หลักสูตรฝึกอบรม การลดความสูญเสีย ในการผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า - หลักสูตร 1 วัน
(Waste reduction in process for quality improvement)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การลดความสูญเสีย ในการผลิต เพื่อเพิ่มคุณภาพของสินค้า (Waste reduction in process for quality improvement)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า ทำให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ จากวงล้อของเดมิ่ง Deming Circle ซึ่งประกอบด้วย PDCA: Plan Do Check และ Action จนได้รับความนิยมไปในทุกวงการอุตสาหกรรมและทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเอง นอกจากนี้ปัญหาที่พนักงานต้องพบในแต่ละวันจะยิ่งทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจ ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานให้ง่ายขึ้น ยังมีเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้อีก เช่น ไคเซ็น คิวซีซี และ 7 Wastes ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้จริง และหากบริษัทใดพนักงานให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเหล่านี้ ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น
   หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบ และเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหา กับพนักงานในระดับปฏิบัติการและ ฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิต อย่างเป็นระบบ
เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพกับตัวสินค้าได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม
การมองปัญหาของแต่ละบุคคล
ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสาร 
ความเป็นมาและความหมายของเครื่องมือคุณภาพ 
วิธีการแก้ปัญหาด้วย ไคเซ็น
การแก้ไขปัญหา 7 Wastes ในเวลาการทำงาน
การแก้ปัญหาร่วมกันด้วยกลุ่มคุณภาพ QCC 
เรียนรู้การใช้เครื่องมือ QC 7 Tools ในการวิเคราะห์รากเหง้าปัญหา 
แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานและสินค้า 
ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มคุณภาพ Small group activity


กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน 
พนักงาน 
ผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการของ PDCA ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกเรื่องคุณภาพและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีสำนึกการรักองค์กรมากขึ้น

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม