หลักสูตรฝึกอบรม การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษา - หลักสูตร 1 วัน
(Preventive Maintenance & Management)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษา (Preventive Maintenance & Management)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและแนวความคิด
ปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมต้องอาศัยเครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหาก เครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายเหนือการคาดการณ์ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต่ำลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุมเครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องขัดข้อง หรือหยุดโดยการใช้ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรจะเน้นการวางแผน PM (Preventive Maintenance) จากข้อมูลและประวัติเครื่องจักรเพื่อให้แผน PM มีความแม่นยำคาดการณ์ได้ และสามารถวางแผนการบำรุงรักษาร่วมกับส่วนงานอื่นได้
ที่มาของงานซ่อมบำรุง หรือที่เราเรียกว่าการทำ PM เป็นการซ่อมบำรุงตามการสมมติฐานอายุการใช้งานเฉลี่ยซึ่งผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดให้ และจะใช้การกำหนดโดยการบำรุงรักษาตามเวลา โดยเครื่องจักรแต่ละประเภทจะมีความสัมพันธ์ของความเสื่อมสภาพเป็นโค้งรูปอ่างน้ำ (Bathtub curve) ดังรูป



1.ช่วง Failure ช่วงแรก เป็นช่วงที่ค่อนข้างเร็ว หลังจากเริ่มใช้งานจะเป็นช่วงที่เกิด failure ขึ้น ที่มาจากความบกพร่องของการออกแบบ และการผลิตเครื่องจักร หรือความไม่เหมาะสมของเงื่อนไขการใช้ สภาพแวดล้อม ในช่วงนี้จะเรียกว่า ช่วงที่อัตราการเกิด Failure นั้นลดลง
2.ช่วง Failure กะทันหัน Observed failure rate เป็นช่วงระหว่างการ failure ช่วงแรก กับช่วง Failure สึกหรอ จะป็นช่วงที่เกิดขึ้นกะทันหันเป็น failure ที่ไม่สามารถควาดคะเนได้ว่าจะเป็น Failure ครั้งต่อไปเมื่อไรได้ แต่เป็นช่วงที่สามารถจะคาดคะเนได้ว่าอัตราการเกิด Failure นั้นจะคงที่
3.ช่วง Failure สึกหรอ เป็นช่วงที่อัตราการเกิด Failure จะสูงตามระยะเวลาการใช้งาน เพราะความล้า การสึกหรือการเสื่อมสภาพ เป็นช่วง Failure ที่สามารถคาดคะเนล่วงหน้าได้จาการตรวจสอบหรือการควบคุมล่วงหน้า ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเกิด Failure ลดลงได้

  ในหลักสูตรยังมีการคำนวณ OEE จะอธิบายถึงผลกระทบต่อการหยุดเครื่องจักรแบบฉุกเฉิน
     
     
รวมไปถึงการการออกแบบ Check Sheet จากอาการเสียของเครื่องจักร

      ตัวอย่าง แบบจำลองก่อนเครื่องจักรเสียหาย
   
และบทสรุปเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจอาการเสียของเครื่องจักรแต่ละ Unit ได้ครับ

      ตัวอย่าง โรคประจำตัวของ Motor

     

       ตัวอย่าง สาเหตุความเสียของตลับลูกปืน


     

วัตถุประสงค์
 ให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษา ที่จะส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการทั้งด้าน คุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบ
เข้าใจหลักการและขั้นตอนการทำ Preventive Maintenance
เพื่อให้ความรู้และสามารถวางแผน Preventive Maintenance
เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรได้
สามารถวางแผนในการบำรุงรักษาร่วมกันหน่วยงานอื่นได้
เพื่อให้รู้จักบริหารการใช้อะไหล่ การกำหนด Min Max ของอะไหล่ในจำนวนที่เหมาะสม

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
 วงจรชีวิตและการบำรุงรักษาเครื่องจักร
วงจรการพัฒนาสมรรถนะของหน่วยงานบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างและหน้าที่ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ขั้นตอนการทำ Preventive Maintenance
การวางแผน Preventive Maintenance โดยการใช้ค่า MTBF (Mean Time Between Failure)
บทบาทของผู้วางแผนการบำรุงรักษา (Maintenance Planner)
ปัญหาและอุปสรรคในการวางแผนการซ่อมบำรุง
การวิเคราะห์ปัญหาข้อมูลการเสียด้วย 7 Tools
การวิเคราะห์และคัดเลือกงานบำรุงรักษาป้องกัน
การจัดการงานบำรุงรักษาป้องกันตามแผนให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การลดและจัดอะไหล่คงคลังให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การบริหารจัดการงบประมาณบำรุงรักษา

รูปแบบการฝึกอบรม
การบรรยาย 50 %
เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม