หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม บริหารงานหน้างานด้วย 5 จริง และ 5 Why (Finding technique and solving problem by 5 GEN and 5 Why)
(MBA. (Industrial Management))
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
การดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาในการทำงานด้วยตนเอง หรือ Self-Solving problem นั้นมีหลักการที่ใช้ดำเนินการที่จะทำให้การแก้ไขปัญหานั้นมีประสิทธิภาพอย่างมาก นั้นก็คือ หลักการ 5 Gen ประกอบไปด้วย Genba , Genbutsu , Genjitsu , Genri และ Gensoku ซึ่งทั้ง 5 หลักการนี้เป็นสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดย 3G แรก นั้นสำคัญกับการดำเนินการ ค้นหาปัญหา เป็นการลงไปเห็นที่จุดเกิดเหตุเองนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะการหาสิ่งผิดปกติ เพื่อนำไปแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งเทียนเขียนขึ้นมาหลักการ 3 Gen ที่ว่าคือ
Genba แปลไทย: สถานที่ / หน้างานจริง หมายถึง การลงไปสำรวจที่หน้างานจริง
Genbutsu แปลไทย: สิ่งของ/ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การดูสังเกตและจับต้องชิ้นงานที่ผลิตได้จริงหรือตัวสินค้าที่จัดเก็บอยู่จริงหรือชิ้นงานที่กำลังถูกตรวจสอบอยู่
Genjitsu แปลไทย: สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดปัญหาจริง เช่น สภาพแวดล้อมหรือกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานหรือช่วงเวลาที่ผลิตของเสียบ่อยๆ หรือที่เกิดปัญหาได้บ่อยๆ
เมื่อผ่านการใช้หลักการ 3 Gen แล้วหากอยากเห็นเป็นรูปธรรมต้องใช้การขับเคลื่อนโดยผ่าน Small group Activity ได้แก่ One Point Lesson , Activity Board , Meeting โดยการกิจกรรมเหล่านี้เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะการ Activity Board คือการติดตามงานของหัวหน้างานและดูความคืบหน้าของกิจกรรมที่ทำ หรือง่ายๆจะเข้าใจในรูปแบบ PDCA เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า
“ ขณะนี้จะต้องทำอะไรบ้าง ”
“ มีปัญหาอะไรอยู่บ้าง “
“ แก้ไขแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ”
และเมื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาเริ่มใช้อย่างเต็มที่ จะใช้หลักการวิเคราะห์ โดยหลักการ 2 Gen ที่เหลือคือ Genri แปลไทย: ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง หลักการที่ใช้ในการทำงาน หรือมาตรฐานการผลิตในปัจจุบัน, สมมุติฐานในการแก้ไขหรือตรวจสอบ สูตรการผลิต หรือส่วนประกอบในการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน Gensoku แปลไทย: เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง ข้อจำกัด ข้อตกลง หรือกฎที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุผลนี้เองการที่เราลงพื้นที่หน้าจริง สถานที่จริง เจอของจริง จะทำให้เราสามารถตัดสินใจและเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และท้ายที่สุดก็จะพัฒนาการทำงานสู่รูปแบบ Daily Management เพื่อเป็นสร้างให้งานที่ทำประจำให้ได้ตามภารกิจและเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่ได้ตามเป้าหมายต้องมีการปรับปรุง
แก้ไขและปรับปรุงงานเดิมทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องให้ดีขึ้น การบริหารงานประจำได้จะส่งผลต่อการป้องกันการถดถอย ( Standardization for prevention ) ของงาน ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นก้าวแรกของการพัฒนาบุคคลากรให้เข้าใจหลักการบริหาร หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิตอย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพกับตัวสินค้าได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อเข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคในการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม หลักการของระบบการผลิตปัจจุบันและอนาคต
ปัญหาของการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
แนวคิดการแก้ปัญหาและลักษณะของปัญหา - เกี่ยวกับปัญหา และการตัดสินใจ
ปัญหา คืออะไร / สาเหตุหลักของปัญหา
การตัดสินใจ คืออะไร / ประเภทของการตัดสินใจ
ความหมายและเป้าหมายของเทคนิค 3 G (Genba : สถานที่จริง,Genbutsu : ของจริง, Genjitsu : สถานการณ์จริง)
2 G ที่เหลือ (Genri : หลักการ/ทฤษฎี, Gensoku : ระเบียบกฎเกณฑ์)
เทคนิคการหาสาเหตุรากเหง้าด้วย 5 why
เทคนิคการประยุกต์ใช้ why-why
กระบวนการคิดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
การออกแบบการแก้ไขปัญหา (Design Phase)
การตัดสินใจเลือกวิธีที่จะแก้ปัญหา (Decision Making)
การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase)
การตรวจสอบ (Monitoring Phase)
Work shop : การแก้ไขปัญหาที่หน้างาน
Work shop : การทำงานเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยหลัก 3 GEN 5 Why
กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน
พนักงาน
ผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 50 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการ ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ผู้เข้าอบรมมีความรู้กับการลดปัญหาในการทำงานภายในองค์กรมากขึ้น
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม