หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะพื้นฐานของการเป็น Facilitator
(Facilitative Coach)
ติดต่อสอบถาม
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด การเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ในการจัดการความรู้ (KM Facilitator) มีความสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กรเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ นำไปสู่ความรู้แจ่มชัด (Explicit Knowledge) ที่เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร เพราะจะทำให้ได้องค์ความรู้ในการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบ เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการบริหารการจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)
การพัฒนาทักษะพื้นฐานของการเป็น Facilitator ที่มีคุณภาพ ทำให้การสร้างพื้นที่การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่จะสามารถสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างมีคุณภาพ นั้นต้องพัฒนาทักษะพื้นฐานสำคัญดังนี้
การฟังอย่างลึกซึ้งในบทบาท KM Facilitator
การจับประเด็นสำคัญของกลุ่ม
การตั้งคำถามเพื่อพาให้กลุ่มใคร่ครวญ และเดินต่อไปข้างหน้า เพื่อการสร้างองค์ความรู้
การดำเนินการอำนวยการเรียนรู้ที่ดี มีความสำคัญที่การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ปลอดภัยต่อการเปิดเผยข้อมูลความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากร จึงทำให้ Facilitator เป็นบทบาทที่สำคัญ ที่ควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น หากบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานเหล่านี้ การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในองค์กรจะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ต่อเนื่องตลอดเวลา และได้รับองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อองค์กรอีกด้วย
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการเป็น Facilitator เพื่อการจัดการการเรียนรู้ในองค์กร
เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดถึงการทำกิจกรรมอื่นๆในองค์กร ที่เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม การฟังอย่างลึกซึ้ง
ลักษณะของการฟังอย่างลึกซึ้ง
ประโยชน์ของการฟังอย่างลึกซึ้งในบทบาทของ Facilitator
อุปสรรคในการฟัง และ วิธีการรับฟังที่ดี
การจับประเด็น
ความหมายของประเด็น และการจับประเด็น
ความสำคัญของการจับประเด็น ในบทบาท Facilitator
อุปสรรค และแนวทางการจับประเด็น
การจับประเด็นจากบทความ การประชุม และการดำเนินกระบวนการกลุ่ม
กิจกรรม : ฝึกฟังและจับประเด็นเพื่อน
สิงที่ผู้เรียนจะได้รับ : การฟังอย่างลึกซึ้ง และการจับประเด็นทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่ม
วิธีคิด
ความสำคัญของวิธีคิด กับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อการเรียนรู้ และ บทบาท Facilitator
วิธีคิดแบบต่างๆ
การนำเสนอ การสื่อสาร และการจับประเด็นผ่านวิธีคิด
กิจกรรม : นำเสนอตามหัวข้อที่กำหนด ผ่านวิธีคิดที่เลือก
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ : เห็นกระบวนการคิดของตนเอง และสามารถใช้วิธีคิดเพื่อนำเสนอสิ่งต่างๆได้อย่างตรงประเด็น
การตั้งคำถาม
ลักษณะของคำถามที่เอื้อต่อการ Facilitation ในการจัดการการความรู้
วิธีการตั้งคำถามที่เอื้อต่อการสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรม : ฝึกทักษะการตั้งคำถาม
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ : ฝึกการใช้ชุดคำถามเพื่อสืบค้นข้อมูลตามเป้าหมายที่ต้องการ
แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม การฝึกอบรมทำให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามแนวทางการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ทันที ตามที่ตัวเองรู้สึกว่าเหมาะสมกับ Style ของตัวเอง
กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การให้หลักการและเนื้อหา
Workshop กิจกรรมผ่านประสบการณ์
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรใช้กระบวนการ Facilitative Coaching เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้าอบรมที่หลบซ่อนอยู่ออกมาด้วยตัวเอง รับผิดชอบต่อเป้าหมายของตัวเอง โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่องานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งกันและกันใน Class ทำให้เกิดการเรียนรู้จากชีวิตจริงของผู้อื่น อีกทั้งการทำ Work shop เพื่อให้สามารถนสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปฝึกทดสอบก่อนที่จะนำไปเชื่อมโยงเข้ากับงานจริงหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานและอยากเรียนรู้มากขึ้น
แก่นของ Facilitative Coaching การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตระหนักรู้ด้วยตนเอง
กระบวนการพัฒนาบุคลากรในเรื่องใดๆนั้น Facilitative Coaching จะเน้นวิชาเป็นศูนย์กลางที่พร้อมให้ผู้เข้าร่วมอบรมสืบค้นความจริงของตนเองในประเด็นนั้นๆ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆถือเป็นอีกความจริงหนึ่งที่เพื่อนๆจะได้ร่วมกันสืบค้น
การตระหนักรู้ในตนเองและเคารพในประสบการณ์ของเพื่อนที่ร่วมเข้าอบรมจะช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเพื่อน เห็นศักยภาพในตัวเพื่อนและเกิดการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ตลอดเวลาทำกิจกรรม
การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเห็นตัวเองเข้าใจตนเอง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
Conceptual Framework
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานปฏิบัตการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ผู้บริหาร
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม