หลักสูตรฝึกอบรม การคิดเชิงตรรกะ พัฒนาอัจฉริยะนักคิด พิชิตความสำเร็จ - หลักสูตร 1 วัน
(Logical Thinking for management and modern employees)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การคิดเชิงตรรกะ พัฒนาอัจฉริยะนักคิด พิชิตความสำเร็จ (Logical Thinking for management and modern employees)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   จุดอ่อนที่สำคัญประการหนึ่งของบุคลากรชาวไทยในองค์กรต่างๆของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานของภาครัฐด้วย คือ ความสามารถหรือศักยภาพในการคิด ซึ่งรวมไปถึงทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล คิดอย่างเป็นระบบในเชิงเหตุผล ซึ่งการคิดในเชิงวิเคราะห์นี้ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานทุกประเภท เช่น ในการวางแผนงาน การแก้ปัญหา การตัดสินใจต่างๆ การบริหารจัดการภารกิจงานประจำวันให้บรรลุผลสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งปัญหาความสามารถในการคิดนี้มีขึ้นในทุกระดับชั้นของบุคลากร แม้กระทั่งเจ้าของกิจการที่เป็นผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก็ยังสมควรที่จะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์เช่นกัน ความสามารถในการคิดเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ ดังคำกล่าวที่ว่า “คิดดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” ทั้งนี้เนื่องจากความคิดจะนำมาซึ่งการกระทำและการกระทำจะนำไปสู่ผลลัพธ์ ผลลัพธ์จะดีหรือไม่จุดเริ่มต้นที่สำคัญจึงอยู่ที่ประสิทธิภาพของการคิดของบุคลากรในระดับต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในระดับบริหารทั้งระดับสูงและระดับกลาง ที่ต้องเปลี่ยนแปลความคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสูงสุดหรือเจ้าของ กิจการไปสู่กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
   หากอาศัยกฎ 80/20 มาอ้างอิง จะพบว่าในองค์กรหนึ่งๆ จะมีบุคลากรที่มีความสามารถในการคิดเพียงไม่เกิน 20% ของบุคลากรทั้งหมดเท่านั้น และที่เป็นนักคิดที่มีประสิทธิผลเป็นเลิศอย่างแท้จริงก็จะมีเพียง 20% ของ 20% ของนักคิดที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งปริมาณนักคิดในระดับนี้เพียงพอหรือไม่ที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ มีความก้าวหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืน คำตอบคือมีความเป็นไปได้น้อยมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรสมัยใหม่จะให้ความใส่ใจ ทุ่มเทและให้ความสำคัญต่อการบ่มเพาะนักคิดขึ้นในองค์กรของตน การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ การบริหารจัดการความรู้ในองค์กร จึงมักจะถูกกำหนดเป็นวาระเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรต่างๆในการปรับปรุงพัฒนาองค์กร การจัดการความรู้ และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่าการบรรลุผลลัพธ์ของโครงการเหล่านี้จะเป็นไปได้ยากหากบุคลากรยังไม่สามารถที่จะคิดเป็น การปลูกฝังความสามารถในการคิดให้กับบุคลากรจึงควรเป็นแผนงานริเริ่มในลำดับแรกๆที่จะต้องดำเนินการ หากถามว่าองค์กรมีความจำเป็นเร่งด่วนเพียงใด สำหรับการพัฒนายกระดับความสามารถทักษะในการคิดให้กับบุคลากร องค์กรก็จะต้องสำรวจความรุนแรงของอาการแห่งโรคของการคิดไม่เป็นที่มีขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตน อาทิ การทำงานที่ไม่สอดประสานกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร แผนงานต่างๆไม่บรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้ การติดสินใจล่าช้าและอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น การรุกรามและขยายตัวของปัญหาเล็กๆจนเป็นปัญหาที่ใหญ่และแก้ไขได้ยาก ปัญหาเดิมๆเกิดขึ้นซ้ำซาก การประชุมทั้งในลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีขึ้นบ่อยครั้ง ใช้เวลานานและไม่เกิดผลิตภาพ การสำลักข้อมูล ไม่มีสิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นในองค์กรมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 1 ปี ผู้บริหารเห็นว่าผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นนักปฏิบัติที่ดีแต่ไม่ใช่นักริเริ่มที่ดี ซึ่งมักจะได้ยินคำพูดจากนักปฏิบัติเหล่านี้ว่า “ขอให้สั่งมาเถอะว่าจะให้ทำอะไร จะทำให้สุดความสามารถ” แต่จะไม่มีคำถามหรือข้อเสนอแนะใดๆเลย ฯลฯ 
   ท่านอาจจะคาดคิดไม่ถึงว่าการคิดไม่เป็นของบุคลากรนั้นจะนำมาซึ่งภยันตรายอย่างไรต่อองค์กร ผลกระทบของการคิดไม่เป็นของบุคลากรที่จะเกิดกับองค์กรซึ่งปรากฏสังเกตได้อย่างชัดเจน ที่จะเสนอไว้เป็นตัวอย่าง อาทิ รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความเหมาะสม ความไม่พึงพอใจของลูกค้า ผลิตภาพต่ำ เป็นต้น
   หลักสูตรนี้ ต้องการบ่มเพาะพื้นฐานการคิดเชิงตรรกะ คิดเชิงวิเคราะห์ให้กับบุคลากรขององค์กร แนะนำหลักการ เทคนิคและเครื่องมือช่วยในการคิดอย่างมีประสิทธิผล สอนแนะฝึกฝนบุคลากรให้มีทักษะในการคิดและสามารถถ่ายทอดเทคนิคไปประยุกต์ปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดของมนุษย์ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบของกระบวนการคิดที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล แบบแผนพื้นฐานที่ครอบงำการคิดหลักของแต่ละบุคคล
2. เพื่อเรียนรู้หลักการพื้นฐานและเทคนิคของการคิดเชิงตรรกะการวิเคราะห์ โครงสร้างและองค์ประกอบพื้นฐานของการคิดแบบตรรกะ
3. เพื่อเรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือใช้ประกอบในกระบวนการคิดแบบตรรกะ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลของการคิด
4. เพื่อปรับปรุงทักษะการคิดแบบตรรกะสร้างความคุ้นเคยและฝึกฝนทักษะการคิดเชิงตรรกะ ที่ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประยุกต์และถ่ายทอดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาต่อไป
5. เพื่อแนะนำการนำเทคนิคการคิดไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติงานของผู้เข้าอบรม เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงาน การนำเสนองาน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน ฯลฯ ที่สามารถวัดประเมินผลเชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรได้

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 ธรรมชาติและแบบแผนหลักของการคิดในแต่ละบุคคล
หลักการพื้นฐานของการคิดแบบตรรกะ
       ความหมายของการคิดแบบตรรกะ (Definition of Logical Thinking)
       กระบวนการคิดแบบตรรกะ (Logical Thinking Process)
       การคิดเชิงระบบ (System Thinking)
       โครงสร้างและการมองภาพรวมแบบที่ปรึกษาชั้นนำ (Top Consultant’s Structured Thinking)
เทคนิคสนับสนุนการคิดแบบตรรกะ
       เทคนิคการคิดด้วยข้อมูลจริง (Fact Based Thinking)
       เทคนิคการคิดด้วยหลักวิชาการและทฤษฎี (Theory and Principle Based Thinking)
       เทคนิคการคิดด้วยการระดมสมอง (Brainstorming)
       NGT (Nominal Group Technique)
       เทคนิคการคิดด้วยการเชื่อมโยงเชิงระบบและทางเลือก (Cause-Effect and Alternative)
การแก้ปัญหาและเครื่องมือการคิด
       นิยามของปัญหา
       กระบวนการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาแบบตรรกะ
       เครื่องมือการคิดเพื่อการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
         - 5Whys และ Why-Why Analysis
         - Affinity Diagram
         - Cause & Effect Diagram
         - Fault Tree Analysis
         - Failure Mode and Effect Analysis
         - Pay-Off Table and Decision Tree
         - Pareto Diagram
         - Graphs
การนำเสนอรายงานเชิงตรระกะและการประยุกต์ในการทำงาน
       แนวคิด PDCA และการรายงานผล
       เทคนิคการนำเสนอเชิงตรรกะขององค์กรชั้นนำและองค์กรแบบลีน
       กรณีศึกษา (Workshop)** : ฝึกปฏิบัติการนำเสนอรายงานตามแบบอย่างองค์กรแห่งลีน
แนะนำการฝึกฝนการประยุกต์ใช้หลักการ เทคนิคการคิดเชิงตรรกะในการบริหารงานและการปฏิบัติงานประจำวัน
       Daily Operation Management
       Suggestion Activity

**หมายเหตุ แต่ละกลุ่มจัดเตรียมปัญหาหรือแผนงานโครงการมาเป็นกรณีศึกษา

แนวทางการฝึกอบรม
เน้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการและได้พัฒนาทักษะการคิด โดยวิธีการอบรมประกอบด้วยการบรรยายเนื้อหาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมกลุ่ม กรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติ 
เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กรณีศึกษาและการฝึกฝนเทคนิคการคิดจะได้รับการออกแบบให้เหมาะสมในรูปแบบการคิดที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In House Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรมอย่างพร้อมเพรียง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม