หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม สร้างทีมข้ามสายงานแบบทวีคูณ (Cross-functional Management Teamwork)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
การทำงานเป็นทีมให้ได้ better results และ greater success ต้องทำให้เกิด “พลังทวีคูณ” จากความร่วมมือ ไม่ใช่เพียงได้แค่ “การทวีบวก”
ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้? ในโลกของการบริหารยุคใหม่นี้ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องบริหารให้เกิดความคล่องตัว การตัดสินใจที่รวดเร็ว ดำเนินการที่ฉับไว ตอบสนองต่อพลวัตของตลาดที่ทันท่วงที การจัดระบบองค์กรที่มีการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนตามความชำนาญหรือการแบ่งระดับการบังคับบัญชาเป็นหลายระดับชั้น ได้กลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพราะทำให้การตัดสินใจช้าเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการพิจารณาหลายชั้น ความร่วมมือข้ามสายงานเกิดขึ้นได้ยาก เพราะพนักงานแต่ละคนเห็นเพียงงานในความรับผิดชอบของตน แต่ไม่เห็นการเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงระหว่างงานของตนกับงานส่วนอื่น ๆ เข้าทำนอง “มองเห็นต้นไม้แต่ละต้น แต่มองไม่เห็นป่าทั้งป่าในภาพรวม” สุดท้ายลงเอยด้วยสภาพปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือกับส่วนอื่น ๆ กลายเป็นความขัดแย้ง ส่งผลให้งานล้มเหลวได้
องค์กรยุคใหม่หลายแห่งจึงจัดโครงสร้างการบริหารและรูปแบบการทำงานด้วยระบบใหม่ ที่พยายามเชื่อมโยงการทำงานข้ามฝ่ายข้ามสายงาน (cross-functional) หรือในบางภารกิจก็อาจเป็นการทำงานข้ามพรมแดนภูมิศาสตร์(cross-boundary) พร้อมไปในเวลาเดียวกัน รูปแบบการบริหารลักษณะใหม่นี้มักจะอยู่ในรูปแบบของทีมทำงาน (taskforce) ทีมโครงการ (project-based team) หรือทีมข้ามสายงาน (cross-functional team) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ทั้งในแง่ของการสร้างความคล่องตัวในการตัดสินใจ ผนวกกับการต่อยอดความเชี่ยวชาญจากโครงสร้างแบบเดิม ช่วยให้การประสานงานแนวราบข้ามฝ่ายราบรื่นขึ้น รวมทั้งยังอาจช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่จากมุมมองแตกต่างหลากหลายของทีม
การทำงานในระบบและรูปแบบการทำงานใหม่นี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และความชำนาญในการบริหารจัดการของผู้บริหารที่แตกต่างจากการบริหารองค์กรในรูปแบบเดิม การประสานความแตกต่างหลากหลายในทีมงาน ให้เกิดการทำงานร่วมแรงร่วมใจไปในทิศทางที่สอดประสานกัน (alignment) เป็นหัวใจที่จะทำให้ทีมและองค์กรสำเร็จ ผู้บริหารจึงต้องมีความสามารถ ทักษะ และความชำนาญในการบริหารจัดการแบบใหม่ ที่ทำให้เกิดพลังทวีคูณ (synergy) และสร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศและนำองค์กรสู่ความสำเร็จได้
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบโดยการผสมผสานองค์ความรู้ หลักการ แนวคิด และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในหน่วยงานระหว่างประเทศและธุรกิจชั้นนำของโลก ในเรื่องของการบริหารงานข้ามสายงาน โดยมีจุดเน้นที่การช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำที่สามารถบริหารงานในบริบทของรูปแบบการทำงานใหม่ให้เกิดความร่วมมือในระดับสูง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถยกระดับภาวะผู้นำและทักษะการบริหารที่นำองค์กรสู่ผลลัพธ์ที่สูง (greater results) ขึ้น
ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้? ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานใหม่ที่เป็นลักษณะของการทำงานข้ามสายงาน
บทบาทและสมรรถนะ (competency) ที่จำเป็นของผู้บริหารทีมข้ามสายงาน (cross-functional team leader)
พัฒนาความเชื่อมั่นและการมีอิทธิพลต่อทีมงานในบริบทของการทำงานข้ามสายงาน
พัฒนาทักษะการบริหารทีมและองค์กรเพื่อให้เกิดการร่วมมือร่วมใจทำงานในทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน
การประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการทำงานเพื่อช่วยเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การวางแผน การสร้างการมีส่วนร่วม การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ฯลฯ ที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรได้
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
Module 1: ทำความเข้าใจกับ Cross-functional Management (CFM)
อะไรคือ CFM? แตกต่างจากรูปแบบการบริหารอื่นอย่างไร?
ทำไมองค์กรสมัยใหม่ต้องใช้ CFM?
ประโยชน์ของ CFM?
รูปแบบและลักษณะของ CFM พร้อมตัวอย่าง?
ประเด็นท้าทายของ CFM?
การกำหนดสถานะ (positioning) ของผู้จัดการในงานข้ามสายงานตามบริบทองค์กร
Workshop 1: ประสบการณ์ในการทำงานข้ามสายงาน – อะไรเป็นความท้าทาย? อะไรเป็นทักษะที่จำเป็น?
Module 2: การออกแบบ (Designing)
การวิเคราะห์ความจำเป็น (need assessment)
การกำหนดภารกิจ
ใครเกี่ยวข้อง? ใครควรจะเข้ามาร่วม?
จะออกแบบและจัดโครงสร้างงานข้ามสายงานอย่างไรให้ราบรื่น?
กลไกการประสานงาน (coordination mechanism) แบบไหนที่เหมาะสม?
บรรยากาศการทำงานแบบไหนที่จะทำให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ?
Workshop 2: กรณีศึกษา “คุณจะออกแบบทีมงานอย่างไร?”
Module 3: การจัดการ (managing)
แนวทางการวิเคราะห์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมองค์กร
อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรกับการสร้างความร่วมมือ
การประเมินความพร้อมของทีมงานในการร่วมมือกันทำงาน
การใช้เครื่องมือเพื่อการประสานงาน (coordination tools)
การสร้างอิทธิพลโดยไม่ใช่อำนาจ (influence without authority)
การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust)
อิทธิพลของความแตกต่างในเรื่องความสนใจ (interests) และสไตล์การสื่อสารที่มีผลต่อการเกิดความขัดแย้ง
สื่อสารอย่างไรให้คนร่วมมือ?
การลดความขัดแย้งแบบที่จะทำงานประสิทธิภาพการทำงาน
การส่งเสริมความขัดแย้งที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับงาน
Workshop 3: การแสดงบทบาทสมมติ “ช่วยฉันจัดการทีมนี้ด้วย!”
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่ต้องรับผิดชอบงานในลักษณะที่ต้องทำงานข้ามสายงาน
ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการสร้างความร่วมมือร่วมใจและการมีส่วนร่วมของทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
ผู้บริหารโครงการที่ต้องบริหารทีมที่สมาชิกมาจากหลายฝ่ายหลายแผนกในองค์กร
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม