หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การผลิตที่ไม่มีของเสียหรือ Zero Defect (Zero Defect Production)
(วิทยากรอิสระ)
ติดต่อสอบถาม
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด ที่สุดแห่งการผลิตก็คือ ผลิตสินค้าออกมาแล้วไม่มีของเสียเลย หรือของเสียต้องเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นการผลิตที่ไม่ว่าโรงงานใด ๆ ก็อยากให้เป็นเช่นนั้น ตั้งแต่เริ่มมีการผลิตสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนหรือการจำหน่าย ความต้องการสินค้าที่ดีไม่มีข้อบกพร่องย่อมเป็นที่ต้องการของทุกคน หากการผลิตเกิดขึ้นจากช่างฝีมือที่มีความยอดเยี่ยมมีประสบการณ์ และเป็นผู้ประดิษฐ์สินค้าชิ้นนั้นออกมาเอง เราก็อาจจะได้สินค้าที่ไม่มีข้อบกพร่องทุกชิ้น ด้วยการเอาใจใส่ในการประดิษฐ์สินค้าทุกชิ้นด้วยมือของผู้เชี่ยวชาญเอง และอาจเรียกได้ว่า Zero Defect อย่างไรก็ตามสำหรับการผลิตที่มีจำนวนผลิตภัณฑ์มากเป็นพัน เป็นหมื่น หรือเป็นแสน ๆ ล้าน ๆ ชิ้น ไม่สามารถทำได้ด้วยคน ๆ เดียว หรือเครื่องจักรเพียงเครื่องเดียว ทั้งยังเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากตลอดกระบวนการผลิต โอกาสที่จะได้ของเสียออกมาย่อมเป็นไปได้ ดังนั้นการควบคุมการผลิตโดยไม่ให้มีของเสียเลย จึงต้องมีการศึกษา และการทำงานร่วมกันเป็นทีมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต
วัตถุประสงค์ 1. ทำความเข้าใจหลักการและการผลิตที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก
2. ศึกษาการควบคุมคุณภาพในทุกจุดของกระบวนการผลิตที่จะทำให้การผลิตไม่มีของเสียเกิดขึ้น
รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline) Module 1: ศึกษากระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนปลายน้ำ
a. การใช้หลักการผลิตแบบ Six Sigma มาเพื่อช่วยให้การผลิตมีข้อผิดพลาดไม่เกิน 3 ชิ้นในการผลิต 1,000,000 ชิ้น หรือ DPMO: Defects per Million Opportunities
b. การออกแบบการผลิตที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการน้อยที่สุด หรือ DFSS: Design for Six Sigma
c. หลักการของ House of Quality หรือ QFD (Quality Function Deployment)
d. การศึกษากระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ หรือ SIPOC: Suppliers, Inputs, Process, Outputs, และ Customer
e. การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า Kano Analysis
f. Straight Flush การผลิตที่ได้คุณภาพดีในทุกขั้นตอนของการผลิต
g. People Skill Capability ตารางความสามารถของพนักงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ
Module 2: การนำหลักการของ Six Sigma มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต
a. Define การกำหนดตัวโปรเจคและผู้ร่วมกระบวนการทำให้โปรเจคสำเร็จ
b. Measure การเก็บข้อมูล และวิธีการวัดผล
c. Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตทั้งหมด
d. Improvement การนำเอาผลของการวิเคราะห์มาออกแบบขั้นตอนการผลิตใหม่ทั้งหมด ทดลองทำ และวัดผลที่ได้
e. Control นำเอาวิธีการที่ประสบผลสำเร็จในการทดลองมาเขียนเป็นขั้นตอนมาตรฐานในการผลิตใหม่
f. Workshop การใช้หลักการที่เรียนมาทดลองทำ Process Improvement
ตัวอย่าง Work Shop / กรณีศึกษา
Workshop ทำ Test ของ Tool ต่าง ๆ ที่ช่วยในการคิดอย่างเป็นระบบ สลับกับการบรรยาย
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
เนื่องจากอาจารย์มีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้คนในหลายรูปแบบและหลายระดับ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาบุคลากรของหลาย ๆ องค์กร การฝึกอบรมจึงเน้นการเล่าถึงประสบการณ์จริงที่ได้พบมาตามหัวข้อต่าง ๆ ในเอกสารบรรยาย เพื่อไม่ให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเบื่อหน่าย และต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการทำงานได้จริง
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม