หลักสูตรฝึกอบรม แนวคิด KAIZEN เพื่อการปรับปรุงงาน - หลักสูตร 1 วัน
(Introduction to Kaizen)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม แนวคิด KAIZEN เพื่อการปรับปรุงงาน (Introduction to Kaizen)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
  ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมการบริหาร
งานเชิงคุณภาพอันมีรากฐานกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นและได้รับความนิยมแพร่หลายกลายเป็นที่รู้จักและสื่อสารกันในระดับสากล Kaizen Teian หมายถึง?? (Kaizen): การปรับปรุงและ?? (Teian): ข้อเสนอ Kaizen Teian ใช้ในการพัฒนาระบบสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านข้อเสนอแนะของพนักงานหรือข้อเสนอ ระบบข้อเสนอในแบบญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและตรงไปตรงมามากที่สุดสำหรับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และความเข้าใจเชิงลึกของพนักงาน
  การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวความคิดที่ว่าการทำไคเซ็นไม่ใช่เพิ่มภาระแต่มุ่งที่จะ เลิก/ลด/เปลี่ยน ภาระหรืองานที่ไม่จำเป็นมุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ดังนั้นการทำไคเซ็น จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความรู้และความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนทุกระดับเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตนซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ผู้ปฏิบัติงานหน้างานย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่นๆ“ โดยในท้ายที่สุดแล้วผู้ปฏิบัติงานย่อมมีความสะดวกสบายในการทำงานมากยิ่งขึ้นจากการปรับปรุงงานของตนเองตลอดเวลานั่นเอง
  คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการ
ปรับปรุงสามารถทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำ ไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดีได้แก่ต้อง ละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทำได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ ,ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น
  โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น แนวทาง/เทคนิคการปรับปรุงงานและลดต้นทุน ด้วยเครื่องมือต่างๆ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทำไคเซ็นในระดับองค์กรชั้นนำ เพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิด “การเขียนข้อเสนอแนะKAIZEN เพื่อการปรับปรุงงาน” ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมการเขียนข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานและลดต้นทุนในการทำงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง


รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
อบรม สัมมนา 1. แนวคิดของการปรับปรุงองค์กรปัจจุบัน
อบรม สัมมนา 2. การปรับเปลี่ยนความคิดและความเคยชิน เพื่อการปรับปรุงงาน
อบรม สัมมนา 3. การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงการทำงาน
อบรม สัมมนา 4. การวิเคราะห์ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพตามหลัก 4M
อบรม สัมมนา 5. KAIZEN คืออะไร
อบรม สัมมนา 6. KAIZEN สำคัญอย่างไร ทำไมใคร ๆ ก็ทำ KAIZEN
อบรม สัมมนา 7. หลักการทฤษฎีและการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
อบรม สัมมนา 8. ขั้นตอนและการนำไปปรับใช้กับการทำงาน
อบรม สัมมนา 9. วิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS
อบรม สัมมนา 10. ผลที่ได้จากการดำเนินตามหลัก KAIZEN
อบรม สัมมนา 11. กรณีศึกษา และ Workshop "ล้านไอเดียเพื่อปรับปรุงงานและลดต้นทุน" วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการฝึกอบรม
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
2. พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
3. สามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลภายในองค์กรต่อไป
4. พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่น PCDA, 5S, Visual Control ฯลฯร่วมกับกิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม


 


 

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม