หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน - หลักสูตร 1 วัน
(Key Performance Indicators)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
คำกล่าวที่ว่า “หากท่านไม่สามารถที่จะวัดและประเมินสิ่งใดได้ ท่านก็จะไม่สามารถปรับปรุงหรือบริหารจัดการสิ่งนั้นได้” เป็นความจริงที่ไม่สามารถลบล้างได้ การวัดและการประเมินองค์กร หน่วยงานเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของทุกๆหน่วยงานและองค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรจะต้องมั่นใจว่าตัวชี้วัดต่างๆที่ใช้จะสนับสนุนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างแท้จริง ตัวชี้วัดขององค์กรมีความเป็นเอกลักษณ์และสะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละองค์กร ซึ่งไม่สามารถที่จะลอกเลียนตัวชี้วัดขององค์กรหนึ่ง มาใช้กับอีกองค์กรหนึ่งได้อย่างสมบูรณ์ ตัวชี้วัดมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ขององค์กร หรืออาจกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ขององค์กรเป็นสิ่งที่กำหนดระบบการประเมินผลการดำเนินงานและตัวชี้วัดขององค์กร โดยระบบการประเมินผลที่มีประสิทธิผลสูงนั้นจะช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมบริหาร กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กร ได้อย่างสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ได้ออกแบบไว้ด้วย 
KPIs หรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งเครื่องมือหนึ่งในปัจจุบันของการบริหารจัดการสมัยใหม่ ซึ่งช่วยทั้งในการแปลงกลยุทธ์ ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นมาตรวัดที่แสดงถึงความก้าวหน้า ปัญหาและความผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญญาณให้กับผู้บริหารขององค์กรในระดับต่างๆได้ทราบถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของกลยุทธ์ ยุทธวิธีและการปฏิบัติงานของหน่วยงานในความรับผิดชอบของตน เพื่อจะได้ตอบสนองปรับตัวเปลี่ยนแปลงแผนงานและวิธีการได้อย่างเหมาะสมต่อไป 
จากผลการวิจัยจำนวนหนึ่งขององค์กรวิจัยทางธุรกิจเกี่ยวกับความสำเร็จและล้มเหลวของกลยุทธ์ พบว่าปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการดำเนินกลยุทธ์ขององค์กร คือ การมีระบบการบริหารจัดการผลการดำเนินงานและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ดีมากน้อยเพียงใด และได้สรุปว่าองค์กรควรทุ่มเทให้ความสำคัญกับการออกแบบระบบการประเมินวัดผลการดำเนินงาน ให้เหมาะสมกับบริบททางธุรกิจและกลยุทธ์ขององค์กร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม 
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหรือ KPIs ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม และถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดและตรวจติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่างๆภายในองค์กร เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คาดหวังหรือสิ่งที่เป็นภารกิจ และหน้าที่หลักขององค์กรหรือหน่วยงาน (Key Results Areas) เมื่อใดก็ตามที่องค์กรได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่ต้องการบรรลุไว้อย่างชัดเจนแล้ว สิ่งต่างๆที่จะถูกกำหนดขึ้นตามมาเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ อาทิ พันธกิจ คุณค่าที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ เป้าหมายขององค์กร กลยุทธ์และแผนงานริเริ่มต่างๆ ทั้งหมดล้วนต้องพึ่งพาระบบการวัดและประเมินผลสำเร็จที่เป็นระบบที่สามารถแสดงถึงการเชื่อมโยงของความสำเร็จ และเป้าหมายของการดำเนินงาน ในแต่ละส่วนขององค์กร เข้าด้วยกันอย่างเป็นกระบวนการซึ่งก็อยู่ในรูปของตัวชี้วัดหรือ KPIs 
โดยหลักการแล้วตัวชี้วัดหรือ KPIs คือสารสนเทศที่ได้รับการประมวลขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลที่เป็นตัวแทนหรือบ่งระบุได้ถึงคุณค่า หรือสิ่งที่สำคัญที่ต้องการได้รับหรือบรรลุของบุคคล หน่วยงานและองค์กรซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหมายถึงผลลัพธ์ที่คาดหวัง ซึ่งบุคคล หน่วยงานและองค์กรสามารถใช้สำหรับการเฝ้าติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความก้าวหน้าของการกระทำใดๆที่มีผลต่อการบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจ กระทำ และแทรกแซงได้อย่างเหมาะสมเพื่อส่งผลให้มีการเคลื่อนไปในทิศทางที่พึงปรารถนา 
อย่างไรก็ตามการที่องค์กรจะมีระบบการประเมินผลหรือตัวชี้วัดที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวคิด หลักการและเทคนิคในการออกแบบจัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถวางแผนออกแบบ และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผล การฝึกอบรมเชิงปรึกษาแนะนำเพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะแก่บุคลากรซึ่งเป็นผู้บริหารในระดับต่างๆ ทั้งในส่วนงานหลักและสนับสนุนให้เข้าใจถึงแนวคิด หลักการจะช่วยให้สามารถดำเนินโครงการจัดทำและใช้ KPIs ภายในองค์กรได้อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างแท้จริงน

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการระบบการบริหารจัดการผลการดำเนินงานสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรและเข้าใจเทคนิคขั้นตอนในการออกแบบจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการและเทคนิคการออกแบบจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานไปประยุกต์ใช้สำหรับองค์กร ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในการใช้ติดตามและขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานตามภารกิจของฝ่ายงานต่างๆ
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสฝึกทักษะผ่านกรณีศึกษาและตัวอย่างการออกแบบจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
เพื่อให้กรอบแนวทางสำหรับการขยายผลไปสู่การจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับบุคคลหรือ Individual Performance Appraisal System ที่สามารถประเมินผลได้อย่างเป็นธรรมและสะท้อนผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างแม่นยำ ถูกต้องตามความเป็นจริง


รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Introduction to Modern Performance Management
กรอบแนวคิดของระบบการบริหารผลการดำเนินงานสมัยใหม่
       ความสำคัญของการประเมินผลการดำเนินงานต่อความสำเร็จขององค์กร
       ระเบียบวิธีการออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เป็นระบบ
       การออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategy Based KPIs)
       การออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเชิงกระบวนการ (Process Based KPIs)
จากกลยุทธ์สู่ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของฝ่ายงาน
       การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วยแผนที่กลยุทธ์และ Balanced Scorecard
       การเชื่อมโยงและกระจายกลยุทธ์สู่ฝ่ายงานเพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ระดับฝ่ายงาน
       Workshop 1 : กรณีศึกษาการออกแบบระบบตัวชี้วัดที่อิงกลยุทธ์องค์กร

Essential of KPIs Design
คุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
       โครงสร้างของระบบการประเมินผลการดำเนินงานที่ดี
       คุณสมบัติของตัวชี้วัดที่ดี
การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับฝ่ายงานตามพันธกิจงาน (Key Results Area)
       การวิเคราะห์ขอบเขตงานและกระบวนการ
การเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดในเชิงระบบของกระบวนการธุรกิจ
       มุมมองแบบโซ่คุณค่าเชิงกระบวนการ
       ตัวชี้วัดนำและตัวชี้วัดตาม
การกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัด
การกำหนดระดับความสำคัญของตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผล
แนวคิดสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานระดับบุคคล

       โครงสร้างของตัวชี้วัดระดับบุคคล
       เทคนิคการวิเคราะห์งาน
       เทคนิคการวิเคราะห์ความรู้ ทักษะความสามารถเฉพาะตำแหน่งงาน
       การใช้ประโยชน์ KPIs ในการบริหารธุรกิจและบริหารทรัพยากรบุคคล
       Workshop 2 : กรณีศึกษาตัวอย่างการจัดทำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานรายบุคคล

แนวทางการฝึกอบรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที 
       การสร้างและกระตุ้นการสื่อสาร 2 ทาง เช่น
            - การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์และความคาดหวังจากการอบรม
            - คำสำคัญต่างๆ (Key Words)
            - การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
       การประเมินผลตนเองหลังการอบรม
            - ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
            - ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ
       Workshop ประเด็นสำคัญที่สามารถฝึกทักษะได้
            - กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
            - นำเทคนิค เครื่องมือและแบบฟอร์มมาตรฐานไปทดลองใช้
            - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
       Assignment เพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม
            - หัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของตนเอง 
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม