BCM คืออะไร?
BCM ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
BCM สำคัญและความจำเป็นอย่างไรต่อธุรกิจสมัยนี้?
ประโยชน์ของ BCM
ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ BCM
ความหมายของความเสี่ยง โอกาส และการบริหารความเสี่ยง
ปัจจัยเหตุแห่งความเสี่ยง
ประเภทของความเสี่ยง
องค์ประกอบของความเสี่ยง
วัตถุประสงค์ของ BCM
BCM Road Map
การวิเคราะห์บริบทของธุรกิจ โครงสร้างของธุรกิจและองค์กร เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและปัจจัยความเสี่ยงในทางธุรกิจ
โครงสร้างการดำเนินงานขององค์การ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการระบุปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้น
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลต่อความเสี่ยง
Workshop
อภิปรายกรณีตัวอย่างเหตุการณ์ที่จะทำให้ธุรกิจของท่านหยุดชะงักงัน (disruption)
BCM Process ขั้นตอนการจัดทำ BCM
การระบุ critical/vital business function
การประเมินความเสี่ยง (risk assessment)
การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่น
Risk Matrix
Cause and Effect Diagram
Event Trees
Failure Mode and Effect Analysis
กรณีตัวอย่าง BCM ขององค์กรในประเทศไทย
Workshop
critical/vital business function ขององค์กรท่านคืออะไร
การประเมินความเสี่ยงขององค์กร
DAY 2 BCM Process (ต่อ) การทำ Business Impact Analysis (BIA)
PPTISS
Business Recovery
Business Continuity Planning
Emergency Response Plan
Crisis Management Plan
Workshop
การวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจ
Risk Management in Practice โครงสร้างการกำกับดูแล BCP และการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ
บทบาทของผู้บริหารในกระบวนการบริหารความต่อเรื่องทางธุรกิจ
บทบาทของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
บทบาทหน้าที่ของทีมจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทบาทของหน่วยงานบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
การกำหนด BCM strategy
การพัฒนาและการนำ BCM response ไปปฏิบัติ
ปัจจัยความสำเร็จของการทำ BCM มาใช้ในองค์กร
BCM กับ ISO 22301
การปลูกฝัง BCM เข้าในวัฒนธรรมองค์กร
Workshop
การจัดทำแผนการบริหาความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงในสายงานต่าง ๆ ขององค์กร
ผู้รับผิดชอบงานการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
ผู้จัดการและหัวหน้างาน
บุคลากรของหน่วยงานควบคุมภายใน
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
เน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ การสื่อสาร 2 ทาง เช่น
การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
กิจกรรมที่เชื่อมโยงเนื้อหาที่สำคัญกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำเทคนิค เครื่องมือไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
การประเมินผลตนเองหลังการอบรม
ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม
ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ
ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม
Assignment เพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม
หัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
2. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
3. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
4. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
รับชมการเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
รับชมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic
รับชมการพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor
รับชมการนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
รับชมการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม
รับชม