หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมืออาชีพ
(กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา )
ติดต่อสอบถาม
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด บุคคลที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วนเข้าใจในความสำคัญของเป้าหมาย และทำเป้าหมายให้มีความชัดเจนและท้าทาย พวกเขารู้ว่าตนเองต้องการอะไรและตั้งใจอยู่กับการทำงานเพื่อให้บรรลุผล โดยไม่สนใจปัญหา อุปสรรคที่เผชิญอยู่ แต่จะค้นหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคได้อย่างมั่นใจ
การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จของพนักงานและองค์กรได้ การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นวิธีการวัดผลลัพธ์ของพนักงานทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงานไปจนถึงศักยภาพที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ แต่ทั้งนี้ การออกแบบระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจึงควรออกแบบให้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicator : KPI) และสมรรถนะ (Competency) ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับภาระหน้าที่งานของพนักงาน ส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์กร เกิดความยุติธรรมกับพนักงานทุกคนและทุกหน่วยงานในองค์กร
การประเมินผลการปฏิบีติงานของพนักงานในองค์กรไม่ได้เป็นหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนโดยเฉพาะหัวหน้างานสายตรงที่จะเข้าใจในกระบวนการและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน จึงควรอย่างยิ่งที่จะทำให้หัวหน้างานสายตรงได้มีมุมมองและทัศนคติเชิงบวกต่องานด้านทรัพยากรมนุษย์และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร สามารถตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติงานหรือตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) ของตนเองและพนักงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้พนักงานสร้างผลงานได้เหมาะสมตามภาระหน้าที่งานตามเป้าหมายของตนเอง ทีมงานและองค์การได้
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานและการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI)
เพื่อให้มีแนวทางในการออกแบบและฝึกปฏิบัติการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และเกณฑ์สมรรถะในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่งานได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้เกิดการปรับ Mindset และทัศนคติเชิงบวกต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และสมรรถะในการปฏิบัติงาน สามารถปรับเปลี่ยนความคิดเชิงลบต่อเป้าหมายให้เป็นความคิดเชิงบวกโดยมองเห็นคุณค่าของเป้าหมายได้อย่างท้าทาย
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม การปรับ Mindset ในการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับเป้าหมาย (Goal)
เทคนิคการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
คุณสมบัติและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
ความหมายของการคิดเชิงกลยุทธ์
สำรวจแนวความคิดเชิงกลยุทธ์ของตนเอง
Workshop: แนวทางพิชิตเป้าหมายของตนเอง
แนวคิดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กร
ความหมายของการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
กระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กร
การนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไปพัฒนาพนักงานในองค์กร
การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 90/ 180/ 360 องศา
ประเด็นปัญหาที่พบในการประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กร
การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และสมรรถนะ (Competency) ในการปฏิบัติงาน
ความหมายของตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
ประโยชน์ของตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักและสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ตามภาระหน้าที่งาน
เทคนิคการวัดผลลัพธ์ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักและสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน
Workshop: ฝึกปฏิบัติการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
การบ้าน: เพื่อการนำไปฝึกฝนและนำสู่การปฏิบัติจริง
กรอบความคิดของหลักสูตร (Course Framework)
การกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานในองค์กร มาจากปัจจัย 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยผลการปฏิบัติงาน และ 2) ปัจจัยสมรรถนะในการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานทำได้โดยการออกแบบตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Indicator) และมาตรฐานผลการปฏิบัติงาน (Performance Standard) ซึ่งมาจากการวิเคราะห์ภาระหน้าที่งาน ความรับผิดชอบและกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในตำแหน่งงานตามใบพรรณนางาน (Job Description : JD) เพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) นำมาสู่การวัดความสำเร็จของผลงานได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักระดับองค์กรจะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ขององค์กร พันธกิจและเป้าหมายหลักขององค์กร นำออกเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักระดับองค์กร การส่งผ่านจากระดับหน่วยงานจะเริ่มต้นจากเป้าหมายระดับหน่วยงานส่งผ่านกลยุทธ์ของหน่วยงาน นำออกเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักระดับหน่วยงาน และการส่งผ่านระดับบุคคลจะเริ่มต้นจากภาระหน้าที่งานและความรับผิดชอบตามตำแหน่งงานที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่นำออกเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักระดับบุคคล
แนวทางในการอบรม การฝึกอบรมในรูปแบบของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที เพราะได้ดำเนินการสร้างกระบวนการคิดร่วมกันระหว่างการฝึกอบรมแล้ว
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและเข้าใจง่าย
การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
การใช้คำถามด้วยกระบวนการโค้ช (Coaching) : จูงใจให้ผู้รับการฝึกอบรมได้คิดด้วยตนเองและแสดงความคิดเห็นบนเรื่องราวของตนเอง
Workshop: กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
Role Playing: ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงบทบาทสมมติ
กำหนดแนวทางให้ผู้เข้าฝึกอบรม ได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนตนเองทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำ โดยการพัฒนาตนเอง ด้วยการฝึกฝนจนกลายเป็นธรรมชาติ
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียน โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตนเอง
ผู้ที่เหมาะกับหลักสูตรนี้ พนักงาน
ผู้บริหารตามสายงาน
หัวหน้างาน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม