หลักสูตรฝึกอบรม งบการเงินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์งบการเงิน - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม งบการเงินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์งบการเงิน

ผศ.ดร.สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 กรรมการสภาวิชาการ)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางบัญชีที่จัดทำขึ้น เมื่อครบรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะ และผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา งบการเงินเป็นข้อมูลที่แสดงรายละเอียด ได้แก งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ รวมทั้งหมายเหตุประกอบงบการเงิน และอื่น ๆ ดังนั้น งบการเงินจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญยิ่งที่ช่วยให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทำความรู้จักกับบริษัทได้มากขึ้น สามารถทราบถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกิจการได้ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุนในกิจการได้เป็นอย่างดี 
   อย่างไรก็ดี แม้ว่างบการเงินจะมีประโยชน์มาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มากเช่นเดียวกัน กล่าวคือ งบการเงินเกิดจากการนำข้อมูลทางการเงินที่เกิดจากผลงานที่เกิดขึ้นและผ่านมาแล้ว ซึ่งไม่อาจทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้เสมอไป หากผู้ใช้งบการเงินพิจารณาแต่เพียงข้อมูลในอดีต อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ หากจะขจัดข้อจำกัดดังกล่าว ผู้บริหารจึงควรศึกษารายงานการวิเคราะห์งบกรเงิน (Financial Statement Analysis) เพื่อทราบถึงฐานะและความมั่นคงของกิจการโดยการวิเคราะห์ถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานว่า มีความสามารถในการบริหารงานและการดำเนินธุรกิจอย่างไร สามารถใช้แนวทางการสร้างผลกำไรในอดีตไปสู่อนาคตได้เพียงใด ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร สภาพคล่องของกิจการ และประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์
   สรุปได้ว่า งบการเงินมีประโยชน์ต่อ ผู้บริหารในการใช้ข้อมูลในงบการเงินมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินในการใช้งบการเงินในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยก่อนการตัดสินใจให้กู้ บริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณชนทุกไตรมาส และ ทุกปีบัญชี โดยนักลงทุนจะนำข้อมูลในงบการเงินมาวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ลักษณะ ความสำคัญ เทคนิคการจัดทำงบการเงิน เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
2. เพื่อฝึกทักษะให้แก่ผู้เข้าอบรมสามารถวิเคราะห์งบการเงิน อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลจากงบการเงินเพื่อช่วยในการวางแผน และตัดสินใจเชิงธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจถึง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
1. ลักษณะของงบการเงินที่ผู้บริหารต้องการ 
2. ความสำคัญของข้อมูลทางบัญชีต่อการบริหารธุรกิจ 
3. เทคนิคการจัดทำงบการเงินที่สามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
   3.1 งบแสดงฐานะการเงิน - งบกาไรขาดทุน (Income Statement) 
   3.2 งบกำไรสะสม - งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) 
   3.3 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 
4. เทคนิคการใช้ข้อมูลในงบการเงิน และนำงบการเงินเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสามารถ ในการบริหารงานและการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล
   4.1 การจัดงบการเงินเปรียบเทียบ 
        1. วิเคราะห์แนวนอน (Horizontal Analysis) 
        2. การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)
   4.2 การนำข้อมูลจากงบการเงินมาวิเคราะห์อัตราสวนทางการเงิน 
        (1) อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratios) 
        (2) อัตราส่วนความสามารถในการกำไร (Profitability Ratios) 
        (3) อัตราส่วนโครงสร้างเงินทุน (Leverage Ratios) 
        (4) อัตราส่วนกิจกรรม (Activity Ratios) 
5. การอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากงบการเงินเพื่อช่วยในการวางแผน และตัดสินใจเชิงธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 
6. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ

แนวทางการฝึกอบรม
การบรรยาย 5 ชั่วโมง/ฝึกปฏิบัติ 2 ชั่วโมง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม