หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความเสี่ยงในองค์กร - หลักสูตร 2 วัน
(Risk Management)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความเสี่ยงในองค์กร (Risk Management)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

"การจัดการและบริหารความเสี่ยงในองค์กรอย่างเหมาะสม"
ท่านทราบไหมว่าการจัดการความเสี่ยงมีความสำคัญกับกิจการของท่านอย่างไร และท่านเข้าใจหรือท่านมีวิธีการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจของท่านแล้วในรูปแบบใด?


หลักการและเหตุผล
 ผู้บริหารหลายท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารงาน จนกระทั่งกิจการประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้และ การที่ท่านจะบริหารให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และหากเราไม่ทราบแนวทางการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวันที่อาจเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและ ภายนอกที่กระทบต่อกิจการเรานั้น เราอาจจะแก้ไม่ทันหรือต้องเสียทรัพยากรเงินทองระยะเวลา เป็นจำนวนมากในการกอบกู้ธุรกิจนั้นกลับมา 
การเรียนรู้การจัดการบริหารความเสี่ยงในองค์กรนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์ ที่กระทบต่อกิจการที่คาดไม่ถึง โดยการจัดการความเสี่ยงจะช่วยให้ท่านสามารถรับทราบ ติดตามปัญหา และแก้ปัญหามาแต่เนิ่นๆในทุกเหตุการณ์ที่กระทบต่อธุรกิจและลดความสูญเสียในด้านการเงินและเวลา 
(Good Governance) การกำกับดูแลกิจการที่ดี จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่มีส่วนช่วย ในกระบวนการบริหารจัดการและดำเนินการที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง 
การบริหารความเสี่ยง จะเป็นหัวใจที่สำคัญในการดูแลกำกับกิจการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงนั้นจะค้องทำให้สอดคล้องหรือรองรับกับแผนธุรกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร 
ความร่วมมือในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เป็นเรืองที่ต้องสร้างความตระหนักในทุกภาคส่วน หน่วยงานที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนต้องร่วมมือในการจัดทำแผนและเฝ้าตืดตาม การรายงานและแก้ปัญหาร่วมกันในแต่ละองค์กรที่มีความต้องการหรือวิสัยทัศน์ในธุรกิจที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์
เพื่อทำให้ผู้บริหาร พนักงานในองค์กรได้ตระหนักถึงการบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของทุกคน และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
เพื่อให้มีการปฎิบัติงานในการวางแผนงานและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงร่วมกัน
เพื่อการจัดทำแผนงานในเชิงรุกและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อจัดสร้างโครงสร้างองค์กรเพื่อการบริหารความเสี่ยง
เพื่อร่วมระดมความเห็นหรือการค้นหาปัจจัยของความเสี่ยงและการหาแนวทางการแก้ปัญหา

ความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูงต่อการเข้าอบรม
 การรวบรวมปัญหาขององค์กรในทุกฝ่ายงานและแยกตามประเภทความเสี่ยง Risk Identification
การหาแนวทางในการแก้ปัญหา Risk Response
การกำหนดแนวทางดัชนีชี้วัดความเสี่ยง Risk indicatorrisk limit
การจัดสร้างโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการบริหารความเสี่ยง
หน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายงานในการบริหารความเสี่ยง
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
วันที่ 1 การให้ความรู้และการปฎิบัติ 
1. ความรู้เบื้องต้น ความสำคัญ แนวทางการจัดทำการบริหารความเสี่ยง 
2. การจัดทำ workshop กรณีศึกษา 
3. การจัดทำ workshop ในการระดมปัญหาในองค์กร ที่ต้องแก้ไขและจัดทำ ประเด็นความเสี่ยงขององค์กร แยกตามประเภท strategic risk operation risk compliance risk financial risk 


วันที่ 2 เน้นการปฏิบัติ เพื่อให้ได้หัวข้อความเสี่ยงขององค์กรและ แนวทางการบริหารความเสี่ยง 

1. การประเมินความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบที่เกิด 
       จัดทำตารางผลกระทบที่จะเกิดของความเสี่ยง 
       การประเมินโอกาสที่จะเกิดเสี่ยง 
2. การจัดทำ risk profile ที่แสดงระดับความรุนแรงของความเสี่ยง 
3. การจัดทำแนวทางการแก้ปัญหาของความเสี่ยงนั้น หากมีเวลาเพียงพอ
ทั้งนี้การจัดทำแนวทางเพื่อประโยชน์ในการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และแผนปฏิบัติการขององค์กรโดยในการอบรมจะเพื่อประโยชน์ในการที่จะไปดำเนินการในรายละเอียดต่อ โดยที่ผู้อบรมนั้นอาจไม่ได้มีความเข้าใจเท่ากับผู้บริหารในแต่ละฝ่ายงานนั้นๆเพียงพอข้อมูลอาจไม่ครบถ้วน 

1. ความรู้เข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยง ในการดำเนินกิจการ การดำเนินธุรกิจในองค์กรเพื่อให้ได้ผลตอบแทน ที่ดีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้นั้นจำเป็นที่องค์กรต้องมีความพร้อมในทุกด้าน มีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีการบริหารการผลิตที่มีมาตรฐาน มีทีมงานที่มีคุณภาพ เพียงพอ กับการขยายกิจการ มีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยสมควรแก่การแข่งขัน และการมีเงินทุนที่เหมาะสม แต่มิได้หมายความว่ากิจการสามารถเติบโตได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายเสมอไป ปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ที่เรียกว่าความเสียง โอกาสที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม 2. ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการ 
3. ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง 
4. การบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานของ coso 
5. กระบวนการบริหารความเสี่ยง 
6. แนวทางในการจัดกระบวนการบริหารความเสี่ยง 
7. การทำกรณีศึกษา

แนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาให้เป็นตามเป้าหมาย
1 การนำความรู้ความเข้าใจจากการเรียนไปจัดทำแผนเชิงลึกให้สอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กรต่อไป 2.การจัดตั้งหน่วยงาน/ฝ่ายบริหารความเสี่ยงเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามงาน
3.การรวบรวมปัญหา ที่เกิดขึ้นและแยกประเภทตามความเสี่ยงแต่ละประเภท
4.การรับผิดชอบการจัดทำรายงานร่วมกันในแต่ละฝ่ายงาน
5.การจัดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและจริงจังในการรับผิดชอบ
6.การมีระบบของข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์
7.การสร้างวัฒนธรรมในการรับผิดชอบร่วมกัน


แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม
แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม การเรียนรู้แบบการระดมความคิด Brain Stroming โดยผู้เรียนจะเป็นผู้คิด/พัฒนา นวตกรรมร่วมกัน ตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในงานและกล้าที่จะร่วมกันแสดงความคิดเห็น และนำแนวทางที่ได้ไปคิดและหาวิธีปฎิบัติต่อไป
กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
       การบรรยายเนื้อหา
       Work shop ในการร่วมคิดและแสดงความเห็น
       การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
       แนวทางที่จะต้องนำไปดำเนินการต่อ ทั้งการศึกษาการผลิตและการตลาดใหม่ๆ
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ให้เกิดการพัฒนา


ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
ผู้บริหาร/พนักงาน
การพัฒนาธุรกิจ
ฝ่ายขาย 
เทคนิคการผลิต 
บัญชีการเงิน
สารสนเทศ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม