หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบตัวชี้วัด Smart KPI เพื่อวัดผลงาน - หลักสูตร 2 วัน
(How to...design SMART KPIs)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การออกแบบตัวชี้วัด Smart KPI เพื่อวัดผลงาน (How to...design SMART KPIs)

อ. พงศา บุญชัยวัฒนโชติ

(วิทยากร อาจารย์ และที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคล)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
KPI (Key Performance Indicators) หรือดัชนีชี้วัดผลงาน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้ปฏิบัติไป และสามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาแผนงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หรือเป้าหมายขององค์กรได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์กรจะต้องมีความเข้าใจ และถ้าสามารถนำ KPI ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ก็จะทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างมาก แต่ปัญหาและอุปสรรคอย่างหนึ่งที่องค์กรมักจะไม่ประสบผลสำเร็จในการนำระบบ KPI มาใช้งานก็คือ การตั้ง KPI ไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างในองค์กร
หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ทราบถึงเทคนิคในการกำหนด “ตัวชี้วัดความสำเร็จ” ของผลงานหรือ Key Performance Indicator (KPI) ที่องค์กรคาดหวัง และแนวทางการนำ KPI ในงานดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่องค์กรคาดหวังได้ในที่สุด

วัตถุประสงค์
เพื่อให้เข้าใจหลักการและความจำเป็นในการใช้ ดัชนีชี้วัด
เพื่อเข้าใจขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการสร้างและพัฒนาดัชนีชี้วัด
เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนด KPIs ให้เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเองได้
เพื่อทราบเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ลักษณะงาน ความคาดหวังขององค์กรเพื่อสร้างดัชนีชี้วัด
เพื่อรู้ถึงแนวทางในการนำ KPI มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้

 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
แนวคิดและหลักการบริหารผลการปฏิบัติงานองค์กรสมัยใหม่
       หลักการวัดผลสำเร็จขององค์กร
       การวางแผนและบริหารแผนกลยุทธ์
       เครื่อมือและการวัดผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์องค์กรและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกัน
       การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
       การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรด้วย SWOT Analysis และ Five Force Model
       การกำหนดกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT
       แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับหน่วยงาน
       แนวทางการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
จากกลยุทธ์สู่ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของฝ่ายงาน
       การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงาน
       ความหมายและความสำคัญของ Objective, Balance Scorecard หรือ Score Card อื่น ๆ
       การจัดทำแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)
       การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติงานด้วยแผนที่กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และ ตัวชี้วัด
       การเชื่อมโยงและกระจายกลยุทธ์สู่ฝ่ายงานเพื่อกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ระดับฝ่ายงาน

วันที่ 2
แนวคิดและหลักการกำหนดเป้าหมาย และจัดทำดัชนีชี้วัด KPIs
       การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของหน่วยงาน/องค์กร
       ลักษณะและประเภทของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
       ลักษณะของ KPI ที่ดี (SMART KPI) และเทคนิคการตั้งค่าเป้าหมาย การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม
       เทคนิคการจัดทำ KPIs ให้เป็นธรรมและทำให้เกิดการยอมรับของพนักงาน
       กระบวนการออกแบบและการกำหนด KPI
การจัดทำ KPIที่มาจากแผนธุรกิจและองค์กร สู่แผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
กระบวนการวิเคราะห์และจัดทำ KPI ของหน่วยงานและตามตำแหน่งหน้าที่หรืองานประจำ
แนะนำดัชนีชี้วัด KPIs ที่สำคัญของแต่ละหน่วยงานในองค์กร ประโยชน์ และการนำไปใช้งาน
ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขปัญหาจากการใช้ KPI
การนำ KPI ไปเยื่องโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
       ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน
       การกำหนดระดับความสำคัญของตัวชี้วัดเพื่อการประเมินผล
       การจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี KPI ของหน่วยงานและรายบุคคล
       ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี KPI

ตัวอย่าง Work Shop / กรณีศึกษา
ฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และ ระดับฝ่ายงาน
ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map)
การออกแบบและกำหนด KPI ระดับฝ่ายงาน
การวิเคราะห์และออกแบบ KPI จากงานตามตำแหน่งหน้าที่หรืองานประจำ หรือการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล

แนวทางการฝึกอบรม

การบรรยายอย่างมีส่วนร่วม (Participative Techniques)
อภิปรายกลุ่ม
Case Study และ Workshop

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม