หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาสำนึกความเป็นเจ้าของและผูกพันกับองค์กร (Building the sense of organizational ownership and engagement)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้? การทำธุรกิจในยุคการแข่งขันไร้พรมแดน มีเงื่อนไขและปัจจัยเกี่ยวข้องที่ซับซ้อนมากขึ้น มีหลายปัจจัยที่เป็นเหตุให้ธุรกิจต้องปรับตัว ปรับองค์กร ปรับการทำงาน เปลี่ยนระเบียบ เปลี่ยนวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงอีกหลายสิ่ง เพื่อความอยู่รอดขององค์กร การพัฒนาสำนึกแห่งความเป็นเจ้าของควบคู่กับการสร้างความผูกพันกับองค์กร กลายเป็นแนวทางสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความเข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัว และพร้อมจะร่วมกันนำพาองค์กรให้อยู่รอดและก้าวหน้าต่อไป
การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของและความผูกพันกับองค์กร จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้บริหารองค์กรต้องทำให้เกิดขึ้น ยิ่งพนักงานแต่ละระดับมีความผูกพันกับองค์กรที่แน่นแฟ้นมากขึ้นเท่าไร การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อบุคลากรในองค์กรเกิดความเข้าใจในเป้าหมาย ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของตนเอง ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งขององค์กร รวมทั้งความเกี่ยวเนื่องระหว่างความอยู่รอดขององค์กรกับชีวิตการทำงานของตนเองแล้ว พนักงานจะให้ความร่วมมือร่วมใจทำงาน ยินดีปรับตัว ร่วมมือกันเกิดพลังแห่งการเรียนรู้ ผนึกกำลังในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนได้
หลักสูตรนี้ทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เกิดความเชื่อมั่น ความศรัทธา เล็งเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกรักการทำงาน จิตสำนึกรักในองค์กร มีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร มีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อเป็นพลังองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้? เกิดทัศนคติเชิงบวกและสร้างสรรค์ต่อตัวเองและองค์กร เล็งเห็นคุณค่าในตนเองและเพื่อนร่วมงานผู้อื่น
เห็นหลุมพรางทางความคิดที่ทำให้เกิดความรู้ลบต่อตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กร และสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นทัศนคติเชิงบวก เพื่อให้เกิดผลดีต่อการทำงานของตนเองและองค์กร
เกิดความภาคภูมิใจในงานที่รับผิดชอบ และในองค์กรที่ทำงานร่วมด้วย มีการสื่อสารเกี่ยวกับองค์กรในทางสร้างสรรค์ เป็นตัวแทนในการสื่อสารภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
เกิดแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับองค์กร
เกิดจิตสำนึกความเป็นเจ้าขององค์กร มีความรัก ความผูกพัน และมีความตั้งใจที่จะสนับนุนองค์กรให้เดินไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
Module 1: มองเห็นตัวเอง มองเห็นองค์กร
สำรวจสิ่งที่องค์กรมี สิ่งที่องค์กรต้องการจากเรา สิ่งที่องค์กรให้เรา
สำรวจสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราต้องการจากองค์กร สิ่งที่เราให้กับองค์กร
สำรวจองค์กรด้วย Happy Workplace Model
ทำไมต้องเป็นที่นี่?
Workshop 1: สำรวจความรู้สึกที่เรามีต่อองค์กร
Module 2: สร้างตนให้เป็นพลังบวก
อะไรคือองค์กรในอุดมคติของเรา?
อะไรคือหลุมพรางทางความคิดที่สกัดกั้นความรู้สึกเป็นเจ้าของและผูกพันในองค์กร?
การหาความสุขจากงานที่ทำ
การเปลี่ยนกรอบคิด การเปลี่ยนความรู้สึก การเปลี่ยนการกระทำ
เราจะก้าวไปสู่การคิดบวกได้อย่างไร (shifting mindset)?
ทำอย่างไรให้เรามีพลังเชิงบวก ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน?
Workshop 2: การเปลี่ยนมุมมองความคิดที่มีต่อตนเองและคนรอบข้าง การสร้างให้เห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น
Workshop 3: การชื่นชม และความภาคภูมิใจ
Module 3: การส่งพลังบวกสู่เพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กร
การสร้างความภาคภูมิใจในองค์กรและเพื่อนร่วมงาน
การมองเพื่อนร่วมงานและองค์กรในมุมใหม่
องค์กรในฝัน vs องค์กรปัจจุบัน: องค์กรเป็นไปตามที่เราคิดและเชื่อ
ทำอย่างไรให้ทีมเห็นประโยชน์และคุณค่าขององค์กร?
แนวทางการสร้างความปรารถนาที่จะเห็นตัวเองเติบโตร่วมไปกับองค์กร
ทำอย่างไรให้ทีมงานมีเป้าหมายร่วมกันกับองค์กร?
เราจะร่วมกันพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้อย่างไร?
Workshop 4: กรณีศึกษา (case study) และการแสดงบทบาทสมมติ (role playing)
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? ผู้บริหาร ผู้จัดการ
บุคลากรที่มีเกี่ยวข้องกับการบริหารความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร
หัวหน้างาน
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม