หน้าแรก / บริการ / หลักสูตรฝึกอบรม 2563 / Advance Coaching / โปรแกรมการพัฒนากระบวนการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
091-770-3350 / 091-770-3352 (HOTLINE)
mktentraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล หลักการและแนวความคิดของโปรแกรม กระบวนการโค้ชด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology Coaching) เป็นกระบวนการโค้ชที่ให้ความสำคัญเรื่องของคุณค่า (Value) ของบุคคลเป็นสำคัญ เพราะมีความเชื่อว่า “พฤติกรรมที่ดี” เกิดจากการเลือกใช้คุณค่าที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการมีสติ (Mindfulness) ตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเอง (Self-Awareness) แล้วลงมือปฏิบัติให้สมดุลของตัวเอง ไปสู่เป้าหมายเชิงบวกตามต้องการ
โปรแกรมการโค้ชเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แล้วสร้างความเข้าใจกระบวนการโค้ชได้ด้วยตัวเอง ผ่านการฝึกฝนจริงใน Class ตลอดเวลา 3 วัน โดยมีทีม Master Coach คอยเป็นโค้ชพี่เลี้ยง (Mentor Coach) อยู่ตลอดเวลาการฝึกฝน จึงได้ออกแบบโปรแกรมต่างๆ เป็น 12 โมดูล (Module) ดังนี้...
Module I : หลักพื้นฐานของการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
Module II : การพัฒนาทักษะการโค้ชเบื้องต้น
Module III : การเรียนรู้และเข้าใจหลักจิตวิทยาเชิงบวก
Module IV : การเรียนรู้และเข้าใจพลังทางปัญญา
Module V : การพัฒนาหลักการโค้ชด้วยสมองตระหนักรู้
Module VI : การพัฒนาหลักการโค้ชสร้างสมดุลชีวิต
Module VII : การพัฒนาหลักการโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด
Module VIII : การพัฒนาหลักการโค้ชด้วยการเจริญสติ
Module IX : ครบเครื่องเรื่องศาสตร์การโค้ช
Module X : การฝึกปฏิบัติการโค้ชย่อยในเรื่องต่างๆ
Module XI : การสร้างกระบวนการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
Module XII : การถอดบทเรียน (Unpack) กระบวนการโค้ช
การพัฒนาพื้นฐานการโค้ชด้วยศาสตร์ต่างๆ ให้มีความเชี่ยวชาญ ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก เพราะศาสตร์ต่างๆ ของการโค้ชนั้น เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการโค้ชในระดับที่สูงขั้นต่อไป เช่น
การโค้ชด้วยการตระหนักรู้ของสมอง (Brain Base Coaching)
การโค้ชด้วยการสร้างสมดุลชีวิต (Life Coaching)
การโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด (NLP Coaching)
การโค้ชด้วยการเจริญสติ (Mindfulness Coaching)
การโค้ชด้วยการตระหนักรู้ด้วยตัวเอง (Self-Awareness) เป็นกระบวนการโค้ชที่ดำเนินไปด้วยการมีสติอย่างมีเหตุผล เพื่อเอาชนะพฤติกรรมที่ปฏิบัติอยู่ในด้านดีแต่ขาดความสุข เพราะถูกจิตบั่นทอนบังคับให้ปฏิบัติ การสร้างจิตของปัญญาจึงต้องใช้กระบวนการโค้ชด้วยการตระหนักรู้ด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการนำกระบวนการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเองทันที เมื่อดำเนินการจบโปรแกรม
เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริงใน Class ด้วยการฝึกฝนการโค้ชตลอดเวลา 3 วัน โดยมีโค้ชพี่เลี้ยง (Mentor Coach) คอยดูแล
เพื่อพัฒนาทักษะและเทคนิค การโค้ชให้กับผู้เรียนในการนำไปประยุกต์ใช้ด้วย Style ของตัวเอง ทำให้เกิดความมั่นใจในการลงมือดำเนินการโค้ชด้วยตัวเอง
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียนรู้และการทำไปใช้จริง จึงมีการออกแบบโปรแกรมให้การนำไปใช้จริงตลอดการเรียนรู้ตลอดทั้งโปรแกรม
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I : การพัฒนาทักษะการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก Module I : หลักพื้นฐานของการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับการเป็นโค้ช
นิยาม ความหมายของการโค้ชพอสังเขป
กระบวนการโค้ชตามสมรรถนะ (Competency Coaching)
กระบวนการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology Coaching)
Workshop : กำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับการโค้ช
Module II : การพัฒนาทักษะการโค้ชเบื้องต้น
การเรียนรู้และเข้าใจโค้ชชี่ (Assessment)
การสร้างความสัมพันธ์เข้ากันได้ (Build Rapport)
ทักษะการใช้คำถามทรงพลัง (Powerful Question)
ทักษะการฟังเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์ (Active Listening)
เทคนิคการกำหนดเป้าหมายคุณภาพ (Goal Setting)
กิจกรรม : การฝึกฝนทักษะต่างๆ พอสังเขป
Role Playing : ดำเนินการโค้ชซึ่งกันและกัน
Module III : การเรียนรู้และเข้าใจหลักจิตวิทยาเชิงบวก
นิยาม ความหมายของจิตวิทยาเชิงบวก
การทำงานของสมอง (Brain Working)
การสร้างทัศนคติเชิงบวกกับการทำงาน
การโค้ชด้วยคุณค่า (Value Coaching)
Role Playing : ดำเนินการโค้ชด้วยคุณค่า
Module IV : การเรียนรู้และเข้าใจพลังทางปัญญา
พลังทางปัญญา (Positive Intelligence)
การเรียนรู้และเข้าใจจิตบั่นทอน
การสร้างพลังทางปัญญาด้วยตัวเอง
การโค้ชด้วยการตระหนักรู้ตัวเอง (Self-Awareness Coaching)
Role Playing : ดำเนินการโค้ชด้วยการตระหนักรู้ด้วยตัวเอง
Day II : การพัฒนาศาสตร์การโค้ชต่างๆ ด้วยตัวเอง Module V : การพัฒนาหลักการโค้ชด้วยสมองตระหนักรู้
การโค้ชด้วยการตระหนักรู้ของสมอง (Brain Base Coaching)
หลักการสำคัญของการโค้ชด้วยการตระหนักรู้
กระบวนการโค้ชด้วยการตระหนักรู้
Role Playing: การฝึกฝนการโค้ชด้วยการตระหนักรู้
Module VI : การพัฒนาหลักการโค้ชสร้างสมดุลชีวิต
การโค้ชด้วยการสร้างสมดุลชีวิต (Life Coaching)
หลักการสำคัญของการโค้ชด้วยการสร้างสมดุลชีวิต
กระบวนการโค้ชด้วยการสร้างสมดุลชีวิต
Role Playing: การฝึกฝนการโค้ชด้วยการสร้างสมดุลชีวิต
Module VII : การพัฒนาหลักการโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด
การโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด (NLP Coaching)
หลักการสำคัญของการโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด
กระบวนการโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด
Role Playing: การฝึกฝนการโค้ชปลดล็อกข้อจำกัด
Module VIII : การพัฒนาหลักการโค้ชด้วยการเจริญสติ
การโค้ชด้วยการเจริญสติ (Mindfulness Coaching)
หลักการสำคัญของการโค้ชด้วยการเจริญสติ
กระบวนการโค้ชด้วยการเจริญสติ
Role Playing: การฝึกฝนการโค้ชด้วยการเจริญสติ
Module IX : ครบเครื่องเรื่องศาสตร์การโค้ช
เทคนิคการเชื่อมโยงศาสตร์การโค้ชต่างๆ
ความเหมือนและความแตกต่างของการโค้ชด้วยศาสตร์ต่างๆ
กระบวนการโค้ชผสมผสานศาสตร์การโค้ช
Role Playing: การเรียนรู้กระบวนการโค้ชด้วยการโค้ชจริง
Day III : การฝึกปฏิบัติการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก Module X : การฝึกปฏิบัติการโค้ชย่อยในเรื่องต่างๆ
การฝึกปฏิบัติการโค้ชด้วยคำสำคัญ (Key Words Coaching)
การฝึกปฏิบัติการโค้ชด้วยรูปแบบ (Solution Coaching)
การฝึกปฏิบัติการโค้ชตามขั้นตอน (WI Coaching)
การฝึกปฏิบัติการโค้ชด้วยการ์ด (Coaching Card)
Role Playing: ดำเนินการฝึกการโค้ชย่อยในแต่ละแบบ
Module XI : การสร้างกระบวนการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
การดำเนินการประเมินโค้ชชี่ (Assessment)…ใช้ Brain working assessment
การสร้างความเข้ากันได้ (Build Rapport)…ใช้ Positive Attitude
การเลือกศาสตร์การโค้ช....ใช้ Positive Psychology Coaching
การสร้างกระบวนการโค้ช...ใช้ Value Flow
การกำหนดเป้าหมาย...ใช้ Positive Psychology Goal
การพัฒนาสมรรถนะ...ใช้ Value Coaching
การสร้างจิตทรงปัญญา...ใช้ Self-Awareness Coaching
การสร้างแนวทางปฏิบัติ...ใช้ Balance Action
Role Playing : ดำเนินการโค้ชด้วยจิตวิทยาเชิงบวก
Module XII : การถอดบทเรียน (Unpack) กระบวนการโค้ช
หลักการสำคัญของการถอดบทเรียน (Unpack)
กระบวนการถอดบทเรียนการโค้ช (Coaching Unpack Process)
การเตรียมตัวเองในฐานะโค้ชพี่เลี้ยง (Mentor Coach)
การสร้างโค้ชภายในองค์กร (Internal Coach)
การจัดทำโครงการ (Project Assignment) : การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร (Corporate Coaching Culture)
กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานระดับปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ใช้หลักการ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
หมายเหตุ : ผู้ใหญ่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในอดีตของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะอยู่ภายในจิตใต้สำนึก ผ่านการแสดงด้วยวงจรพฤติกรรม หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องทำให้ผู้เรียนยินดี ที่จะปรับเปลี่ยนความคิด ของตัวเอง ใหม่ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (การกระทำแบบใหม่)
การใช้กระบวนการโค้ชชิ่ง (Coaching) กับการฝึกอบรม
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเองและยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเอง ผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
แก่นสำคัญของการฝึกอบรมในรูปแบบ Group Coaching
หมายเหตุ : การทำให้ผู้เรียนมองเห็นตัวเอง และยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวเองผ่านการใช้คำถาม (Questioning) ของโค้ช (วิทยากร) จะสร้างความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองของผู้เรียน แล้วผู้เรียนก็จะเลือกทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับ Style และสภาพแวดล้อมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
" การบอกให้ฟัง กับ กระตุ้นให้คิด อย่างไหนดีกว่ากัน ? "
" ชี้แนะวิธีการให้ กับ ถามว่ามีวิธีการของตัวเองอย่างไร ? "
แบบไหนจำได้มากกว่ากัน
แนวทางการบรรยายสไลด์ (Slide)
อธิบาย กระตุ้นให้คิด ถามให้ประยุกต์ใช้ จูงใจให้มี Commitment
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วย Keywords และประโยคสำคัญ
เปิดโอกาสให้สำรวจตัวเองและสร้างแนวทางแก้ไขด้วยตัวเอง
ฝึกให้จับประเด็นสำคัญที่อยู่ในสไลด์ (Slide) ได้ด้วยตัวเอง
ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีอิสระในการเลือกใช้ความรู้ ไม่ได้บังคับ
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
สร้าง Commitment ในสิ่งที่จะนำไปปฏิบัติ
พิสูจน์หลักการและเทคนิคที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างความเข้าใจในเนื้อหาด้วยตัวเองและพร้อมไปประยุกต์ใช้ทันที
สนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
สร้างแนวความคิดใหม่ๆ ของตัวเองผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
การแสดงบทบาทสมมติ (Workshop) ผ่านกรณีศึกษา
กรณีศึกษา ก็เหมือนกับเหตุการณ์จริงที่ผู้เรียนต้องเผชิญ หากมีการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ประยุกต์กับกรณีศึกษา ก็เสมือนหนึ่งให้พิสูจน์หลักการและวิธีการใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา จะทำให้เข้าใจเนื้อหาและวิธีการใช้ได้อย่างแม่นยำ
การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) สร้างความสนุกสนานได้แง่คิดผ่านเหตุการณ์คล้ายสถานการณ์จริง ทำให้เมื่อเจอสถานการณ์จริงหลังการฝึกอบรมแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
ผู้เรียนควรมีความตั้งใจในการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ด้วยตัวเอง
การพัฒนาตัวเองควรปฏิบัติบ่อยๆ จนกลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง
การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Coaching จะทำให้ผู้เรียนอยากนำสิ่งที่รู้ไปใช้จริง
การบ้านเป็นสิ่งที่ผู้เรียนยินดีที่จะกำหนดด้วยตัวเอง
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมสามารถวัดได้ที่การบ้านที่ผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริง
อาจารย์ ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : จิตวิทยาเชิงบวก, กระบวนการโค้ช, ทักษะการโค้ช
แสดงความคิดเห็น