หลักสูตรฝึกอบรม การเขียนคู่มือปฏิบัติงานจากความรู้ - หลักสูตร 1 วัน
(Knowledge Management Manual)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / Advance Management and Productivity / หลักสูตรฝึกอบรม การเขียนคู่มือปฏิบัติงานจากความรู้ (Knowledge Management Manual)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Work Manual) ที่ดี ควรเป็นคู่มือที่เขียนโดยผู้มีความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง เป็นกระบวนการแปลงความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่เป็นความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล ออกมาเป็นคู่มือปฏิบัติงาน (work Manual) ที่ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาสะสมประสบการณ์เทียบเท่าผู้เขียนทำให้ลดระยะเวลาในการเรียนรู้ และง่ายต่อการปฏิบัติงานด้วย
การสร้างกรอบความคิด (Mindset) ที่ดีในการนำความรู้ของตัวเอง ออกมาจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติงานที่มาจากความรู้ (Knowledge Management Manual) จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ผู้จัดการและหัวหน้างานมีนั้น จะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นองค์ความรู้ผ่านกรอบความคิดที่ดีของผู้จัดทำ
หัวใจสำคัญในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานจากความรู้ มีองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ เช่น...
       การเตรียมความรู้และประสบการณ์ของตัวเองให้พร้อม
       การออกแบบรูปแบบคู่มือปฏิบัติงานตามคุณลักษณะงานของตัวเอง
       กำหนดสารบัญที่ครอบคลุมเนื้อหาให้ชัดเจน
       เทคนิคการเขียนคู่มือให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
       เทคนิคการจัดทำเนื้อหาประเภทต่างๆ ในคู่มือ
       การดำเนินการให้คู่มือเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานให้มากที่สุด
(เป็นต้น)

วัตถุประสงค์
เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ของตัวเอง เขียนคู่มือปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ของตัวเองได้ทันที
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจคุณลักษณะของคู่มือปฏิบัติงานที่ดี จะได้นำไปออกแบบคู่มือของตัวเอง ที่สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะงานของตัวเอง
เพื่อให้ผู้เรียนมีเทคนิคต่างๆในการเขียนคู่มือที่เป็นสไตล์ของตัวเอง เกิดความเชื่อมั่นและสร้างคู่มือที่ดีให้องค์กร
เพื่อทำให้ผู้เรียนมีกรอบความคิด (Mindset) ในการสร้างคู่มือที่ดี สามารถจัดทำคู่มือของตัวเองได้ทันที

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
การเรียนรู้และเข้าใจคู่มือการปฏิบัติงานจากความรู้เฉพาะตัว
       ความหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
       องค์ประกอบสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
       เรื่องสำคัญที่ควรมีอยู่ในคู่มือปฏิบัติงาน
       การจัดการความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของตัวเอง
       Workshop : กำหนดขอบเขตสำคัญของคู่มือปฏิบัติงาน
เทคนิคการเขียนคู่มือปฏิบัติงานที่นำมาจากความรู้ฝังลึก
       คำถามเตรียมตัวสำหรับการเขียนคู่มือ
       เทคนิคการแปลงความรู้ของตัวเอง เชื่อมโยงกับคู่มือ
       กำหนดเนื้อหาที่ควรมีในคู่มือ
       แหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาประกอบในคู่มือ
       การออกแบบรูปแบบคู่มือปฏิบัติงาน
       กิจกรรม : การออกแบบคู่มือปฏิบัติงานของตัวเอง
เทคนิคการจัดทำเนื้อหาประเภทต่างๆ ในคู่มือ
       การบรรยายเนื้อหาและความรู้ที่เกี่ยวข้อง
       การสร้างโมเดลและกระบวนการทำงานให้โดนใจ
       การใช้รูปภาพประกอบในคู่มือให้เห็นชัดเจน
       การเลือกใช้ตารางให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหา
       การใช้กรณีศึกษาสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
       กิจกรรม : กำหนดประเภทเนื้อหาที่จะมีในคู่มือของตัวเอง
การดำเนินการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้สมบูรณ์
       การใช้สารบัญกำหนดขอบเขตเนื้อหา
       การเขียนบทสรุปอย่างย่อให้ครอบคลุมเนื้อหา
       การจัดเรียงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
       การเสริมแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
       Workshop : การปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงานให้สมบูรณ์
การบ้าน : เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง

กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)


ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
 พนักงานปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
ผู้บริหาร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม

วิทยากรที่ ได้การรับรองจากสถาบัน สามารถสอนหลักสูตรหมวดนี้ได้

อ. ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant

อ. วีรพันธ์ เกษสังข์

Strategic and Management Coaching & Consulting / Professional Trainer

รศ.ดร.ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร

กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ. เอกกร บุญธนะสิน

NLP โค้ช และ เทรนเนอร์

อ. ณัฏฐา วงศ์รัตนพิบูลย์

Coach , ที่ปรึกษา และ วิทยากร ประจำสถาบัน เอ็นเทรนนิ่ง กลุ่มธุรกิจการฝึกอบรมและที่ปรึกษา

อ. ชวน ทองไทยสิน

วิทยากรสถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

อ. ณัฐพงษ์ สิริกอบกุล

วิทยากรอิสระ ด้านการพัฒนาองค์การ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาผู้นำ

ดร.วันทนา ปทุมอนันต์

ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตวิทยาการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และองค์กร