หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารผลการปฏิบัติงานเพื่อผลสำเร็จทางธุรกิจ (Strategic Performance Management System (PMS) for Business Success)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 091-770-3350 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)
Advance Management and Productivity
งานขายและการตลาด (Sales and Marketing)
งานขายและการตลาด (Sales and Marketing)
เหตุใดหลักสูตรนี้จึงจำเป็นสำหรับธุรกิจปัจจุบัน?
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System – PMS) เป็นเครื่องมือการบริหารสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารแต่ละระดับได้ทราบถึงผลการทำงานของบุคลากร และองค์กรในแต่ละช่วงเวลา ว่ามีพัฒนาการและความสำเร็จสิ่งใด มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น แต่องค์กรจำนวนมากกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการนำเอา PMS ไปใช้ เหตุผลที่สำคัญคือ หลายองค์กรแม้จะมี PMSแต่ก็เป็นระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิผล (non-effective PMS) ซึ่งมีลักษณะดังนี้ เป้าหมายหรือเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของผลการปฏิบัติงานขาดความชัดเจน ทำให้ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินตีความแตกต่างกัน เกิดการไม่ยอมรับผลการประเมิน เพราะผู้ถูกประเมินรู้สึกไม่เป็นธรรมเมื่อถูกประเมินว่าไม่มีผลงานตามเป้าหมาย
เป้าหมายและเกณฑ์มีจำนวนมากเกินจำเป็น สร้างภาระในการเก็บข้อมูลและการรายงานผลงานของผู้ถูกประเมิน
เป้าหมายการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ไม่มีนัยสำคัญเชื่อมโยงกับต่อเป้าประสงค์ขององค์กร สุดท้ายทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินตอบไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำไปจะสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับองค์กรอย่างไร
เกณฑ์การประเมินการประเมินเน้นไปที่การประเมินพฤติกรรม เช่น ลา สาย ขาด ฯลฯ ไม่ได้สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานจริงของบุคลากร ไม่มีการวัดผลที่โยงกับผลลัพธ์ความสำเร็จของงานและองค์กรที่ชัดเจน
พฤติกรรมของผู้ถูกประเมินเบี่ยงเบนไปทุ่มเทรัพยากรและเวลาการทำงานให้กับกิจกรรมเฉพาะที่ ถูกกำหนดเป็นตัววัดผลการปฏิบัติงาน (target) โดยไม่ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ (purpose) ที่แท้จริงของงานนั้น ๆ
ระบบ PMS ที่ไม่มีประสิทธิผลจะสร้างความอึดอัดใจให้ทั้งแก่ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน หรืออาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่พอใจระหว่างกันได้ นอกจากนี้ เมื่อระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานไม่น่าเชื่อถือ ระบบไม่ได้ถูกยอมรับ ผลที่ได้จากการประเมินจึงไม่ถูกนำไปใช้ ผลประเมินถูกเก็บเข้าแฟ้มหลังจบช่วงการประเมิน ไม่ได้นำไปสู่การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการทำงาน ยิ่งกว่านั้น ในหลายองค์กร การประเมินผลการปฏิบัติงานได้กลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่พนักงานทุกระดับต้องทำทุก 1-2 ครั้งต่อปี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ส่งผลให้การทำงานของพนักงานมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นแต่อย่างใด
ทางออกเดียวที่จะทำให้องค์กรยกระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและส่วนงานต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลคือ การนำระบบการบริหารผลงานที่กำหนดเป้าหมายการทำงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรและหน่วยงาน ผ่านกระบวนการหารือร่วมกันถึงสิ่งที่ผู้บริหารคาดหวังจากการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และระดับของมาตรฐานผลงาน และเมื่อผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานจะมีทำแผนการพัฒนาผลงานเฉพาะราย ซึ่งเป็นการบริหารผลงานทั้งระบบ โดยการประเมินผลจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบเท่านั้น ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานที่ดี มีประสิทธิผล ยุติธรรม จะขยายผลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การพัฒนาบุคลากร ระบบงาน การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การบริหารค่าจ้างและผลตอบแทน เป็นต้น
หลักสูตรนี้จะช่วยให้องค์กรมีระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะเข้าใจภาพรวมในการบริหารผลการปฏิบัติงาน ได้ทบทวนวัตถุประสงค์ขององค์กรและนำมาร่วมกันจัดทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators – KPIs) ของตนเอง และสามารถจัดทำมาตรฐานผลงานที่ต้องการในแต่ละตำแหน่งที่สอดคล้องกัน สามารถทบทวนเป้าหมายในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ผ่านการออกแบบจัดทำระบบการบริหารผลการปฏิบติงาน ตั้งแต่การวางแผนผลลัพธ์หรือผลการดำเนินงาน(Performance Planning) การดำเนินการเพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่ต้องการ (Performance Execution) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) การทบทวนผลการปฏิบัติงาน (Performance Review and Reward) และการให้ข้อมูลย้อนกลับและการโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงาน (Performance Feedback and Coaching) อย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องครบวงจร
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะได้จากหลักสูตรนี้
1. เข้าใจระบบและกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System – PMS) โดยเฉพาะในส่วนที่เชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานส่วนบุคคลไปสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างเป็นระบบ และสามารถวางแผนเชื่อมโยงระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของตนเองให้สนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของบริษัท
2. เข้าใจความสำคัญ ประโยชน์ และระบบ PMS ใน 3 ระดับที่เชื่อมโยงสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ระดับองค์กร (Organization Level) ระดับหน่วยงาน/หัวหน้างาน (Department Level) และระดับบุคคล (Individual Level)
3. เข้าใจแนวคิดและหลักการที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ เช่น การประเมินผลด้วยตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) การใช้ขีดสมรรถนะในงาน (Competency) ฯลฯ และประยุกต์ใช้สิ่งเหล่านี้กับการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของตนเอง
4. สามารถปฏิบัติตามวงจรการบริหารผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ Performance Planning, Performance Execution, Performance Appraisal, Performance Feedback and Coaching, Performance Review and Reward รวมทั้งการออกแบบเอกสาร/แบบฟอร์มที่ประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมกับองค์กรของตน
5. สามารถกำหนดหัวข้อการประเมินที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ของงาน และขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบสำหรับแต่ละตำแหน่งงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับบริบท และยุทธศาสตร์ขององค์กร
6. สามารถนำเอาผลการประเมินไปใช้อย่างสร้างสรรค์เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา และของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง? Module 1 Introduction to PMS
วิวัฒนาการของการบริหารผลการปฏิบัติงาน
ปัญหาและข้อจำกัดของการบริหารผลการปฏิบัติงานแบบดั้งเดิม
เหตุผลที่การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเดิมใช้ไม่ได้ผล
แนวคิดของการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่
วงจรของระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management Cycle)
Module 2: Performance Planning
แนะนำเครื่องมือการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ เช่น Balanced Scorecard, KPI, Competency
การกระจายเป้าหมายขององค์กรสู่หน่วยงานและตำแหน่งงาน
การร่วมกันทำให้เป้าหมายการทำงานของพนักงานสอดคล้องกับหน่วยงาน (align individual goals with organizational purposes)
การจัดทำแผนเพื่อผลการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-focused Performance Plan)
การกำหนดผลงานหลัก (Key Result Area) ที่คาดหวังจากแต่ละตำแหน่ง
การกำหนดตัวชี้วัด/มาตรฐานผลงานที่วัดได้ (measurable performance indicators) และเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ธุรกิจ (business results)
การกำหนดตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่งงาน (key performance indicators for each position)
ตัวอย่างและหลักเกณฑ์การประเมินผลงานประจำปี
Workshop จากกรณีประสบการณ์จริงของผู้เรียน
Module 3: Performance Review & Appraisal
ขั้นตอนและกระบวนการของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน
การวิเคราะห์ผลงานปฏิบัติงานเทียบกับมาตรฐานที่ต้องการ โดยใช้ข้อมูลจริงในปัจจุบัน
การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบสองทาง (two way communication) และการประเมินแบบ 360 องศา
การรวบรวมข้อมูลเพื่อกำกับผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเกณฑ์และเป้าหมาย
ตัวอย่างและแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
Workshop จากกรณีประสบการณ์จริงของผู้เรียน
Module 4: Performance Development
ศิลปะและเทคนิคการสื่อสารสำหรับผู้ประเมิน
ประเด็นและหัวข้อในการทบทวนและให้ข้อมูลป้อนกลับ
วิธีการให้ Positive Feedback กับผู้ถูกประเมิน
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อปรับปรุงผลงาน
การใช้ performance coaching เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถของพนักงาน
การขยายผลและการใช้ประโยชน์ผลการประเมินเพื่อการพัฒนาองค์กร เช่น การจัดทำแผนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การบริหารผลตอบแทน การปรับปรุงเงื่อนไขของการปฏิบัติงาน / กระบวนการปฏิบัติงาน
Workshop การให้ feedback จากผลการประเมิน
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม (questioning)
การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กร และสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
รับชมการเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
รับชมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic
รับชมการพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor
รับชมการนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
รับชมการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม
รับชม