หลักสูตรฝึกอบรม สร้างทีมข้ามสายงานแบบทวีคูณ - หลักสูตร 1 วัน
(Cross-functional Management Teamwork)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม สร้างทีมข้ามสายงานแบบทวีคูณ (Cross-functional Management Teamwork)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

การทำงานเป็นทีมให้ได้ better results และ greater success ต้องทำให้เกิด “พลังทวีคูณ” จากความร่วมมือ ไม่ใช่เพียงได้แค่ “การทวีบวก” 

ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้?
 ในโลกของการบริหารยุคใหม่นี้ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องบริหารให้เกิดความคล่องตัว การตัดสินใจที่รวดเร็ว ดำเนินการที่ฉับไว ตอบสนองต่อพลวัตของตลาดที่ทันท่วงที การจัดระบบองค์กรที่มีการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนตามความชำนาญหรือการแบ่งระดับการบังคับบัญชาเป็นหลายระดับชั้น ได้กลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน เพราะทำให้การตัดสินใจช้าเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการพิจารณาหลายชั้น ความร่วมมือข้ามสายงานเกิดขึ้นได้ยาก เพราะพนักงานแต่ละคนเห็นเพียงงานในความรับผิดชอบของตน แต่ไม่เห็นการเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงระหว่างงานของตนกับงานส่วนอื่น ๆ เข้าทำนอง “มองเห็นต้นไม้แต่ละต้น แต่มองไม่เห็นป่าทั้งป่าในภาพรวม” สุดท้ายลงเอยด้วยสภาพปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือกับส่วนอื่น ๆ กลายเป็นความขัดแย้ง ส่งผลให้งานล้มเหลวได้
 องค์กรยุคใหม่หลายแห่งจึงจัดโครงสร้างการบริหารและรูปแบบการทำงานด้วยระบบใหม่ ที่พยายามเชื่อมโยงการทำงานข้ามฝ่ายข้ามสายงาน (cross-functional) หรือในบางภารกิจก็อาจเป็นการทำงานข้ามพรมแดนภูมิศาสตร์(cross-boundary) พร้อมไปในเวลาเดียวกัน รูปแบบการบริหารลักษณะใหม่นี้มักจะอยู่ในรูปแบบของทีมทำงาน (taskforce) ทีมโครงการ (project-based team) หรือทีมข้ามสายงาน (cross-functional team) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ทั้งในแง่ของการสร้างความคล่องตัวในการตัดสินใจ ผนวกกับการต่อยอดความเชี่ยวชาญจากโครงสร้างแบบเดิม ช่วยให้การประสานงานแนวราบข้ามฝ่ายราบรื่นขึ้น รวมทั้งยังอาจช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่จากมุมมองแตกต่างหลากหลายของทีม
 การทำงานในระบบและรูปแบบการทำงานใหม่นี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และความชำนาญในการบริหารจัดการของผู้บริหารที่แตกต่างจากการบริหารองค์กรในรูปแบบเดิม การประสานความแตกต่างหลากหลายในทีมงาน ให้เกิดการทำงานร่วมแรงร่วมใจไปในทิศทางที่สอดประสานกัน (alignment) เป็นหัวใจที่จะทำให้ทีมและองค์กรสำเร็จ ผู้บริหารจึงต้องมีความสามารถ ทักษะ และความชำนาญในการบริหารจัดการแบบใหม่ ที่ทำให้เกิดพลังทวีคูณ (synergy) และสร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศและนำองค์กรสู่ความสำเร็จได้
 หลักสูตรนี้ถูกออกแบบโดยการผสมผสานองค์ความรู้ หลักการ แนวคิด และเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในหน่วยงานระหว่างประเทศและธุรกิจชั้นนำของโลก ในเรื่องของการบริหารงานข้ามสายงาน โดยมีจุดเน้นที่การช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำที่สามารถบริหารงานในบริบทของรูปแบบการทำงานใหม่ให้เกิดความร่วมมือในระดับสูง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถยกระดับภาวะผู้นำและทักษะการบริหารที่นำองค์กรสู่ผลลัพธ์ที่สูง (greater results) ขึ้น

ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้?
 ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานใหม่ที่เป็นลักษณะของการทำงานข้ามสายงาน
 บทบาทและสมรรถนะ (competency) ที่จำเป็นของผู้บริหารทีมข้ามสายงาน (cross-functional team leader)
 พัฒนาความเชื่อมั่นและการมีอิทธิพลต่อทีมงานในบริบทของการทำงานข้ามสายงาน
 พัฒนาทักษะการบริหารทีมและองค์กรเพื่อให้เกิดการร่วมมือร่วมใจทำงานในทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน
 การประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการทำงานเพื่อช่วยเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การวางแผน การสร้างการมีส่วนร่วม การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ฯลฯ ที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรได้

หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
Module 1: ทำความเข้าใจกับ Cross-functional Management (CFM)
      อบรม สัมมนา อะไรคือ CFM? แตกต่างจากรูปแบบการบริหารอื่นอย่างไร?
      อบรม สัมมนา ทำไมองค์กรสมัยใหม่ต้องใช้ CFM?
      อบรม สัมมนา ประโยชน์ของ CFM?
      อบรม สัมมนา รูปแบบและลักษณะของ CFM พร้อมตัวอย่าง?
      อบรม สัมมนา ประเด็นท้าทายของ CFM?
      อบรม สัมมนา การกำหนดสถานะ (positioning) ของผู้จัดการในงานข้ามสายงานตามบริบทองค์กร
      อบรม สัมมนา Workshop 1: ประสบการณ์ในการทำงานข้ามสายงาน – อะไรเป็นความท้าทาย? อะไรเป็นทักษะที่จำเป็น?
Module 2: การออกแบบ (Designing)
      อบรม สัมมนา การวิเคราะห์ความจำเป็น (need assessment)
      อบรม สัมมนา การกำหนดภารกิจ
      อบรม สัมมนา ใครเกี่ยวข้อง? ใครควรจะเข้ามาร่วม?
      อบรม สัมมนา จะออกแบบและจัดโครงสร้างงานข้ามสายงานอย่างไรให้ราบรื่น?
      อบรม สัมมนา กลไกการประสานงาน (coordination mechanism) แบบไหนที่เหมาะสม?
      อบรม สัมมนา บรรยากาศการทำงานแบบไหนที่จะทำให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ?
      อบรม สัมมนา Workshop 2: กรณีศึกษา “คุณจะออกแบบทีมงานอย่างไร?”
Module 3: การจัดการ (managing)
      อบรม สัมมนา แนวทางการวิเคราะห์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมองค์กร
      อบรม สัมมนา อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างองค์กรกับการสร้างความร่วมมือ
      อบรม สัมมนา การประเมินความพร้อมของทีมงานในการร่วมมือกันทำงาน
      อบรม สัมมนา การใช้เครื่องมือเพื่อการประสานงาน (coordination tools)
      อบรม สัมมนา การสร้างอิทธิพลโดยไม่ใช่อำนาจ (influence without authority)
      อบรม สัมมนา การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust)
      อบรม สัมมนา อิทธิพลของความแตกต่างในเรื่องความสนใจ (interests) และสไตล์การสื่อสารที่มีผลต่อการเกิดความขัดแย้ง
      อบรม สัมมนา สื่อสารอย่างไรให้คนร่วมมือ?
      อบรม สัมมนา การลดความขัดแย้งแบบที่จะทำงานประสิทธิภาพการทำงาน
      อบรม สัมมนา การส่งเสริมความขัดแย้งที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับงาน
      อบรม สัมมนา Workshop 3: การแสดงบทบาทสมมติ “ช่วยฉันจัดการทีมนี้ด้วย!”

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร?
 ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่ต้องรับผิดชอบงานในลักษณะที่ต้องทำงานข้ามสายงาน
 ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถและทักษะในการสร้างความร่วมมือร่วมใจและการมีส่วนร่วมของทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
 ผู้บริหารโครงการที่ต้องบริหารทีมที่สมาชิกมาจากหลายฝ่ายหลายแผนกในองค์กร

แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
อบรม สัมมนา 
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (Group Learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม เช่น
      อบรม สัมมนา การแนะนำตัวเอง จุดประสงค์ และความคาดหวังจากการอบรม
      อบรม สัมมนา การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
      อบรม สัมมนา การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
      อบรม สัมมนา กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
      อบรม สัมมนา นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
      อบรม สัมมนา กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
      อบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม