หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Innovation and Creative Thinking)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 091-770-3350 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
การบริหารงาน (Management and Productivity)
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
Advance Leadership
ทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ (Thinking Skill)
Advance Leadership
Advance Thinking
ทำไมหลักสูตรนี้จึงสำคัญ?
วันที่ 4 ก.พ. 2014 เป็นวันครบรอบ 10 ปีของ Facebook ธุรกิจที่เกิดจากไอเดียง่าย ๆ ของนักศึกษาปริญญาตรีคนหนึ่ง ที่ต้องการเชื่อมโยงการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อนนักศึกษากันให้ใกล้ชิด ไอเดียง่าย ๆ นี้กลายเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าปัจจุบันกว่า 60,000 ล้านเหรียญ การคิดค้นไอเดียความคิดใหม่ที่นำไปใช้ได้ ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน หากยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรในอนาคตได้ด้วย เพราะไอเดียที่ตอบโจทย์ชีวิตของคนในปัจจุบัน และแนวโน้มการใช้ชีวิตในอนาคต สามารถแปลงเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่ามหาศาลได้
โลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ไม่อาจใช้การแข่งแบบเดิมที่สู้กันด้วยกลยุทธ์ราคา หรือการลอกเลียนแบบทำตามผู้สำเร็จ (me-too) แต่ต้องใช้กลยุทธ์การแข่งขันแบบใหม่บนพื้นฐานของการนำเสนอสิ่งใหม่ (innovative) ที่เพิ่มหรือสร้างคุณค่าใหม่ (value) เป็นสิ่งที่แตกต่างจากสินค้าหรือบริการอื่นในตลาด และตอบสนองผู้บริโภค หรือสร้างความต้องการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคตจึงไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากรทางกายภาพ แต่อยู่ที่ศักยภาพทางความคิด ในการริเริ่มสร้างสรรค์ การพัฒนานวัตกรรม และการคิดค้นสิ่งใหม่ ประเด็นท้าทายจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรสร้าง idea ใหม่ ๆ ที่เพิ่มคุณค่า (creating values) ให้กับองค์กร เป็น idea ที่สามารถใช้การได้อย่างเป็นรูปธรรม (practical) เป็น idea ที่แปลงไปสู่สินค้าหรือบริการที่สร้างผลตอบแทน (returns) ที่มีมูลค่ามหาศาลให้กับองค์กร
โลกสารสนเทศทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ในปัจจุบันเอื้อให้คนเข้าถึงข้อมูล (data) ต่าง ๆ มากมาย แต่ลำพังการเข้าถึงข้อมูลไม่เพียงพอให้เกิด idea เพราะสิ่งที่บุคลากรในองค์กรจำเป็นต้องมีคือความสามารถในการสร้าง idea จาก data เหล่านี้ ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีวิธีการฝึกพัฒนาทักษะการคิด มีความสามารถในการประมวล data ต่าง ๆ และแปลงไปสู่ idea ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและนำไปปฏิบัติได้ ธุรกิจสมัยใหม่จึงกำหนดให้เรื่องของการพัฒนาทักษะการคิด (thinking skills) เป็นวาระเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กร
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรสมัยใหม่ต่างให้ความใส่ใจและความสำคัญต่อ การพัฒนาศักยภาพทางการคิดให้กับบุคลากรในองค์กรของตน นอกจากนี้ ทักษะการคิดต่าง ๆ ของบุคลากรยังเป็นรากฐานของการพัฒนาองค์กรในระยะยาว เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร (knowledge management) และการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) และการสร้างองค์กรริเริ่มสร้างสรรค์ (innovative organization) อีกด้วย
ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้?
1. เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความสร้างความคิดใหม่ เป็นเครื่องมือในการสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร
2. ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่
3. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการคิด สิ่งที่ทำให้ความคิดตีบตัน
4. ปัจจัยทางกายภาพ สถาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่
5. การสร้างไอเดียใหม่ผ่านเทคนิคการคิดเชิงสังเคราะห์ (synthesis-typed thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (creative thinking) การคิดเชิงประยุกต์ (applicative thinking) และการคิดแนวข้าง (lateral thinking)
6. เทคนิคการผลิต idea ใหม่ ๆ ซึ่งปรับตามโจทย์และสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคนิคการสร้าง 100 ไอเดียใหม่ภายในเวลา 10 นาที
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง? Module 1 สมองและแบบแผนการคิดของมนุษย์
เข้าใจการทำงานของสมอง
เข้าใจกระบวนการคิดลักษณะต่าง ๆ
การตอบสนองของสมองต่อสิ่งเร้าและข้อมูลต่าง ๆ
กระบวนการเกิดความคิดใหม่
Module 2 การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์
การเปลี่ยนจาก data สู่ information และ intelligence
อะไรทำให้เราคิดไม่ออก? หนทางก้าวข้าม “หล่มความคิด”
ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่
การคิดบวกกับการเกิด ideas ใหม่
เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความคิด
Module 3 การสร้างนวัตกรรมด้วยการคิดแบบต่าง ๆ
ทำไมธุรกิจจึงต้องใช้นวัตกรรมสร้างความแตกต่าง
นวัตกรรมสินค้า vs นวัตกรรมบริการ
กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์
การคิดแนวข้าง (lateral thinking)
การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อสร้างนวัตกรรม
การคิดเชิงประยุกต์กับการสร้างนวัตกรรม
การคิดสร้างสรรค์สู่การสร้างนวัตกรรม
Module 4 จากความคิดสู่การปฏิบัติ
แนวทางการตรวจสอบ ideas ที่ได้
แนวทางการแปลง ideas สู่สินค้าหรือบริการที่ใช้การได้
คุณลักษณะของนักคิดสร้างสรรค์
อะไรทำให้คนไม่อยากคิด?
วางแผนพัฒนาตนเองให้ก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ สู่นักคิดสร้างสรรค์
Workshop
เกมส์ฝึกคิด (thinking games)
คุณเป็นคนชอบใช้ความคิดแบบไหน? รู้ได้ด้วยแบบทดสอบทักษะการคิด (self-assessment of personal thinking skills)
โจทย์ฝึกคิด ขายของให้คนที่ไม่ต้องการ?
เครื่องมือฝึกคิด เช่น Six Thinking Hats, Mind Mapping
กรณีศึกษาองค์กรสร้างสรรค์: 3M, Google, Apple
การสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ
แบ่งกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษาปัญหาที่ต้องการ idea ใหม่
สัดส่วนการเรียนรู้ ทฤษฎี 30% ฝึกปฏิบัติ 50% แลกเปลี่ยน ถามตอบ 20%
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? ผู้บริหารระดับกลางในสายงานต่าง ๆ ขององค์กร
ผู้จัดการและหัวหน้างาน
ผู้ประกอบการ SMEs
เจ้าของธุรกิจ
ผู้ที่อยากพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสร้างไอเดียใหม่
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
เป็นแนวทางผสมผสานในการอบรม (Integrated Training) โดยประกอบด้วย
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (group learning) เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม (questioning)
การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
รับชมการเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
รับชมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic
รับชมการพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor
รับชมการนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
รับชมการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม
รับชม