หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Thinking / หลักสูตรฝึกอบรม การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นกระบวนการด้วยหลักคิดเชิงระบบ (Logical Thinking for Problem Solving)
(Strategic and Management Coaching & Consulting / Professional Trainer)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 091-770-3350 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
Advance Thinking
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
Advance Leadership
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
หลักการและเหตุผล การแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นหลักการแก้ไขปัญหาระยะสั้น
คุณรู้หรือไม่ว่า
การเปลี่ยนแปลงระบบงานย่อยจะส่งผลกระทบกับระบบงานใหญ่
หลายสิ่ง หลายอย่าง ล้วนเป็นระบบหนึ่งในระบบที่ใหญ่กว่า
การบรรลุเป้าหมายหนึ่ง อาจเกิดเหตุการณ์อื่นๆ ขึ้นมาได้
สิ่งที่เรามองเห็นอาจเป็นเพียงบางส่วนของระบบเท่านั้น
การเรียนรู้และเข้าใจระบบ จะทำให้เกิดการยอมรับกับผลกระทบได้
การคิดเชิงระบบคือการเข้าใจระบบไม่ใช่ต่อต้านระบบ
การแก้ไขปัญหาด้วยหลักคิดเชิงระบบ (Logical Thinking for Problem Solving) เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยการให้ความสำคัญที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาด้วย ทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหามีความชัดเจนและมีประสิทธิผลสูงมากขึ้น
การนำหลักคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นการคิดเชิงองค์รวมมองที่ภาพใหญ่มากกว่า คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น และยอมรับว่าระบบไม่หยุดนิ่ง จะทำให้ได้แนวคิดในการแก้ปัญหาที่เกิดความต่อเนื่อง วางแผนในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบมากขึ้น ไม่ได้แก้ไขแบบเส้นตรงอีกต่อไป
การประยุกต์ใช้การแก้ไขปัญหาด้วยหลักคิดเชิงระบบ จะต้องเข้าใจลักษณะพื้นฐานของการเป็นระบบ และสร้างแนวความคิดเชิงระบบในองค์กร ให้ทุกคนมีหลักคิดเดียวกัน เพราะทุกคนที่เป็นองค์ประกอบในองค์กร เป็นส่วนหนึ่งของระบบขององค์กรเสมอ ดังนั้นทุกคนต้องยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใหญ่กว่า การกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อระบบที่ใหญ่กว่าเสมอ
การเรียนรู้และเข้าใจหลุมพรางทางความคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ และเทคนิคในการเอาชนะหลุมพรางนั้น จะทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆ ก็จะหมดไปได้อย่างแน่นอน
การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ให้แนวทางใหม่ทั้งหมดในการมองเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อนของเหตุและผลในโลกของเรา เป็นแนวทางที่ทำให้คิดได้ว่า สิ่งต่างๆ ผู้คนและเหตุการณ์ต่างๆ เชื่อมโยงกันและกันอย่างไรบ้าง
คิดเชิงเส้น A <img src="../../imgs/gyphicon/svg/si-glyph-arrow-thin-right.svg" width="10" height="10"></i> B = C
คิดเชิงระบบ
การสร้างแนวความคิดให้กับบุคลากรขององค์กรให้คิดเชิงระบบกับการแก้ปัญหาในการทำงาน จะช่วยทำให้พนักงานสามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิด ตามมาโดยไม่ตั้งใจจากการกระทำของพนักงาน และค้นหาจุดที่ส่งผลสูงสุด เพื่อการมุ่งเน้นการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งจะให้ประโยชน์มหาศาลต่อองค์กร
การเรียนรู้และเข้าใจหลักการของการคิดเชิงระบบ และแนวทางการประยุกต์ใช้เครื่องมือ แนวคิด รูปแบบ และกระบวนการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดประโยชน์ต่อองค์โดยรวมมากกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสามารถสร้างการทำงานเป็นทีมเวิร์คให้เกิดขึ้นด้วย เพราะทุกคนคิดเชิงระบบจะมองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมากกว่าผลลัพธ์ ที่ต้องการของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่มองที่ผลลัพธ์ขององค์กรเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการแก้ไขปัญหาด้วยแนวความคิดเชิงระบบอย่างชัดเจน สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ด้วยตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนได้สร้างแนวความคิดเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ แล้วนำหลักคิดดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบสูงให้ได้อย่างมีประสิทธิผล
เพื่อทำให้ผู้เรียนได้ใช้แนวความคิดของการคิดอย่างเป็นระบบของตัวเอง สร้างเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหากับสถานการณ์จริงได้ตาม Style ของตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนสร้างการเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ไขปัญหาเดิม เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริงกับลักษณะงานของแต่ละบุคคลผ่านการทำ Workshop, กรณีศึกษาและการนำเสนอแนวคิด
เพื่อทำให้ผู้เรียนสนุกสนานกับการเรียนรู้และเกิดความสนใจในการนำแนวคิดอย่างเป็นระบบของตัวเอง ไปประยุกต์ใช้ด้วยตัวเองด้วยความเต็มใจ
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I : สร้างและพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของตัวเอง สำรวจแนวความคิดด้านทักษะการคิดของตัวเอง
ความหมายของการคิด
หลักสำคัญของการเป็นนักคิด
คุณเป็นนักคิด Style ไหน?
การคิดเชิงวิเคราะห์
การคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดแก้ปัญหา
การคิดเชิงสร้างสรรค์
การคิดแบบองค์รวม
Workshop: ทดสอบความคิดแบบต่างๆ
เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ
ความแตกต่างของการคิดเชิงเส้นและการคิดเชิงระบบ
การคิดเชิงระบบคืออะไร? เกี่ยวกับเราอย่างไร?
องค์ประกอบสำคัญของการคิดเชิงระบบ
เรียนรู้แนวทางการคิดเชิงระบบด้วยตัวเอง
Workshop: เรื่องที่เคยใช้การคิดเชิงระบบของตัวเอง
การพัฒนาแนวความคิดเชิงระบบ
หลักการของการคิดเชิงระบบ
หลุมพรางทางความคิดกับการคิดเชิงระบบ
ทักษะการคิดประเภทต่างๆ
การประยุกต์ใช้การคิดกับแนวทางการคิดเชิงระบบ
กรณีศึกษา: วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการคิดเชิงระบบ
การคิดเชิงกลยุทธ์กับการคิดเชิงระบบ
แนวทางการคิดเชิงกลยุทธ์
การใช้ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์กับการคิดเชิงระบบ
สร้างแนวทางการคิดเชิงกลยุทธ์ของตัวเอง
Workshop: การประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงกลยุทธ์กับระบบงาน
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
Day II : การประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการแก้ไขปัญหา การคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจกับการคิดเชิงระบบ
แนวทางการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
การประยุกต์ใช้กับลักษณะงานที่เป็นเชิงระบบ
ประโยชน์ของการคิดเชิงระบบกับการทำงาน
กรณีศึกษา: การแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงระบบและแนวทางการตัดสินใจ
การสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา(Problem Solving)
หลุมพรางทางความคิดเกี่ยวกับปัญหา
เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
Workshop: การเอาชนะหลุมพรางด้วยตัวเอง
การบันทึกแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
กรณีศึกษา : การเลือกใช้ทักษะในการแก้ปัญหา
การพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยโมเดล PDCA
ขั้นตอนในการคิดวิเคราะห์และสร้างSolutionเพื่อแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
คุณสมบัติของนักแก้ปัญหามืออาชีพ
กระบวนการในการตัดสินใจอย่างมีระบบ
Workshop: การสร้างกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของตัวเอง
กรณีศึกษา : การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
การฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำไปใช้กับสถานการณ์จริง
การประยุกต์เครื่องมือใช้กับสถานการณ์ต่างๆ
กรณีศึกษา: ที่น่าสนใจเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
การออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (Template)
การสร้างโครงการเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ
การทำโครงการ (Project Assignment) เพื่อนำไปปฏิบัติจริงและส่งผลลัพธ์ของตัวเอง
แนวทางการฝึกอบรม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง
การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ
การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ ผู้บริหารทุกระดับ
ผู้จัดการ
หัวหน้างาน/ Line Leader
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
รับชมการเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
รับชมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic
รับชมการพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor
รับชมการนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
รับชมการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม
รับชม