หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม Mindset for KM Facilitation
(Facilitative Coach)
ติดต่อสอบถาม
091-770-3354 / 091-770-3350 / 086-303-6747 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อทำให้ความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กร ที่สะสมกันมาด้วยวิธีการต่างๆ ได้ถูกถ่ายทอดแลกเปลี่ยนและสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยใช้กระบวนการดำเนินการที่ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันขึ้นมา ซึ่งกระบวนการดำเนินการดังกล่าว เรียกว่า KM Facilitation
ผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ที่มีกรอบความคิดการดำเนินการแบบ Facilitation เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ทั้งต่อบุคคลและองค์กรไปควบคู่กัน ดังนั้นการสร้าง Mindset of KM Facilitation จึงทำให้การการสร้างพื้นที่การเรียนรู้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทุกคนมีส่วนร่วมเต็มที่
การพัฒนาคุณลักษระและทักษะในการจัดกระบวนการ Facilitation ช่วยให้ Facilitator มีความเชื่อมั่นในตนเอง อำนวยการเรียนรู้ของกลุ่มไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ในการจัดกาเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มได้อย่างเหมาะสมกับสถานที่ต่างๆในองค์กรได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการ facilitation และบทบาทของ facilitator ในกระบวนการการจัดการความรู้ (KM)
เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์พื้นที่ปลอดภัยเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของการเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนรู้แบบปัจเจก
เพื่อให้ผู้เรียนมี mindset ของการเป็น facilitator เพื่อการจัดการการเรียนรู้ในองค์กร
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม ความสำคัญของ facilitation ในกระบวนการการจัดการความรู้
หลักการและภาพรวมของการจัดการความรู้
ความหมายของการ facilitation
ความสำคัญของการ facilitation ในกระบวนการการจัดการความรู้
กิจกรรม : การระดมสมองร่วมกันในการหาความหมายของ facilitation
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ : มองเห็นความแตกต่างของการเรียนรู้แบบปัจเจก และการเรียนรู้แบบกลุ่ม
ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัย ต่อการเรียนรู้
ลักษณะของพื้นที่ปลอดภัย
พื้นที่ปลอดภัย 4 ระดับ inclusion, learner, contributor และ challenger safety
องค์ประกอบให้เกิด และ อุปสรรค ต่อการเกิดพื้นที่ปลอดภัย
กิจกรรม : เสร็จฉันล่ะเธอ (เรียกชื่อสิ่งต่างๆ ตามที่โจทย์กำหนด ภายในเวลาที่กำหนด)
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ : มองเห็นถึงอาการของคำว่าพื้นที่ปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ส่งต่อการเรียนรู้ของตนเอง รวมถึงมองเห็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของตนเอง
คุณลักษณะของ facilitator ผู้ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย
คุณลักษณะ (being) ของ facilitator
ทักษะที่จำเป็นของ facilitator
Mindset ที่สำคัญของ facilitator
กิจกรรม : การถอดบทเรียน จากพื้นที่ปลอดภัย
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ : มองเห็นถึงคุณสมบัติต่างๆของการเป็น facilitator ที่ตนเองมี และสิ่งที่ตนเองจะพัฒนาเพื่อการเป็น facilitator สำหรับการจัดการความรู้ในองค์กร
แก่นของ Facilitative Coaching การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตระหนักรู้ด้วยตนเอง
กระบวนการพัฒนาบุคลากรในเรื่องใดๆนั้น Facilitative Coaching จะเน้นวิชาเป็นศูนย์กลางที่พร้อมให้ผู้เข้าร่วมอบรมสืบค้นความจริงของตนเองในประเด็นนั้นๆ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆถือเป็นอีกความจริงหนึ่งที่เพื่อนๆจะได้ร่วมกันสืบค้น
การตระหนักรู้ในตนเองและเคารพในประสบการณ์ของเพื่อนที่ร่วมเข้าอบรมจะช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเพื่อน เห็นศักยภาพในตัวเพื่อนและเกิดการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ตลอดเวลาทำกิจกรรม
การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเห็นตัวเองเข้าใจตนเอง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
Conceptual Framework
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานปฏิบัตการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ผู้บริหาร
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม