หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหน้างาน - หลักสูตร 1 วัน
(Problem Analysis at the Real Place)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาหน้างาน (Problem Analysis at the Real Place)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

ทำไมหลักสูตรนี้จึงสำคัญ?
“การคิดเป็นทักษะ...เหมือนภาษา เหมือนการทำอาหาร เหมือนการขับรถ
ถ้ารู้วิธีที่ถูก...ยิ่งคุณใช้ทักษะนี้บ่อย คุณจะยิ่งเก่งขึ้น
ยิ่งคุณเก่งขึ้น...คุณจะประสบความสำเร็จมากขึ้น


การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยำ รอบคอบ เป็นทักษะที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคน ทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน การเข้าใจปัญหาอย่างรอบด้าน วิเคราะห์ได้แม่นยำ มองเห็นทางเลือกอย่างรอบด้าน ย่อมช่วยป้องกันและแก้ปัญหาอย่างได้ผล คนที่มีทักษะการแก้ปัญหาที่ดีจะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ ปัญหาซับซ้อนมากหรือน้อย โจทย์ที่ง่ายหรือท้าทาย ผู้ที่มีความชำนาญในการแก้ปัญหาเป็นอย่างดีจะทำให้ชีวิตตนเองและองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ 
แต่ปรากฎว่า หลายองค์กรมักตกอยู่ในสภาพการวิ่งไล่แก้ปัญหาที่วนเวียนไม่จบสิ้น แม้ได้ทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากไปเพื่อแก้ไขปัญหาหนึ่ง แต่กลับไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ซ้ำร้าย ในหลายกรณี ปัญหากลับลุกลามขยายตัวจากเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น และแก้ไขได้ยากขึ้น ยิ่งพยายามแก้ไขต่อไปก็เหมือนยิ่งทำให้ปัญหาขยายวงออกไป ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น จนอยู่ในวัฎจักรของปัญหาที่แก้ไม่จบสิ้น 
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบโดยหลักการพื้นฐานว่า “การคิดเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้” หากเรารู้วิธีการและเลือกใช้เครื่องมือการคิด (tools) ที่เหมาะสม โดยได้ผสมผสานหลักการ เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในหน่วยงานระหว่างประเทศและธุรกิจชั้นนำของโลก ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาได้อย่างแม่นยำ ตรงจุด เป็นระบบ ครบจงจร และยั่งยืน

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร?
 ผู้จัดการ หัวหน้างาน หัวหน้าทีม ที่เกี่ยวข้องกับงานการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในองค์กร
 ผู้รับผิดชอบงานด้านการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
 พนักงานระดับต่าง ๆ ในองค์กรที่ต้องการพัฒนาทักษะการคิดและการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา


ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้?
1. ทักษะการคิดที่มีคุณภาพ ช่วยให้เกิดมุมมองรอบด้านในการปัญหา 
2. สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือสิ่งที่จะทำ ได้ตรงตามเป้าหมาย
3. เครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นตรรกะ (logical) 
4. แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยเปิดโอกาสและทางเลือกใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา
5. การตัดสินใจที่มีประสิทธิผล รวมทั้งเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยในการตัดสินใจ
6. ประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการทำงานของตนเองเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน ฯลฯ

หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
 Module 1 ต้องเริ่มคิดอย่างไร ถึงจะแก้ไขปัญหาอย่างได้ผล
      อบรม สัมมนา การแก้ปัญหามีขั้นตอนอย่างไร? 
      อบรม สัมมนา อาการของโรคไม่ได้บอกสาเหตุ... แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสาเหตุ
      อบรม สัมมนา ทำอย่างไรที่จะกำหนด “โจทย์” ได้แม่นยำ?
      อบรม สัมมนา การตั้งคำถามแบบสร้างสรรค์เพื่อแก้ไขปัญหาทำอย่างไร? 
      อบรม สัมมนา ข้อคิดและตัวอย่างการตั้งคำถามที่ถูก
      อบรม สัมมนา ตัวอย่างการตัดสินใจที่ผิดพลาดทางธุรกิจ เพราะการตั้งคำถามผิด
      อบรม สัมมนา คำถามที่จะกระตุ้นให้คิดนอกกรอบ 
      อบรม สัมมนา Workshop 1 : อะไรเป็นอุปสรรคในการคิดแก้ไขปัญหาของเรา? เราจะข้ามสิ่งเหล่านี้ไปได้อย่างไร?
      อบรม สัมมนา Workshop 2 : กิจกรรม “ถ้าเจอแบบนี้ จะเริ่มอย่างไร?” กรณีศึกษาเพื่อฝึกการกำหนดปัญหา
 Module 2 แนวทาง เทคนิค และเครื่องมือการคิดวิเคราะห์แบบตรรกะ 
      อบรม สัมมนา กระบวนการคิดแบบตรรกะเป็นอย่างไร? 
      อบรม สัมมนา ข้อมูลกับการตัดสินใจ
      อบรม สัมมนา การวิเคราะห์ 3 แบบ: descriptive, predictive, and prescriptive analytics
      อบรม สัมมนา การวิเคราะห์ด้วยหลักฐานจริง กับการประเมินด้วยหลักวิชา
      อบรม สัมมนา การเชื่อมโยงเหตุและผล (causal linking)
      อบรม สัมมนา เครื่องมือการคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา เช่น 
             - 5W1H
             - Why-Why analysis 
             - Work flow analysis 
             - 7 QC tools ได้แก่ 
                   - Check sheets, Pareto diagrams, Graph, Cause & Effect diagrams หรือ Fishbone diagrams, Scatter diagrams, Control charts, Histogram 
             - New 7 QC tools ได้แก่
                   - Affinity diagrams, Relations diagrams, Tree diagrams, Matrix diagrams, Arrow diagrams, Process decision program charts, Matrix data analysis
             - Kawakita Jiro Technique 
      อบรม สัมมนา Workshop 3 : กิจกรรม “ถ้าเจอแบบนี้ จะแก้อย่างไร?” ฝึกใช้เครื่องมือการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
      อบรม สัมมนา Workshop 4 : กิจกรรม “ถ้าเจอแบบนี้ มันมาจากไหน?” ฝึกใช้เครื่องมือในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุกับผลที่ทำให้เกิดปัญหา 
 Module 3 การตัดสินใจที่มีประสิทธิผล 
      อบรม สัมมนา ปัจจัยแวดล้อมมีผลต่อการตัดสินใจของเราอย่างไร? 
      อบรม สัมมนา สาเหตุของการไม่กล้าตัดสินใจ
      อบรม สัมมนา ทำไมคนจึงตัดสินใจทำในสิ่งที่รู้ว่าไม่ดี?
      อบรม สัมมนา กับดักของการตัดสินใจ (decision traps)
      อบรม สัมมนา เทคนิคต่าง ๆ ที่ช่วยในการตัดสินใจ 
      อบรม สัมมนา Workshop 5: คุณจะเลือกทางใด?

แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
อบรม สัมมนา 
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
      อบรม สัมมนา การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
      อบรม สัมมนา การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
      อบรม สัมมนา การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
      อบรม สัมมนา กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
      อบรม สัมมนา นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
      อบรม สัมมนา กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
      อบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม