หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถบุคลากร อย่างเป็นระบบ - หลักสูตร 2 วัน
(Strategic Planning and Management)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถบุคลากร อย่างเป็นระบบ (Strategic Planning and Management)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   ความคาดหวังสูงสุดประการหนึ่งของผู้บริหารองค์กรธุรกิจต่างๆ คือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีผลกำไรต่อเนื่อง มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับชั้นนำของตลาด และมีการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน แล้วองค์ประกอบอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จพื้นฐานสำคัญซึ่งสนับสนุนให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ได้ ประเด็นคำถามนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจ เจ้าของกิจการและนักบริหารจัดการมาอย่างยาวนานแล้ว ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านการบริหารจัดการได้ศึกษาวิจัยจนพบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญขององค์กรใดๆประกอบด้วยส่วนหลักต่างๆ 3 ส่วน ได้แก่ กระบวนการ (Process) วิทยาการ (Technology) และทรัพยากรมนุษย์ (People) ที่ผสานเข้าด้วยกันเพื่อการสร้างสรรค์และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าขององค์กร
   องค์กรใดที่ครอบครององค์ประกอบทั้ง 3 ที่มีความเป็นเลิศและสามารถผสานองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสอดประสานแล้ว ก็จะสามารถพัฒนาสินค้าและบริการและการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้ดีกว่าองค์กรอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า และหวังได้ถึงความภักดีของลูกค้า ส่วนแบ่งตลาด ผลกำไร การเป็นองค์กรชั้นแนวหน้าหรือผู้นำตลาด และการเติบโตขององค์กรอย่างต่อเนื่องยั่งยืน
   เมื่อตรรกะเป็นเช่นนี้ ประเด็นคำถามที่ตามมาคือ แล้วองค์กรจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้องค์กรมีความพร้อมทั้งในด้านกระบวนการ เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศ และจะต้องปฏิบัติการอย่างไรต่อไป จะเริ่มจากองค์ประกอบใดก่อนหรือจะดำเนินการไปพร้อมๆกัน การค้นหาคำตอบสำหรับประเด็นดังกล่าวนี้ สามารถใช้หลักคิดเชิงระบบ (System thinking) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ด้วยหลักคิดแบบเหตุและผล พบว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทกล่าวคือ องค์ประกอบที่เป็นผู้กำหนด(ทรัพยากรมนุษย์) และองค์ประกอบที่เป็นผู้ถูกกำหนด(กระบวนการและเทคโนโลยี) เนื่องจากองค์ประกอบที่มีความสามารถในการคิดและพัฒนาได้ด้วยตัวเองมีเพียงองค์ประกอบเดียวเท่านั้นนั่นคือ ทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จะสร้างให้เกิดกระบวนการที่มีความสามารถสูง(ประสิทธิผล) และสร้างหรือคัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประโยชน์(ประสิทธิภาพ)
   การมีบุคลากรที่ยอดเยี่ยมจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการบรรลุความยั่งยืนขององค์กร สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ แล้วเราจะสามารถมีบุคลากรที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไร ในด้านกลยุทธ์แล้วมี 2 ทางเลือกที่จะทำให้เราสามารถได้มาซึ่งบุคลากรที่ยอดเยี่ยม คือ การสร้างและการซื้อ (Build and Buy) ซึ่งแน่นอนว่าการซื้อเป็นกลยุทธ์ในระยะสั้นที่ต้องการหวังผลลัพธ์ทางธุรกิจบางประการอย่างรวดเร็ว (ซึ่งไม่ใช่กรณีปกติ) อีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิผลในระยะยาวคือการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทักษะเหมาะสมกับงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ปัญหาหลักประการหนึ่งที่หลายองค์กรต่างประสบในการเลือกใช้กลยุทธ์สร้างและพัฒนาบุคลากรก็คือ จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะความสามารถให้เหมาะสมและประสบความสำเร็จได้อย่างไรด้วยการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรในสายงานต่างๆในตำแหน่งงานระดับต่างๆควรได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาสิ่งใดบ้างจึงจะเหมาะสมและสอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ คำถามเหล่านี้จะได้รับคำตอบและทางออกที่กระจ่างชัดด้วยสิ่งที่เรียกว่า โมเดลสมรรถนะความสามารถ (Competency Model) เมื่อองค์กรมีโมเดลสมรรถนะความสามารถสำหรับบุคลากรทุกตำแหน่งงานแล้วการจัดสรรคนให้เหมาะกับงาน (Put the right man on the right job) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสมเฉพาะรายบุคคลเพื่อกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งของบุคลากรแต่ละคนให้เหมาะกับงานที่รับผิดชอบทั้งปัจจุบันและอนาคตก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป การใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมก็จะมีประสิทธิภาพสูง และยังเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่องค์กรคาดหวังไว้อีกด้วย การสรรหาว่าจ้างบุคลากรก็มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น (Recruit and hiring the best that fit the job) เหล่านี้คือประโยชน์ส่วนหนึ่งที่องค์กรจะได้รับจากการมีโมเดลสมรรถนะความสามารถของตำแหน่งงาน
   หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่นำเสนอนี้ วิทยากรที่ปรึกษาได้ออกแบบมาเพื่อการให้ความรู้และสอนแนะการวิเคราะห์จัดทำอย่างเป็นขั้นตอน (Step by Step) ตามระเบียบวิธีการ (Methodology) ซึ่งได้ใช้ในโครงการให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถและแผนการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development Plan) ให้กับองค์กรชั้นนำต่างๆหลายโครงการซึ่งเป็นองค์กรทั้งในภาคธุรกิจเอกชนและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมสามารถออกแบบและจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถ (Competency Model) ได้อย่างเป็นระบบและถูกต้อง

วัตถุประสงค์
ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสมรรถนะความสามารถ (Competency) ของบุคลากร ความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นโมเดลสมรรถนะความสามารถของตำแหน่งงาน
สามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคสำหรับวิเคราะห์และจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถของตำแหน่งงานได้อย่างเป็นระบบ
ได้มีโอกาสทดลองจัดทำโมเดลสมรรถนะความสามารถของตำแหน่งงานต่างๆภายในหน่วยงานหรือส่วนงานที่ผู้เข้าอบรมปฏิบัติงานอยู่ เช่น หน่วยงานขายและตลาด เป็นต้น
มีความรู้ความเข้าใจการประยุกต์ใช้โมเดลสมรรถนะความสามารถ เช่น ประยุกต์เพื่อการสรรหาคัดเลือกบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาฝึกอบรม การบริหารผลตอบแทน เป็นต้น
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I
กรอบแนวคิดการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล
ความหมายของปัญหาและวิธีการพิจารณาปัญหา
       ความแตกต่างระหว่างปัญหา สาเหตุ และอาการ
       ปัญหาเชิงเดี่ยวและปัญหาเชิงซ้อน
กระบวนทัศน์เชิงระบบ
       กระบวนทัศน์ของโซ่อุปทาน
       กระบวนทัศน์ธุรกิจแบบองค์รวม
วิธีการคิดแบบระบบ
       ความหมายและความแตกต่างระหว่าง SystemSystemic และ Systematic
       ระบบแบบเปิดและระบบแบบปิด
       การพิจารณาปัญหาด้วยวิธีการคิดแบบระบบ
       Workshop : กรณีศึกษาการพิจารณาปัญหาแบบขยายขอบเขต
       การวิเคราะห์บริบทอุตสาหกรรม
       การวิเคราะห์โซ่คุณค่าธุรกิจ
       การตรวจสอบความรู้เชิงยุทธศาสตร์ขององค์กร
       การวิเคราะห์ Business Success Factors
       การวิเคราะห์ Customer Value
       สรุป Core Competency ขององค์กร
การระบุสมรรถนะความสามารถในงาน (Job Competency)
       แนะนำเกี่ยวกับ Managerial Competency และ Functional (Technical) Competency
       การกำหนดสมรรถนะความสามารถในงานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะงาน (Job Description Analysis)
       การกำหนดสมรรถนะความสามารถในงานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การปฏิบัติงาน (Work Study and Process Analysis)
       การกำหนดสมรรถนะความสามารถในงานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ผลงาน (Performance and Results Analysis)
       Workshop : การออกแบบกำหนดสมรรถนะความสามารถในงานสำหรับตำแหน่งงาน ตัวอย่างในสายงานต่างๆ ได้แก่
       การตลาดและการขาย
       จัดหาจัดซื้อ
       เทคโนโลยีสารสนเทศ
       บัญชีและการเงิน
       ทรัพยากรบุคคล

Day II
การระบุสมรรถนะความสามารถเชิงพฤติกรรมในงาน (Behavior) ด้วยการวิเคราะห์ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมองค์กร
การกำหนดระดับสมรรถนะความสามารถ
       แนวคิด ประโยชน์และเทคนิคการแบ่งระดับ
       Workshop : การระดมสมองวิเคราะห์กำหนดระดับและนิยามหรือคำอธิบายคุณลักษณะ ประจำระดับ
การจัดทำรายละเอียดประกอบโมเดลสมรรถนะความสามารถ
       การกำหนดน้ำหนักของแต่ละสมรรถนะ
       การกำหนดระดับความคาดหวังของแต่ละสมรรถนะ
เทคนิคการประเมินสมรรถนะความสามารถของบุคลากร
       Workshop : การทดลองกำหนดระดับคาดหวังและประเมินสมรรถนะความสามารถของ บุคลากรตัวอย่าง
การประยุกต์และนำ Competency ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร
       การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน
       การประเมินผลการปฏิบัติงาน
       การพัฒนาและฝึกอบรม
       การสืบทอดตำแหน่ง
       การบริหารผลตอบแทน
       แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถามตอบ

   หมายเหตุ บริษัทจัดเตรียมเอกสารแสดงโครงสร้างองค์กร คำบรรยายลักษณะงาน (JD) และกระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักๆของตำแหน่งงานตัวอย่าง (การตลาดและขาย จัดหาจัดซื้อ เทคโนโลยีสารสนเทศ บัญชีการเงิน และบริหารทรัพยากรบุคคล) ไว้ประกอบการจัดทำ Workshop ด้วย

แนวทางการฝึกอบรม
 การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที 
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง 
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ 
เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี ตัวอย่าง และการใช้กรณีศึกษาจากกระบวนการดำเนินงานจริงขององค์กร เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ขยายผลในงานของตนต่อไป

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม