หลักสูตรฝึกอบรม การเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสมกับการทำงาน - หลักสูตร 1 วัน
(Effectiveness of Productivity tools selection)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสมกับการทำงาน (Effectiveness of Productivity tools selection)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   ปัจจุบันการแข่งขันด้านการผลิตที่มีความรุนแรง ทำให้หลายองค์กรหันมาใช้เครื่องมือหรือวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่หลากหลาย ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและ สร้างเป็นวัฒนาธรรมในการพัฒนาในองค์กร
   โดยการเลือกใช้เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มผลผลิตที่หลากหลายนี้ ทำให้บางองค์กรยังมีความสับสนว่าจะใช้เครื่องมือหรือวิธีการใดที่จะนำมาใช้ในองค์กรดี หลักสูตรการอบรมนี้จึงได้นำเอาเครื่องมือต่างๆ มาอธิบายและบ่งชี้ถึง ข้อดี ข้อเสีย และการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิผลที่ยอดเยี่ยมในการทำงาน เช่น 5ส , ไคเซ็น , คิวซีซี , QC 7TOOLS, 7 WASTE, 3MU และ TPM เป็นต้น 
   การเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เกิดประสิทธิภาพ จึงต้องเข้าใจถึงลักษณะที่แตกต่าง ของแต่ละเครื่องมือก่อน ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อให้ทุกคนที่ร่วมทำกิจกรรม ได้เกิดความร่วมมือและมีความเข้าใจถึงลักษณะของเครื่องมือเหล่านั้น จึงจะทำให้การทำงานดีขึ้นได้และองค์กรได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือคุณภาพที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการทำงานได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการผลิต 
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการลดความสูญเสียในระบบการผลิต 
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับการทำงานของตน

เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม
1. แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 
2. การมองปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา 
3. รู้จักกับเครื่องมือการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตแบบต่างๆ 
      3.1 การประยุกต์ใช้ 5ส.
      3.2 การปรับปรุงงานด้วย Kaizen 
      3.3 การทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
      3.4 การใช้งาน QC 7 Tools 
      3.5 รู้จักกับ 7 Waste 
      3.6 การลดต้นทุนการผลิตด้วยหลัก 3 MU 
      3.7 การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) 
4. การเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมกับการทำงานแต่ละแบบ 
5. การประยุกต์ใช้ร่วมกันของเครื่องมือต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน
 พนักงาน
 ผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 50 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 20 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มผลผลิตแบบต่างๆ 
2. ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพ ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
3. สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานและขยายผลภายในองค์กรต่อไป 
4. ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุง เช่น PCDA,Kaizen, QC7Tools ร่วมกับ กิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม