หลักสูตรฝึกอบรม หลักธรรมาภิบาลในการทำงานกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี - หลักสูตร 1 วัน
(Corporate Governance at Work)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม หลักธรรมาภิบาลในการทำงานกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance at Work)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้?
 คำว่า Corporate Governance (CG) ที่ถูกเรียนอย่างเป็นทางการจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ว่า “การกำกับดูแลกิจการ" หรืออาจถูกเรียกด้วยคำอื่นในบริบทต่าง ๆ เช่น บรรษัทภิบาล ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน นั้นมีความทำนองเดียวกันว่า หมายถึง การบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
 ในกรณีของบริษัทมหาชนหรือบริษัทข้ามชาตินั้น CG จะมีความสำคัญอย่างชัดเจน เนื่องจากประชาชนจำนวนมากซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมบริหารจัดการบริษัทได้อย่างใกล้ชิด จึงต้องแต่งตั้งบุคคลที่ไว้วางใจให้เป็นกรรมการเพื่อเข้าไปควบคุมดูแลผู้บริหารบริษัทอีกทอดหนึ่ง การที่จะเกิดความมั่นใจและไว้วางใจกันเป็นทอด ๆ เช่นนี้ได้ จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี กล่าวคือ กรรมการต้องทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ไม่ใช้ตำแหน่งในการหาประโยชน์หรือฉวยโอกาสจากบริษัท ดูแลผู้บริหารและฝ่ายจัดการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่ใส่เข้ามาในบริษัท ในขณะเดียวกันก็ต้องให้สิทธิผู้ถือหุ้นรับทราบข้อมูลของบริษัท ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร
 การที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัทในหลายด้าน เช่น สามารถระดมทุนได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม การมีต้นทุนการเงินที่เหมาะสมช่วยลดต้นทุนการผลิตทำให้สามารถแข่งขันได้ นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น ผู้ลงทุนเพิ่มความต้องการซื้อ เพิ่มสภาพคล่อง และระดับมูลค่าของกิจการสูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของบริษัท
 หลักสูตรนี้พัฒาตามกรอบแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ได้เสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่บริษัทจดทะเบียน ซึ่งเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD Principles of Corporate Governance ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในหลายประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของอาเซียน (ASEAN Corporate Governance Scorecard) ด้วย

ผู้เรียนจะได้รับอะไรจากหลักสูตรนี้?
 ตระหนักถึงความจำเป็นที่บริษัทต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
 ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและฝ่ายบริหารในการสร้างให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี
 หลักเกณฑ์และแนวทางในการสร้างให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีในบริษัท

หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง?
1. ทำไมบริษัทจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี?
2. หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีคืออะไร?
3. ลักษณะของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี
4. การกำกับดูแลต่างจากการบริหารจัดการอย่างไร?
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
6. บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารบริษัท
7. หลักเกณฑ์และหลักปฏิบัติเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี
8. ทำอย่างไรจึงจะมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
9. กรณีศึกษาบริษัทที่ขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดี

Workshop
 กรณีศึกษา
 การวิเคราะห์การกำกับดูและกิจการที่ดีของบริษัท
 ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดี

สัดส่วนการเรียนรู้
 ทฤษฎี 60%
 Workshop 30%
 แลกเปลี่ยน ถามตอบ 10%

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร?
 ผู้บริหารและฝ่ายจัดการของบริษัทมหาชน บริษัทข้ามชาติ
 คณะกรรมการบริษัท
 คณะกรรมการบริหารบริษัท
 ผู้ถือหุ้น

แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนี้จะใช้ 3 วิธีการหลักได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (group learning) จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม และระหว่างผู้อบรมด้วยกันเอง เช่น
      อบรม สัมมนา การสรุปทบทวนแนวคิดสำคัญและคำสำคัญต่าง ๆ (Key thoughts and key words)
      อบรม สัมมนา การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เข้าอบรม (questioning)
      อบรม สัมมนา การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
อบรม สัมมนา
3.การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติ โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
      อบรม สัมมนา กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
      อบรม สัมมนา นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
      อบรม สัมมนา กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
      อบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. การประเมินผลการอบรมจะใช้หลายรูปแบบวิธี เช่น ผ่านการนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการนำไปถ่ายทอดต่อ ผ่านแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม ผ่านงานเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติมในหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงานของผู้เรียน
5. รูปแบบของการฝึกอบรมมีหลากหลายที่สอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม อาทิ การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมอง (brainstorming) กลุ่มปฏิบัติการ (workshop) กรณีศึกษา (case study) การนำเสนอผลงาน (presentation) เกมทางการบริหาร (Management games)แสดงบทบาทสมมติ (Role playing) หรือแบบประเมินตนเอง (self-assessment test) เช่น personality test, leadership styles, thinking styles เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง
6. วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ
7. เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์กรและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของแต่ละองค์กร กิจกรรมต่าง ๆ จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจของแต่ละองค์กร (Customized) โดยดำเนินการจัดอบรมภายในองค์กร (In-house Training) ในวันและเวลาที่องค์กรสะดวกและบุคลากรมีความพร้อมในการเข้าอบรม

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม