หลักสูตรฝึกอบรม การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย

อ. วินัย ดวงใจ

(กรรมการบริหารสมาคมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จังหวัดสมุทรปราการ)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
การปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัย Behavior-based safety (BBS) เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บได้จริง และช่วยส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร เมื่อพนักงานทุกคนเข้าใจหลักการและนำ BBS ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง BBS อาศัยหลักการทางจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่นำไปสู่ความปลอดภัย แต่น่าเสียดายที่หลายองค์กรไม่ได้นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง และไม่ได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพให้มัน หรือไม่ได้ทำให้มันยั่งยืน หรือได้ยินมาว่า BBS ไม่เหมาะกับพฤติกรรมของคนในประเทศของเรา ซึ่งถ้าเรามีความเชื่อเช่นนี้ แล้วเราก็ไม่มีทางที่จะทำให้มันประสบความสำเร็จได้เลย ดังนั้นการทำให้ BBS ประสบความสำเร็จ ผู้ที่รับผิดชอบจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนและต้องมีความเชื่อ ว่า ทำได้ และพยายามทำอย่างต่อเนื่องไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยความ ไม่ย่อท้อ ย่อมนำมาสู่ความสำเร็จในลดอุบัติเหตุในองค์กร
ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่อง BBS อย่างถ่องแท้ รวมถึงเหตุและผลกระบวนการนำไปใช้และการแก้ปัญหา พร้อมการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า BBS ไม่ใช่เพียงแค่การทำการสังเกต (observation) เท่านั้น แต่ทุกคนต้องเปลี่ยน เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม หันมาพูดคุย แนะนำตักเตือน ให้คำปรึกษา กล่าวขอบคุณ ชมเชยกันและกันในองค์กร ปฏิบัติกันบ่อย จนเกิดความเคยชิน และกลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของ BBS ความสำคัญ และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้ทราบเทคนิคในการสื่อสาร การจูงใจ ให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัย
3. เพื่อให้ทราบเทคนิคการสังเกตอย่างมีประสิทธิภาพ การพูดคุยแนะนำ ตักเตือน ชมเชยเพื่อป้องกันการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยซ้ำ
4. เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่เกิดจากทัศนคติความปลอดภัย และจิตสำนึกที่ดี ของบุคคลากรในองค์กร อันเป็นหัวใจหลักของการวางรากฐานของพฤติกรรมความปลอดภัย

หัวข้อการบรรยาย
1. การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน
2. หลักในการทำงานให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (ZERO ACCIDENT)
3. ความหมาย Incident, Near miss, Accident (Workshop 1)
4. BBS คืออะไร ทำไมต้องมี BBS
5. Work shop ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง ภายในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมแนวทางการป้องกัน
6. เทคนิคการสื่อสาร และจูงใจ (Workshop 2)
7. แนวคิดเดิมความปลอดภัยให้ความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆ
8. ABC Model เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรม ตามแนวทาง BBS
9. พูดให้คิด ดีกว่าบอกให้เขาทำ (Workshop 3)
10. เทคนิคการสังเกต (BBSO Process) และควบคุมพฤติกรรมไม่ปลอดภัย และการแก้ปัญหา
11. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ สำหรับการให้ Feedback กล่าวชมเชย ให้คำแนะนำ (Workshop 4)
12. ขั้นตอนการทำโครงการ BBS
     1.1. ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายของแผนก
     1.2. คัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย
     1.3. กำหนดเป้าหมายพฤติกรรมความปลอดภัย
     1.4. วัดผลการสังเกตพฤติกรรมปลอดภัย
     1.5. บันทึกข้อมูล ประมวลผลการสังเกตการณ์
     1.6. วัดผลสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละสัปดาห์หรือเดือน ทำเป็นรายงาน จนครบระยะเวลาที่ตั้งเป้าหมาย
13. ทำ Workshop ทำ BBS แต่ละกลุ่ม พร้อม พรีเซ็น และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
14. สรุปโครงการ BBS

เน้น Work shop โครงการ BBS สื่อสารเข้าใจง่าย ทำได้จริง วัดผลได้ทุกแผนก ว่ามีพฤติกรรมปลอดภัย BBS กี่เปอร์เซ็นต์ ได้ทุกสัปดาห์ และสัปดาห์ไหนไม่ได้ตามเป้าหมาย เราสามารถทราบว่าพนักงานคนไหนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อที่จะได้พูดคุย แนะนำอธิบายถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ให้ปรับเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมปลอดภัย นำมาสรุปเป็นรายเดือน ประชาสัมพันธ์ต่อไป อุบัติเหตุ ต้องเป็น ศูนย์


รูปแบบการอบรม
บรรยาย 40% Workshop 60%

กลุ่มผู้เข้าอบรม
พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม