หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน (Work Safety Awareness)
(MBA. (Industrial Management))
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะลักษณะการทำงาน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการทำงาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆอันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัย
เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน ด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการทำงานให้ปลอดภัยมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย
เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline) 1. แนวโน้มอุบัติเหตุในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย
2. ความหมายของความปลอดภัยและผลกระทบจากอุบัติเหตุในการทำงาน
2.1 ความปลอดภัยคืออะไร
2.2 ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน
2.3 ผลกระทบที่เกิดต่อตนเองและครอบครัว
2.4 ผลกระทบต่อสังคมและส่วนรวม
3. การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและความประมาท คือ 85% ของอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดจากคน
4. สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
4.1 แสงสว่าง
4.2 เสียงและอันตรายจากเสียง
4.3 อุณหภูมิความร้อนและความเย็น
4.4 สภาพผังโรงงานและการระบายอากาศ
5. ประเภทของเครื่องจักรที่ทำให้เกิดอันตราย
5.1 อันตรายเชิงกล
5.2 อันตรายที่ไม่เชิงกล
6. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
7. กฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน
8. การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน
8.1 การสำรวจความพร้อมและเตือนตัวเองก่อนการทำงาน
8.2 การทำ KYT เพื่อหยั่งรู้ความไม่ปลอดภัย
8.3 การตรวจความไม่ปลอดภัย
10. Workshop: วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันและแก้ไขเชิงรุก
11. Workshop: ฝึกสร้างจิตสำนึกหยั่งรู้ความปลอดภัยในการทำงาน
รูปแบบการฝึกอบรม 1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10%
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการของการทำงานที่ปลอดภัยอย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของการทำงานอย่างปลอดภัยไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างปลอดภัย
4. ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยและทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
5. ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม