หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการลดความสูญเสีย 7 ประการ - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม เทคนิคการลดความสูญเสีย 7 ประการ

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
  ทักษะพื้นฐานการปรับปรุงงานที่สำคัญ คือ การลงไปค้นหาความสูญเสียที่หน้างานจริงด้วยหลักการ 5G คือ 3G (Genba – สถานที่จริง, Genbutsu – ของจริง, Genjitsu – สภาพแวดล้อมจริง) + 2G (Genri – หลักการทางทฤษฎี, Gensoku – ระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติ) ซึ่งจะทำให้ค้นพบว่าในกระบวนการทำงานที่ทำอยู่มีความสูญเสีย (Waste) หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “Muda” เกิดขึ้นมากมาย
   ความสูญเสียในการทำงานทั้ง 7 ประการ (7 Waste) ได้แก่
   (1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
   (2) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory)
   (3) ความสูญเสียจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation) 
   (4) ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion)
   (5) ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting)
   (6) ความสูญเสียจากการผลิตของเสีย (Defect)
   (7) ความสูญเสียจากการทำงานที่เกินความจำเป็น ไม่มีประสิทธิภาพ (Overprocessing)
   ความสูญเสียทั้ง 7 ประการ คือ ต้นทุนที่แฝงเร้นอยู่ในทุกกระบวนการที่ต้องพยายามหาวิธีการในการปรับปรุงงานเพื่อขจัดความสูญเสียทั้ง 7 ประการให้หมดไป โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อสืบค้นไปให้ถึงต้นตอของความสูญเสียด้วยเทคนิค Why-Why และใช้เทคนิค “SCAMPER” ในการปรับปรุง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการค้นหาความสูญเสีย 7 ประการ ตามหลัก 5 G 
       Genba - สถานที่จริง
       Genbutsu - สภาพของจริง 
       Genjitsu – สภาวะจริง
       Genri – หลักการทางทฤษฎี
       Gensoku – ระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติ
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจความสูญเสียทั้ง 7 ประการ 
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อสืบค้นไปให้ถึงต้นตอของความสูญเสียด้วยเทคนิค Why-Why และใช้เทคนิค “SCAMPER” ในการปรับปรุง

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
1. ปัจจัยสำคัญในการค้นหาความสูญเสียในกระบวนการทำงาน 
       Genba - สถานที่จริง
       Genbutsu - สภาพของจริง 
       Genjitsu – สภาวะจริง
       Genri – หลักการทางทฤษฎี
       Gensoku – ระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติ
2. ความสูญเสีย 7 ประการ ในกระบวนการทำงาน
     (1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
     (2) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory)
     (3) ความสูญเสียจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation) 
     (4) ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion)
     (5) ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting)
     (6) ความสูญเสียจากการผลิตของเสีย (Defect)
     (7) ความสูญเสียจากการทำงานที่เกินความจำเป็น ไม่มีประสิทธิภาพ (Overprocessing)
3. เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อสืบค้นไปให้ถึงต้นตอของความสูญเสียด้วยเทคนิค Why-Why
4. เทคนิค “SCAMPER” ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อลดความสูญเสีย
     S – Substitute
     C – Combine
     A – Adapt
     M – Modify
     P – Put to another use
     E – Eliminate
     R - Rearrange
5. การคำนวณผลตอบแทนที่ได้จากการปรับปรุง

แนวทางในการฝึกอบรม
  รูปแบบการฝึกอบรมในสไตล์ Training and Group Coaching (T&GC)
      โดยการใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้สำรวจตัวเอง (มองเห็น ยอมรับ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง) และเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจสภาวะที่เกิดขึ้นว่าติดอยู่ที่หลุมพรางความคิดใด 
      โดยการใช้กระบวนการคิด (Thinking Process) เพื่อให้ผู้เรียนคิดหาทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเอง 
      โดยการใช้ Workshop เพื่อให้เกิดการนำความรู้ที่ได้รับไปฝึกฝนในทางปฏิบัติ

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
พนักงาน และหัวหน้างานขึ้นไป จำนวนไม่เกิน 40 คนต่อรุ่น

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม