หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารคุณภาพด้วย Lean Six Sigma เบื้องต้น - หลักสูตร 1 วัน
(Lean Six Sigma White Belt)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารคุณภาพด้วย Lean Six Sigma เบื้องต้น (Lean Six Sigma White Belt)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
 การบริหารคุณภาพด้วยหลัการ Six Sigma ถูกพัฒนาขึ้นจากบริษัท Motorola บริษัทชั้นนำในการผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือทางอิเลคทรอนิกส์ และโทรคมนาคมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 หลังจากได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าหลักการของ Six Sigma ช่วยให้บริษัทควบคุมคุณภาพในการผลิตได้ขึ้นมากโดยใช้หลักการทางสถิติที่พัฒนาขึ้นมากจากวิธีการควบคุมคุณภาพก่อนหน้า วิธีการของ Six Sigma จึงได้ถูกนำไปใช้ในแทบจะทุกอุตสาหกรรมการผลิต
ปัจจุบันหลักการควบคุมคุณภาพด้วย Six Sigma ได้ถูกพัฒนาให้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากอุตสาหกรรมการผลิต และเมื่อรวมกับหลักการของ LEAN Management หลักการของ Six Sigma จึงกระจายไปสู่อุตสาหกรรมบริการ สาธารณสุข การเงิน หรือแม้กระทั่งหน่วยงานราชการต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การจะใช้ Six Sigma ได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องได้รับการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง

วัตถุประสงค์
 ความเชี่ยวชาญในการนำ Lean Six Sigma ไปใช้ถูกแบ่งออกเป็นระดับขั้น ตั้งแต่ระดับแรกเข้า (White Belt) ระดับมือใหม่ (Yellow Belt) ระดับปฏิบัติการ (Green Belt) ระดับผู้รับผิดชอบโครงการ (Black Belt) จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ (Master Black Belt) และผู้บริหาร (Champion or Sponsor)
ความรู้เรื่อง Lean Six Sigma ระดับ White Belt นับเป็นความรู้ด้านการทำงานเบื้องต้นที่พนักงานใหม่ทุกคนที่เริ่มเข้าทำงานควรจะได้ทราบก่อนเข้าทำงานจริง
เพื่อให้ความรู้กับผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการของการบริหารคุณภาพเบื้องต้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงการนำหลักการของ Lean Six Sigma มาใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่ตนทำอยู่
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้จักเครื่องมือทางความคิดเบื้องต้น และวิธีการนำไปใช้ในชีวิตการทำงาน

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
 การสร้างกรอบความคิดเรื่องคุณภาพ (Quality Awareness)
     - สำรวจแนวความคิดเรื่องคุณภาพและเครื่องมือต่างๆ
     - การควบคุมคุณภาพ (QC) V.S. การประกันคุณภาพ (QA)
     - วิวัฒนาการของ Lean และ Six Sigma มาจากไหน?
     - ความหมายของกรอบความคิดแบบลีน (Lean Mindset)
     - หลักการของ Six Sigma ในการทำงาน
     - Workshop: การสร้างกรอบความคิดคุณภาพ (Quality Mindset)
การเรียนรู้และประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma กับการทำงาน
     - Lean Six Sigma เปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างไร?
     - การจัดแบ่งระดับความเชี่ยวชาญของ Six Sigma (White Belt, Yellow Belt, Green Belt, Black Belt, Master Black Belt และ Champion)
     - ความหมายของระดับ Lean Six Sigma White Belt
     - หลักการของ Lean Management
     - Workshop: การประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma กับการทำงานของตัวเอง
     - กรณีศึกษา: องค์กรที่ใช้ Lean Six Sigma แล้วประสบความสำเร็จ
เทคนิคการใช้เครื่องมือคุณภาพด้วย Lean Six Sigma
     - หลักการของ PDCA ในการพัฒนาคุณภาพ
     - ความหมายที่สำคัญของไคเซ็น (Kaizen)
     - การใช้ Visual Control กับการควบคุมคุณภาพ
     - การแก้ปัญหาด้วย 7QC Tools+
     - กิจกรรม: การแก้ปัญหาด้วย PDCA และ 7QC Tools
การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากเรื่องเล่า (Storytelling for Case Study)
     - องค์กรที่ประสบปัญหาที่ไม่ได้ใช้ Lean Six Sigma
     - องค์กรที่ประสบความสำเร็จด้วยการเปลี่ยนแปลง
     - กิจกรรม: จับกลุ่มวิเคราะห์หลักการใช้ Lean Six Sigma ในองค์กร
การบ้าน: เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง

รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมจะเน้นการเล่าถึงประสบการณ์จริงที่ได้พบมาตามหัวข้อต่าง ๆ ในเอกสารบรรยาย เพื่อไม่ให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเบื่อหน่าย และต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการทำงานได้จริง ร่วมกับ Workshop

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม