หลักสูตรฝึกอบรม ยกระดับผลการดำเนินงานด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง - หลักสูตร 3 วัน
(Boosting Business Performance with Continuous Improvement)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ยกระดับผลการดำเนินงานด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Boosting Business Performance with Continuous Improvement)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
“หลักการและเทคนิคธรรมดาที่บุคลากรทุกระดับขององค์การสามารถเรียนรู้ได้ 
และยังสามารถประยุกต์สู่งานของตนได้อย่างเป็นรูปธรรมจริง 
เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีกว่า ต้นทุนลดลง กำไรมากขึ้น 
และลูกค้าพึงพอใจต่อสินค้าและบริการขององค์การมากยิ่งขึ้น”

   ดรักเกอร์เคยกล่าวไว้ว่ากิจกรรมหลักของธุรกิจใดๆมีเพียง 2 อย่างเท่านั้นคือ การตลาดและการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเมื่อพิจารณาตามความคิดเห็นของผมแล้วกิจกรรมทั้งสองส่วนเป็นองค์ประกอบหลักของโซ่คุณค่าของกิจการทุกประเภทจะแตกต่างกันก็เพียงการให้ความสำคัญกับกิจกรรมทั้งสองเท่านั้น อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของกิจกรรมทั้งสองก็คือการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าขององค์การ ผลการดำเนินงานและความสามารถในการแข่งขันของแต่ละองค์การจึงถูกกำหนดจากความสามารถในการดำเนินกิจกรรมทั้งสอง คุณค่าของสินค้าและบริการซึ่งในการรับรู้ของลูกค้าหมายถึง สินค้าและบริการที่มีคุณลักษณะ “ถูก เร็ว ดี” เป็นข้อกำหนดพื้นฐาน ที่ทำให้ลูกค้าพิจารณาใช้สินค้าและบริการขององค์การ ซึ่งนำมาซึ่งรายได้และผลกำไรให้กับองค์การ แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นความสำเร็จแห่งอดีตไปในทันทีเมื่อมีองค์การอื่นซึ่งสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ด้วยคุณลักษณะ “ถูกกว่า เร็วกว่าและดีกว่า” 
   การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือ Continuous Improvement (CI) เป็นแนวคิดธรรมดาแต่เป็นรากฐานแนวคิดที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในกรอบหลักการการบริหารองค์การของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการปลูกฝัง ส่งเสริมในบุคลากรทุกระดับขององค์การผ่านการฝึกฝนอย่างมุ่งมั่น ทําให้บุคลากรมีความรู้สึกรับผิดชอบในการที่จะทําให้ทุกอย่างดําเนินไปโดยราบรื่นเท่าที่จะสามารถทําได้ด้วยการปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในชีวิตประจําวันหรือการทํางาน และความพยายามต่างๆผ่านกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องยังให้ผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้และวัดประโยชน์ที่มีต่องานและผลลัพธ์ทางธุรกิจได้จริง พร้อมทั้งยังสนับสนุนให้ทักษะความสามารถของบุคลากรเพิ่มพูนขึ้นอีกด้วย นี่เป็นจุดแข็งที่ทําให้แนวคิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องได้รับความนิยมอย่างมากในองค์การที่ใช้หลักการบริหารแบบญี่ปุ่น ดังเช่นที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตโยต้ากล่าวไว้ว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ช่วยให้โตโยต้าสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เป็นเพียงเทคนิคแก้ไขปัญหาหรือเทคนิคสำหรับพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเป็นการเรียนรู้ที่เป็นระบบอย่างยิ่งของบุคลากรในทุกระดับขององค์การ เพราะเชื่อมั่นว่าความสามารถในการแข่งขันและหัวใจของความสำเร็จต่างๆนั้นมีรากฐานมาจากบุคลากรที่มีความสามารถในการคิดปรับปรุงตลอดเวลาและนำสิ่งที่คิดไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทำไมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงสำคัญ?
   ตามหลักการของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำมาซึ่งความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ ดังนั้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเหมือนสิ่งที่เตือนให้ตระหนักถึงปัญหาอยู่เสมอ และยังต้องสร้างโอกาสสำหรับแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เป็นนิจ โดยหลักการนี้จะทําให้เราผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อส่งมอบคุณค่าสูงสุดและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสในการพัฒนาและใช้ความคิดความสามารถร่วมกันของทีมงานในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานให้ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงขวัญกำลังใจ ความสุขในงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ปฏิบัติงานทุกคน
   การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นปรัชญาสำหรับการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้จำกัดขอบเขตของการประยุกต์ใช้และไม่ได้ให้คำตอบที่เฉพาะเจาะจง แต่นำผู้ที่ใช้ปรัชญานี้ไปสู่สถานะอนาคตที่ดีกว่าอย่างไม่สิ้นสุด และด้วยความเป็นปรัชญาที่มุ่งเน้นอนาคตการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เราสามารถโต้ตอบกับพลวัตของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งทุกองค์การที่มีความยั่งยืนและเติบโตอย่างต่อเนื่องต่างได้กำหนดให้ปรัชญาการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของกรอบแนวทางการดำเนินงานในทุกระดับ

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และหลักการเทคนิคต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงงานของตนอย่างประสบผลสำเร็จ
เพื่อแนะนำแนวทางในการดำเนินโครงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่เป็นระบบ
เพื่อให้องค์การได้รับประโยชน์ในเชิงผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สามารถวัดผลได้จริง จากโครงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่พัฒนาจัดทำขึ้นโดยผู้ผ่านการอบรม

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Day I : ทฤษฎี แนวคิดและหลักการ
ความสำคัญและความเกี่ยวข้องระหว่าง Continuous Improvement, Lean , Supply Chain ที่มีต่อองค์การ
       แนวคิดโซ่อุปทานและความสามารถในการแข่งขัน
       ลูกค้าและคุณค่า (Customer and Customer Value Proposition)
       ความสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หลักการ Continuous Improvement
       5 แนวทางในการเพิ่มผลิตภาพ
       ผลกระทบของวิธีการดำเนินงานที่มีต่อต้นทุน
       งานที่เพิ่มคุณค่าและไม่เพิ่มคุณค่า
       หลักการลดต้นทุนและปรับปรุงงาน
       บทบาทของผู้บริหารและพนักงานที่จำเป็นต่อการทำ Continuous Improvement
       Continuous Improvement ควรทำที่หน่วยงานไหน และควรเริ่มที่หน่วยงานไหนในองค์การ
       ควรเริ่มเมื่อใด สภาพองค์การเช่นใด

ขั้นตอนและวิธีการในการจัดตั้งและดำเนินกิจกรรม Continuous Improvement เป็นอย่างไร
เครื่องมือและเทคนิค Continuous Improvement (แบบฟอร์ม / หลักเกณฑ์ประเมินผลงาน)

       Work Analysis
       Motion Study
       Time Study
       Material Flow Analysis
       ECRS Techniques
       A3 Thinking and Problem Solving

กรณีศึกษา บริษัทที่ทำ Continuous Improvement แล้วประสบความสำเร็จ
กิจกรรม Workshop การจัดทั้งทีมและมอบหมายงานกลุ่ม (การระบุปัญหาและประเด็นการปรับปรุง)
คำแนะนำและการขยายผลทั่วทั้งองค์การ วัฒนธรรมองค์การและระบบสนับสนุน


Day II : การสอนแนะเชิงปรึกษาแนะนำ (Consultative Coaching)
การให้คำแนะนำกลุ่ม
       ชี้แนะ ให้คำแนะนำต่อประเด็นของกลุ่มต่างๆ
       สอนแนะการประเมิน Current SituationRoot Cause-Gap Analysis, การกำหนดมาตรการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, การบริหารโครงการ, การวัดและติดตามผลการปรับปรุง

Day III : การนำเสนอผลงานกลุ่ม (Best Practice Presentation)
สอนแนะแนวทางและเทคนิคการนำเสนอผลงานกลุ่ม ?
การนำเสนอผลงานกลุ่มต่อผู้บริหารขององค์การ และตัดสินโครงการปรับปรุงดีเด่น

แนวทางการฝึกอบรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที 
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง 
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
เน้นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับทฤษฎี ตัวอย่าง และการใช้กรณีศึกษาจากกระบวนการดำเนินงานจริงขององค์กร เพื่ออธิบายประมวลสรุปให้บุคลากรมีความเข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ขยายผลในงานของตนต่อไป

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม