หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2563 / Advance Management OD / เทคนิคการเจรจาต่อรองขั้นสูง
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
091-770-3350 / 091-770-3352 (HOTLINE)
mktentraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
“ การเจรจาต่อรองที่ดี คือ ศิลปะในการค้นหาข้อตกลงร่วมกัน”
หลักการและเหตุผล นักเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพ จะให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและการเตรียมตัวอย่างละเอียดรอบคอบ รู้จุดประสงค์และผลลัพธ์ (Outcome) ของการเจรจาต่อรอง วางแผนและขั้นตอนการเจรจาต่อรองอย่างมีระบบ เลือกรูปแบบการเจรจาต่อรองที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ตลอดจนรู้ถึงจุดที่ควรอ่อนและแข็งในช่วงเวลาในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้ในซึ่งที่พวกเขาต้องการ
การเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ควรมีในทุก ๆ คน เพราะไม่มีใครหลีกเลี่ยงการเจรจาต่อรองได้ ดังนั้นการรู้จักหลักการในการเจรจาต่อรองที่ดี แนวความคิดในการเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพ กระบวนการเจรจาต่อรองให้เกิดประสิทธิผล และเทคนิคการสร้างคุณภาพในการเจรจาต่อรอง ก็ย่อมเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
การประยุกต์ใช้เทคนิค ทักษะและหลักการเจรจาต่อรองอยู่บ่อย ๆ ก็จะเพิ่มความสามารถในการเจรจาต่อรองให้เพิ่มขึ้น สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ ซึ่งเทคนิคขั้นสูงที่ประกอบใช้ในการเจรจาต่อรอง เช่น.....
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการเจรจาต่อรอง
การค้นหาความต้องการซ่อนเร้นของคู่เจรจาด้วยคำถามทรงพลัง
การเรียนรู้และเข้าใจคู่เจรจาเชิงลึกด้วยการฟังเชิงลึก
การศึกษาและวิเคราะห์คู่เจรจาจากบุคลิกลักษณะภายนอก
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพให้กับผู้เรียน ต้องการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผ่านประสบการณ์ของตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการเจรจาต่อรองอย่างมีระบบ สามารถเตรียมตัวเพื่อใช้ในการเจรจาต่อรอง และสร้างกระบวนการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิผล
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเทคนิคการเจรจาต่อรองขั้นสูงไปใช้ประยุกต์กับสถานการณ์ของตัวเองได้ด้วย Style ที่เหมาะสมของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I: หลักการเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพ การเรียนรู้และเข้าใจหลักการเจรจาต่อรอง
สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง
นิยาม ความหมายของการเจรจาต่อรอง
จุดประสงค์ของการเจรจาต่อรองที่ชัดเจน
ประเภทของการเจรจาต่อรอง
Workshop: สรุปแนวความคิดของตัวเอง
การพัฒนาแนวความคิดของการเจรจาต่อรอง
หลุมพรางทางความคิดเชิงลบในการเจรจาต่อรอง
เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
ทักษะการเจรจาต่อรองอย่างมีคุณภาพ
Workshop: การเตรียมตัวเพื่อการเจรจาต่อรอง
หลักสำคัญ 5 ประการของการเจรจาต่อรองขั้นสูง
การวิเคราะห์ทางออกที่ดีที่สุด (Alternative)
การกำหนดจุดตัดใจ (Point)
การเจรจาต่อรองบนโซนที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ (Zone)
การสร้างคุณค่าเพิ่มให้คู่เจรจา (Value)
การประเมินการเจรจาใหม่ (Next)
Roleplaying: การจับคู่เจรจาต่อรองอย่างสร้างสรรค์
เทคนิคการสร้างคุณภาพในการเจรจาต่อรอง
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport)
การค้นหาความต้องการที่แท้จริง (Powerful Question)
การเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์ (Communication & Connection)
การเรียนรู้และเข้าใจคู่เจรจา (Deep Listening)
การวิเคราะห์คู่เจรจา (Body Language)
กิจกรรมย่อย : สร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
Day II: การประยุกต์ให้หลักการเจรจาต่อรองขั้นสูง การวางกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิผล
กำหนดเป้าหมายของการเจรจาต่อรอง
การวางแผนการเจรจาเชิงกลยุทธ์
ขั้นตอนในการดำเนินการเจรจาต่อรอง
กลยุทธ์ที่เลือกใช้ในการเจรจาต่อรอง
Workshop: กำหนดกลยุทธ์การเจรจาด้วยตัวเอง
การประยุกต์ใช้หลักการ NLP กับการเจรจาต่อรอง
การสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง
การจูงใจให้คู่เจรจาคล้อยตามแนวความคิด
การสร้างโปรแกรมการเจรจา (Chunking)
การปลดข้อจำกัดให้คู่เจรจา (Change)
Workshop: การประยุกต์ใช้ด้วยตัวเอง
การใช้คำถามขั้นสูง (Questioning) สำหรับการเจรจาต่อรอง
คำถามเพื่อความกระจ่างชัด (Clarifying Questions)
คำถามสร้างข้อคิดดี ๆ (Insightful Questions)
คำถามเฉียบคม (Laser Questions)
คำถามท้าทาย (Challenging Questions)
คำถามชี้นำความคิด (Leading Questions)
กิจกรรมย่อย: การสร้างชุดคำถามกับการเจรจาต่อรอง
ประเด็นสำคัญของการเจรจาต่อรองที่ต้องพิจารณา
อุปสรรคที่ทำให้การเจรจาไม่มีประสิทธิผล
ความผิดพลาดทางจิตใจในการเจรจา
การเตรียมความพร้อมก่อนการเจรจาต่อรอง
เป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการจากการเจรจาต่อรอง
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานระดับปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ใช้หลักการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
หมายเหตุ : ผู้ใหญ่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในอดีตของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะอยู่ภายในจิตใต้สำนึก ผ่านการแสดงด้วยวงจรพฤติกรรม หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องทำให้ผู้เรียนยินดี ที่จะปรับเปลี่ยนความคิด ของตัวเอง ใหม่ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (การกระทำแบบใหม่)
การใช้กระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching) กับการฝึกอบรม
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเองและยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเอง ผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
แก่นสำคัญของการฝึกอบรมในรูปแบบ Group Coaching
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเอง และยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเองผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
" การบอกให้ฟัง กับ กระตุ้นให้คิด อย่างไหนดีกว่ากัน ? "
" ชี้แนะวิธีการให้ กับ ถามว่ามีวิธีการของตัวเองอย่างไร ? "
แบบไหนจำได้มากกว่ากัน
แนวทางการบรรยายสไลด์ (Slide)
อธิบาย กระตุ้นให้คิด ถามให้ประยุกต์ใช้ จูงใจให้มี Commitment
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วย Keywords และประโยคสำคัญ
เปิดโอกาสให้สำรวจตัวเองและสร้างแนวทางแก้ไขด้วยตัวเอง
ฝึกให้จับประเด็นสำคัญที่อยู่ในสไลด์ (Slide) ได้ด้วยตัวเอง
ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีอิสระในการเลือกใช้ความรู้ ไม่ได้บังคับ
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
สร้าง Commitment ในสิ่งที่จะนำไปปฏิบัติ
พิสูจน์หลักการและเทคนิคที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วยตัวเองและพร้อมไปประยุกต์ใช้ทันที
สนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างแนวความคิดใหม่ๆ ของตัวเองผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การแสดงบทบาทสมมติ (Workshop) ผ่านกรณีศึกษา
กรณีศึกษา ก็เหมือนกับเหตุการณ์จริงที่ผู้เรียนต้องเผชิญ หากมีการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ประยุกต์กับกรณีศึกษา ก็เสมือนหนึ่งให้พิสูจน์หลักการและวิธีการใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา จะทำให้เข้าใจเนื้อหาและวิธีการใช้ได้อย่างแม่นยำ
การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) สร้างความสนุกสนานได้แง่คิดผ่านเหตุการณ์คล้ายสถานการณ์จริง ทำให้เมื่อเจอสถานการณ์จริงหลังการฝึกอบรมแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
ผู้เรียนควรมีความตั้งใจในการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ด้วยตัวเอง
การพัฒนาตัวเองควรปฏิบัติบ่อยๆ จนกลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง
การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Coaching จะทำให้ผู้เรียนอยากนำสิ่งที่รู้ไปใช้จริง
การบ้านเป็นสิ่งที่ผู้เรียนยินดีที่จะกำหนดด้วยตัวเอง
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมสามารถวัดได้ที่การบ้านที่ผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริง
อาจารย์ ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : การเจรจาต่อรอง, NLP, Negotiation
แสดงความคิดเห็น