หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม แนวคิด KAIZEN เพื่อการปรับปรุงงาน (Introduction to Kaizen)
(MBA. (Industrial Management))
ติดต่อสอบถาม
084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมการบริหาร
งานเชิงคุณภาพอันมีรากฐานกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นและได้รับความนิยมแพร่หลายกลายเป็นที่รู้จักและสื่อสารกันในระดับสากล Kaizen Teian หมายถึง?? (Kaizen): การปรับปรุงและ?? (Teian): ข้อเสนอ Kaizen Teian ใช้ในการพัฒนาระบบสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านข้อเสนอแนะของพนักงานหรือข้อเสนอ ระบบข้อเสนอในแบบญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและตรงไปตรงมามากที่สุดสำหรับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และความเข้าใจเชิงลึกของพนักงาน การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวความคิดที่ว่าการทำไคเซ็นไม่ใช่เพิ่มภาระแต่มุ่งที่จะ เลิก/ลด/เปลี่ยน ภาระหรืองานที่ไม่จำเป็นมุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ดังนั้นการทำไคเซ็น จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความรู้และความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนทุกระดับเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตนซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ผู้ปฏิบัติงานหน้างานย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่นๆ“ โดยในท้ายที่สุดแล้วผู้ปฏิบัติงานย่อมมีความสะดวกสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้นจากการปรับปรุงงานของตนเองตลอดเวลานั่นเอง
คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการ
ปรับปรุงสามารถทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำ ไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้อง ละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทำได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานและลดต้นทุน ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทำไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด “การเขียนข้อเสนอแนะKAIZEN เพื่อการปรับปรุงงาน” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมการเขียนข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานและลดต้นทุนในการทำงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline) 1. แนวคิดของการปรับปรุงองค์กรปัจจุบัน
2. การปรับเปลี่ยนความคิดและความเคยชิน เพื่อการปรับปรุงงาน
3. การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงการทำงาน
4. การวิเคราะห์ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพตามหลัก 4M
5. KAIZEN คืออะไร
6. KAIZEN สำคัญอย่างไร ทำไมใคร ๆ ก็ทำ KAIZEN
7. หลักการทฤษฎีและการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
8. ขั้นตอนและการนำไปปรับใช้กับการทำงาน
9. วิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS
10. ผลที่ได้จากการดำเนินตามหลัก KAIZEN
11. กรณีศึกษา และ Workshop "ล้านไอเดียเพื่อปรับปรุงงานและลดต้นทุน" วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการฝึกอบรม 1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
2. พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
3. สามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลภายในองค์กรต่อไป
4. พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่น PCDA, 5S, Visual Control ฯลฯร่วมกับกิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม