หลักสูตรฝึกอบรม คิดและทำอย่าง KAIZEN เพื่อปรับปรุงงานสู่ความเป็นเลิศ - หลักสูตร 1 วัน
(KAIZEN For Working Continuous Improvement Process)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม คิดและทำอย่าง KAIZEN เพื่อปรับปรุงงานสู่ความเป็นเลิศ (KAIZEN For Working Continuous Improvement Process)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
“ รีบๆทำส่งไปก่อน......จะได้ไม่โดนตาม ”
“ ใช้ๆไปเถอะ.....นิดหน่อยคงไม่ทำให้บริษัทเสียหายเท่าไร”
“ รออยู่เฉยๆดีแล้ว ไม่ต้องไปตามหรอก เดี๋ยวเขาเสร็จก็ส่งมาเอง” 


พฤติกรรมหรือคำพูดที่พนักงานแต่ละคนแสดงออกมา เกิดจากกรอบความคิด (Mindset) ที่เขามีต่อเรื่องนั้นๆ ซึ่งกรอบความคิดมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ที่สะสมมาจากอดีตของแต่ละบุคคล ดังนั้น การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในปัจจุบันโดยให้ความรู้ หรือเทคนิคต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้อย่างยั่งยืนถ้าพนักงานยังคงใช้กรอบความคิดแบบเดิม การสร้างกรอบความคิดที่ดีโดยสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของงาน Ownership Mindset จึงมีความสำคัญเช่นกัน

โลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการทำงานของทุกระดับในองค์กรมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้รูปแบบหรือกระบวนการทำงานเดิมขององค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะเติบโตหรือแม้กระทั่ง รักษาขีดความสสามารถทางการแข่งขันที่มีอยู่เดิมไว้ได้ 
การทำงานโดยทั่วไปมักจะมีความสูญเปล่าแอบซ่อนอยู่ในกระบวนการ โดยมีทั้งแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นหากองค์กรใดสามารถลดความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่มีอยู่ได้มากเท่าไร ยิ่งจะส่งผลถึงต้นทุน กำไร ความพึงพอใจของลูกค้าและทีมงานรวมถึงช่วย เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน 
ไคเซ็น (Kaizen) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ได้ทำจบในครั้งเดียว แต่หมายถึงการทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการคือ 
       กำหนดเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน 
       ค้นหาความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน 
       วิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย 
      กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นแล้วดำเนินการตามขั้นตอนปรับปรุงใหม่อีกครั้ง 
       ปฏิบัติตามวงจรนี้อย่างต่อเนื่อง 
ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นในการทำงานทำให้เกิดความสูญเสียซึ่งส่งผลกระทบกับผลผลิต ต้นทุน รวมทั้งอาจกระทบกับการดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ซึ่งความสูญเสียบางประการเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการและวิเคราะห์ได้ถึงที่แหล่งที่มารวมทั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดความสูญเสียนั้นๆ หลักการ ความสูญเสีย 7 ประการ (7 Waste) จะช่วยให้เราเข้าใจและมองได้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ ในกระบวนการทำงานที่มีโอกาสทำให้เกิดความสูญเสียตามมา และการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร (6M : Man Machine Materials Money Method Management) จะช่วยให้เราป้องกันหรือหาแนวทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น 
KAIZEN มีเทคนิคและเครื่องมือมากมายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุง กระบวนการทำงานได้ เช่น 5ส , PDCA , Why-Why , ผังก้างปลา เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่นำหลักไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ควรมีทั้งความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องและกรอบความคิดที่ดีของการเป็นผู้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและหลักการของไคเซ็น (Kaizen) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจและมองเห็นภาพของความสูญเปล่า และการทำงานที่เพิ่มคุณค่าได้ชัดเจนขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการทำงานที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า 7 ประเภท พร้อมทั้งค้นหาสาเหตุที่ที่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากร 6M ที่มีอยู่
 เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 PART 1 : สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
       คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อต้องทำงานที่ยุ่งยาก ? 
       คุณทำอย่างไรเมื่องานไปเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ? 
       คุณทำงานด้วยวิธีการเดิมๆ หรือทดลองวิธีใหม่ๆอยู่เสมอ ? 
       คุณมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้ผลลัพธ์ดีมากยิ่งขึ้น ? 
       คุณมีแนวทางในการพัฒนาตัวเองอย่างไรบ้าง ? 
       Workshop : มองเห็นและเข้าใจกระบวนการทำงานของตัวเอง
 PART 2 : เรียนรู้หลักการของไคเซ็นและสร้างกรอบความคิดที่ดีของการปรับปรุงการทำงาน 
       ไคเซ็น(Kaizen) .....คืออะไร ?? 
       ไคเซ็นเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างไร ?? 
       กระบวนการทำงานด้วยไคเซ็น....มีลักษณะอย่างไร ?? 
       รู้จักความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wasted) ที่เกิดขึ้นในการทำงาน 
       หลุมพรางทางความคิดที่สกัดกั้นการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง 
       เทคนิคเอาชนะหลุมพรางทางความคิดเพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ดี 
       กรอบความคิด (Mindset) ของผู้ปฏิบัติงานด้วยหลักไคเซ็น 
       Workshop: ค้นหาหลุมพรางที่ติดของตัวเองและสร้างแนวทางเอาชนะ 
 PART 3 : พัฒนาทักษะของการทำงานแบบไคเซ็นด้วยเทคนิคต่างๆ 
       เทคนิคการมองเห็นปัญหาและความสูญเปล่าที่ทำให้เกิดปัญหา 
       การวิเคราะห์สาเหตุด้วยผังก้างปลา 
       การใช้คำถาม 5 Whys 
       การประยุกต์ใช้หลัก 5ส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 
       เทคนิคปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย P-D-C-A 
       Workshop : เทคนิคที่ท่านจะนำมาพัฒนาตัวเอง
 PART 4 : การประยุกต์ใช้Kaizenกับการทำงานรูปแบบต่างๆ
       งานที่ไม่ได้ตามเป้าหมายทั้งเวลา คุณภาพ หรืองบประมาณ 
       งานที่ได้ตามเป้าหมายแล้วแต่อยากเพิ่มเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้น 
       การพัฒนาบุคลากร (ทีมงาน) อย่างต่อเนื่องด้วยหลักไคเซ็น 
       ประโยชน์ของการนำหลักไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ 
       กรณีศึกษา : การนำเครื่องมือมาประยุกต์ใช้กับงานจริงของท่าน

แนวทางการฝึกอบรม
 การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง 
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ 
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น 
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม