หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2564 / Other / เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยวิถีแบบไคเซ็น
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล ไคเซ็นเป็นแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน ให้เกิดความสะดวก ลดความสูญเปล่า ลดความเมื่อยล้าตามหลักการการยศาสตร์ เพิ่มระดับคุณภาพสินค้า ความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน รวมถึงการลดต้นทุนและเป็นเวทีให้พนักงานนำศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เป็นที่ปรากฏได้อย่างเต็มที่และเต็มใจ
หลักคิดของกิจกรรม Kaizen มุ่งส่งเสริมให้พนักงานทำการปรับปรุงงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นลำดับแรก เพราะเชื่อว่าพนักงาน ณ จุดปฏิบัติงานมีความเข้าใจตัวงาน เงื่อนไขต่างๆดีที่สุด ดังนั้นพนักงานคือบุคคลที่จะปรับปรุงตัวงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตอบโจทย์ในสถานที่ปฏิบัติงานของเขาเหล่านั้นได้อย่างแท้จริง
ไคเซ็น (Kaizen) ไม่ต้องการความความซับซ้อน การลงทุน หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในทันทีแต่ ไคเซ็นเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ในการให้พนักงานกล้าที่จะคิดและลงมือทำในสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีขึ้นจากตัวเขาเอง โดยแรงขับเคลื่อนเล็กๆของแต่ละคน เมื่อรวมกันจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงานสู่ความเป็นเลิศ
การสร้างวิถีการทำงานแบบ Kaizen องค์กรเป็นผู้ให้การสนับสนุน และจูงใจผ่านการจัดสร้างระบบและกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ถูกต้อง สนุกสนาน และเป็นมิตร เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงประโยชน์ที่ตนเองได้รับในแง่คุณค่า และตัวตนในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างความต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เข้าใจหลักการพื้นฐานและแนวคิดของ Kaizen และ 3 เสาหลักของ Kaizen
มองเห็นศักยภาพของตนเองในการทำ Kaizen
สำรวจ และมองเห็นความสูญเปล่า (Wastes) ในสถานที่ทำงานของตนเอง
เข้าใจแนวทางในการปรับปรุงงาน แบบ PDCA, ECRS และ 3 GEN
เข้าใจเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนา Visualization และ Poka Yoke
เข้าใจเทคนิคการทำ Kaizen แบบมอง คิด ทำ เขียน เพื่อตนเอง ด้วยตนเอง
เข้าใจรูปแบบขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน (Kaizen Activity Platform)
เข้าใจเทคนิคการสร้าง Kaizen มีชีวิตและพร้อมเปลี่ยนแปลงทิศทางผลลัพธ์ไปตามสถานการณ์ขององค์กร (Live Kaizen)
เข้าใจวิธีการการนำเสนอประโยชน์ที่ได้รับจาก Kaizen ทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
ออกแบบแนวทางการประเมินผลงาน Kaizen หรือ Kaizen Criteria เพื่อการขับเคลื่อนวัฒนธรรมการปรับปรุงงาน
ออกแบบแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่รวบรวมผลงาน ความสุข และความร่วมมืออย่างครบเครื่องด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
วันแรก ภูเขาน้ำแข็งของ Kaizen Iceberg
หลักการพื้นฐานของ Kaizen
การสำรวจสถานการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน ณ ปัจจุบัน
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติงาน
ความสัมพันธ์ของการใช้ศักยภาพกับผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ลักษณะของสถานที่ปฏิบัติงานที่ดี
การสร้างความเปลี่ยนแปลงในสถานที่ปฏิบัติงานของตนเองด้วย Kaizen
Kaizen ยากเกินไปสำหรับเราจริงหรือไม่
ความคิดที่เป็นอุปสรรคในการแสดงศักยภาพ
หลักการคิดแห่งการพิชิตเป้าหมาย (Principle of Success)
กรณีศึกษา “ ฉันทำได้”
การทำ Kaizen ในงานของตนเอง
หลักการ PDCA, ECRS และ 3 GEN
เทคนิค : มอง คิด ทำ เขียน เพื่อตนเอง ด้วยตนเอง
ตัวอย่าง Kaizen ที่เราก็ทำได้
Workshop การทำ Kaizen ในงานของตนเอง
- สำรวจขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- ระบุจุดที่ต้องการปรับปรุง
- ระบุวิธีการทำงาน ณ ปัจจุบัน
- นำเสนอการเปลี่ยนแปลงด้วย Kaizen
- การตรวจสอบผลงาน Kaizen ของตนเอง (Unpack Kaizen)
- Next Kaizen ไคเซ็นถัดไปที่ฉันทำได้ การต่อยอดการปรับปรุงให้ยั่งยืน สู่สถานที่ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
Visualization
Poka Yoke
Workshop : ระบุจุดที่เราสามารถต่อยอดให้ยั่งยืนในงานของตนเอง
การระบุสิ่งที่จะนำกลับไปปฏิบัติ
การตอบข้อซัก-ถาม
วันที่สอง รูปแบบของกิจกรรม Kaizen เพื่อความยั่งยืน (Kaizen Activity Platform)
ความสำคัญของรูปแบบกิจกรรม Kaizen
Workshop การระดมสมอง ทำอย่างไร Kaizen จะต่อเนื่องได้ในองค์กร
องค์ประกอบของกิจกรรม Kaizen ที่ดี
การวางโครงสร้างและบทบาทหน้าที่
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
แนวทางการประเมินผลกิจกรรม (ผลงาน และการมีส่วนร่วม)
ตัวชี้วัดขับเคลื่อนพฤติกรรม (Metric drives behavior)
มิติของการประเมินผลงาน Kaizen
การประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน Kaizen ในรูปแบบของตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน
Workshop การออกแบบเกณฑ์การประเมินผลงาน Kaizen
เทคนิคการสร้าง Kaizen Live ที่สนับสนุนความต้องการขององค์กรที่แปลงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
การตรวจประเมินผลงานหน้างานสำคัญอย่างไร
รางวัล ความสนุกระหว่างทาง และพันธะสัญญา
Workshop : กิจกรรมไคเซ็นที่ฉันอยากได้
การระบุสิ่งที่จะนำกลับไปปฏิบัติ
การตอบข้อซัก-ถาม
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนับสนุนการใช้ศักยภาพผ่าน กระบวนการโค้ช
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านเนื้อหา การลงมือปฏิบัติ และอภิปรายผลร่วมกัน เพื่อค้นหาโอกาสที่จะนำไปปฏิบัติ เมื่อจบหลักสูตร
ในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียน มองเห็นสถานการณ์ปัจจุบันของตนเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และชักชวนให้ผู้เรียนมองหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลงไปจากจุดเดิม
ผู้สอนสนับสนุนการนำข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ทั้งจากวิทยากรและจากเพื่อนในชั้น จากการอภิปรายต่างๆร่วมกัน เพื่อผสมผสานเข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เป็นการสร้างทางเลือกในการตอบสนองหรือดำเนินการกับสถานการณ์ที่ตนเองจะต้องเผชิญ หรือก้าวข้ามไปให้ถึงเป้าหมาย
ผู้สอนสนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริงในห้องเรียน ให้ได้มองเห็นสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ดี รวมถึงประเด็นที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อการต่อยอดหลังจากจบหลักสูตร
ผู้เรียนตัดสินใจ และสร้างพันธะสัญญากับตัวเองในการสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการนำไปใช้ในงานในสไตล์ของตนเอง
ดร.ไชยยันต์ สาวนะชัย ดู 60
นันทชัย อินทรอักษร ดู 140
อาจารย์ ชัชวาลย์ สัจจรักษ์
วิทยากรอิสระ
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : ไคเซ็น, Poka Yoke, Kaizen Activity
แสดงความคิดเห็น