หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2564 / Coaching / เทคนิคการสอน ณ จุดปฏิบัติงาน
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล การพัฒนาบุคลากร (Staff Development) เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะผู้บริหารได้พัฒนาบุคลากรให้สามารถทดแทนตำแหน่งได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นกรอบความคิด (Mindset) ของการพัฒนาบุคลากร จึงควรมีอยู่ในผู้บริหารทุกระดับในองค์กร และพร้อมที่จะปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะ (Competency) ตามที่องค์กรกำหนดไว้
ความเหมือนและความแตกต่างของการสอน (แบบต่างๆ) มีความสำคัญในการเลือกใช้ในการพัฒนาบุคลากร เพราะวิธีการพัฒนาแต่ละแบบมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน และเหมาะสมกับคุณลักษณะของบุคลากรแต่ละบุคคลด้วยเช่นเดียวกัน
การโค้ชผลการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย (Performance Coaching) โดยการใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐานขององค์กร (WI) ก็จะทำให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ สามารถที่จะเกิดวิธีการใหม่ๆ ในการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของตัวเองได้
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้เรียนมีกรอบความคิด (Mindset) และทักษะในการพัฒนาบุคลากรที่หลากหลายรูปแบบ สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ด้วยสถานการณ์ของตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและปฏิบัติจริงในการสอนรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ขององค์กรให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันบนความต้องการของบุคลากรแต่ละบุคคล
เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้การโค้ชและการให้คำปรึกษา ในการสร้างผลการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร สามารถบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้
เพื่อทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ พัฒนา ฝึกฝน ร่วมกับ Master Coach ในการปฏิบัติการโค้ชจริง ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วย Style ของตัวเองทันทีหลังการฝึกอบรม
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม การสร้างกรอบความคิด (Mindset) ผู้สอนงานที่ดี
หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยแนวคิดใหม่
การเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
การใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) สร้างแรงจูงใจ
การประเมินคุณลักษณะของบุคลากรด้วย Whole Brain Function
Workshop : กำหนดกรอบความคิด (Mindset) ของตัวเอง
ความเหมือนและความแตกต่างของการสอนแต่ละประเภท
เทคนิคการ Teaching ให้เข้าใจง่าย
เทคนิคการ Training ให้ปฏิบัติตามได้
เทคนิคการ Coaching ให้มองเห็นประโยชน์
เทคนิคการผสมการสอนงานแบบต่างๆ
Workshop : ออกแบบเทคนิคการสอนงานกับงานปัจจุบัน
Role Playing : ดำเนินการโค้ชเชิงปฏิบัติการจริง
การพัฒนาทักษะการเป็นผู้สอนงานที่ดี
การสร้างความเข้ากันได้ (Build Rapport)
การพัฒนาทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening)
การพัฒนาทักษะการใช้คำถามแต่ละประเภท (Questioning)
การพัฒนาทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Feedback)
การพัฒนาทักษะการสะท้อนแนวความคิด (Reflection)
Role Playing : การฝึกฝนทักษะต่างๆ
เทคนิคการใช้เครื่องมือดำเนินการสอน (Training Tools)
เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling)
เทคนิคการใช้การ์ดสร้างแรงบันดาลใจ
การโค้ชตามขั้นตอน (WI Coaching)
เทคนิคการใช้เครื่องมือบริหารจัดการ (Solution) ดำเนินการสอน
Role Playing : การปฏิบัติการใช้เครื่องมือดำเนินการสอนจริง
การบ้าน : เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
แนวทางการฝึกอบรม [Training and Group Coaching] การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมทำให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามแนวทางการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ทันที ตามที่ตัวเองรู้สึกว่าเหมาะสมกับ Style ของตัวเอง
กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การบรรยายเนื้อหา
Work shop สร้างสถานการณ์
เกมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรใช้กระบวนการ Coaching เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้าอบรมที่หลบซ่อนอยู่ออกมาด้วยตัวเอง รับผิดชอบต่อเป้าหมายของตัวเอง โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่องานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งกันและกันใน Class ทำให้เกิดการเรียนรู้จากชีวิตจริงของผู้อื่น อีกทั้งการทำ Work shop เพื่อให้สามารถนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานและอยากเรียนรู้มากขึ้น
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ
Line Leader
Foreman
หัวหน้างานระดับต้น
ภัทรพงษ์ พลเสน ดู 97
ดร.วันทนา ปทุมอนันต์ ดู 148
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคการสอน, การพัฒนาบุคลากร, ทักษะการโค้ช
แสดงความคิดเห็น
เฟินส์ เฟินส์ (สมาชิก)
(3 เดือนที่แล้ว )
พลภัทร ลีพรหมมา (สมาชิก)
(4 เดือนที่แล้ว )
นิกร สว่างโคตร (สมาชิก)
(11 เดือนที่แล้ว )