หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการตรวจประเมิน 5ส และรูปแบบ Three level audit - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการตรวจประเมิน 5ส และรูปแบบ Three level audit

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

สภาพปัญหาที่พบ
เมื่อองค์กรดำเนินกิจกรรม 5ส ไประยะหนึ่งมักพบปัญหาหรือเกิดคำถามว่า คณะกรรมการ 5ส จะมีการ audit แบบนี้ตลอดไปหรือไม่ และถ้ายกเลิกคณะกรรมการ 5ส หรือไม่มีการ audit แล้ว มีผลกระทบกับองค์กรอย่างไร กิจกรรม 5ส ในอนาคตควรจะเดินต่อไปอย่างไรดี

นี่คือปัญหาทั่วไปที่ทุกองค์กรอาจประสพปัญหาอยู่ แนวทางการปรับเปลี่ยนหรือ การพัฒนากิจกรรม 5ส รวมทั้งรูปแบบการ audit จากทางคณะกรรมการนั้นไปสู่รูปแบบไหน เพื่อเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งองค์กรเริ่มเข้าสู่ ส = นิสัย อย่างแท้จริง และเมื่อ 5ส ได้พัฒนาบุคคลกรให้มีความสามารถเป็นพื้นฐานที่ดี ก็จะพร้อมที่จะต่อยอดให้กับ Management Tools ตัวอื่น ๆ นำไปสู่ ตัวชี้วัดผล PQCDSME ตาม KPI ที่ตั้งไว้

หลักการและเหตุผล
5ส คือเครื่องมือสำหรับ การจัดการพื้นฐานให้กับบุคลากรมีความระเบียบ วิน้ย เพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น และส่งผลให้การทำงานนั้นเอื้ออำนวยต่อการเพิ่มผลผลิต โดย การกระทำ 5 สิ่ง คือสะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างนิสัย


การเชื่อมโยงหรือการประยุกต์กิจกรรม 5ส ไปสู่การเพิ่มผลผลิตนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมนำไปใช้กับหน่วยงาน Direct Production เช่น หน่วยงานผลิต หน่วนงานวิศวกรรม หรือหน่วยงานคลังสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งจะใช้ concept ที่ว่า “Cleaning for inspection” หรือใช้คำที่เรียกว่า การทำความสะอาด เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ โดยการจัดทำ Check sheet คล้าย ๆ แบบฟอร์ม 5ส audit ให้ครอบคลุมแต่ละเครื่องจักร เมื่อใช้ในการตรวจสอบเครื่องจักร จากนั้นจะมีการยกระดับป้ายชี้บ่งเป็นรูปแบบ Visual control หรือที่เรียกว่า การควบคุมด้วยสายตา เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมยิ่งขึ้นไป


ในการทำ 5ส ช่วงแรกนั้น ส่วนใหญ่องค์กร จะนำบุคลากรที่มีความสามารถ นำไปอบรม และกลับมาจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ 5ส จากนั้นใช้คณะกรรมการชุดนี้ ทำการตรวจสอบพื้นที่และลงคะแนน เพื่อสร้างตัวเปรียบเทียบความคืบหน้าของกิจกรรม 5ส แต่เมื่อปฏิบัติไประยะหนึ่ง จะพบว่าการดำเนินงานลักษณะนี้ จะไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนารูปแบบการ audit เป็นลักษณะที่เรียกว่า Three level Audit ตามรูปด้านบน ซึ่งจะกระจายการ audit ไปยังพนักงานที่พื้นหน้างาน หัวหน้างาน และ ผู้บริหาร โดยมีการทำแบบฟอร์ม 5ส แต่ละพื้นที่ จากนั้นก็ให้มีการตรวจสอบตามความถี่ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการสร้าง ส=นิสัย ให้กับบุคลากรทั้งองค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
เพื่อให้พนักงานสามารถสร้างแบบฟอร์ม 5ส ได้เอง รวมทั้งการนำไปปฏิบัติที่หน้างาน
เพื่อให้เกิดการสร้าง ส = นิสัย กับบุคลากรให้เกิดขึ้นในองค์กร
เพื่อให้การทำ 5ส นำไปประยุกต์กับในส่วนของการเพิ่มผลผลิต
เพื่อที่จะนำ Visual control เข้าไปใช้ในการตรวจสอบกับเครื่องจักร
เพื่อที่จะพัฒนาสร้างคู่มือมาตรฐาน 5ส ไปสู่รูปแบบ Picture Standard


กลุ่มเป้าหมาย
ผู้จัดการ
หัวหน้างาน
พนักงานทุกท่าน

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
วัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม  5ส และการแบ่งพื้นที่
Concept ส=สะดวก เพื่อนำไปสู่การตั้งมาตราฐาน
การนำรูปแบบ Three level Audit ไปใช้งานในองค์กร
รูปแบบตัวอย่างการเขียนมาตรฐานการตรวจสอบแต่ละพื้นที่
แบบฟอร์มตรวจสอบเครื่องจักร [Autonomous maintenance]
การประยุกต์แบบฟอร์มตรวจสอบ 5ส กับพื้นที่ส่วนงานเครื่องจักร
การควบคุมด้วยสายตา [Visual control]
การสร้าง Standard Picture
กรณีศึกษา โรงงานที่เริ่มเข้าสู่ ส=นิสัย
การลงพื้นที่เพื่อยกตัวอย่างการทำ Visual control [office or plant]
รูปแบบการสร้าง Visual control หรือ mapping
การปรับปรุงมาตรฐานแบบฟอร์ม audit เพื่อเข้าสู่ three level audit
เทคนิคการใช้แบบฟอร์ม 5ส audit
การสร้างแบบฟอร์ม Tentative standard เพื่อใช้ในส่วนของผลิต
Q&A
Post – test


จำนวนผู้เข้าอบรม
30 คน/รุ่น

แนวทางการฝึกอบรม
บรรยาย 50% กิจกรรม 50%
เข้าเยี่ยมชมพื้นที่การทำงานของแต่ละส่วนและระบุจุดที่ต้องปรับปรุงเพื่อทำให้พื้นที่การทำงานเอื้ออำนวยต่อการเพิ่มผลผลิต

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม