หลักสูตรฝึกอบรม ไคเซน - หลักสูตร 1 วัน
(KAIZEN)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ไคเซน (KAIZEN)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและแนวความคิด
 "ไม่มีหรอก...สิ่งที่ดีที่สุด มีแต่สิ่งที่ดีขึ้น" การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลโดยตรงต่อการลดของเสีย และสร้างประสิทธิผลต่อองค์กร
ไคเซน (Kaizen) มาจากภาษาญี่ปุ่น โดยคำว่า "Kai" แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) และ "Zen" ซึ่งแปลว่า ดี (Good) ดังนั้น Kaizen จึงมีความหมายว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวคิดเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวันของผู้เข้าอบรม และการปรับปรุงภายในองค์กร
 Kaizen เป็นแนวคิด ขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุน ในการปรับปรุงนี้
สโลแกน "ทำง่าย ทำได้ ทำดี มีประโยชน์"
ความสัมพันธ์ของ Kaizen กับ PDCA และ 8 Wastes จะทำให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจ และเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ KAIZEN
นำความรู้ และความเข้าใจ ไปปรับปรุงการทำงานในปัจจุบัน ให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ของการทำงาน
ปรับปรุงคุณภาพ และบริการให้ดียิ่งขึ้น
ลดต้นทุน
ลดของเสีย (waste)
กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความต้องการหาวิธีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประหยัดเวลาในการทำงาน และลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
 ความหมายของ Kaizen
ความแตกต่างระหว่าง ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
หลัก 3ป. ของ Kaizen
เทคนิคสู่ความสำเร็จของ Kaizen
     - 3 เทคนิค เพื่อทำให้ Kaizen สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการปรับปรุง
หลักการ เลิก-ลด-เปลี่ยน
     - การพิจารณาขั้นตอนการทำงาน ณ สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อหาจุดที่สามารถ ยกเลิก ลด หรือ เปลี่ยนแปลงได้อีก “ดียิ่งขึ้น คือเป้าหมายของ Kaizen”
ขั้นตอนการปรับปรุง Kaizen
     - 7 ขั้นตอน ในการทำ kaizen อย่างมีระเบียบแบบแผน และครบถ้วน
ความสัมพันธ์ของ Kaizen กับวงจร PDCA
     - การวางแผน การปฏิบัติ การเฝ้าติดตามผล และการนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิผล
ความสัมพันธ์ของ Kaizen กับ 8 wastes
     - เข้าใจ Wastes ที่เกิดขึ้นในการทำงานทั้ง 8 ประการ เพื่อเป็นไอเดียในการหาจุดที่ต้องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเปรียบเทียบกับการทำงาน ณ สถานการณ์ปัจจุบันของผู้เข้าร่วมอบรม
Case study
     - ภาพเหตุการณ์การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นไอเดียในการหาจุดที่ต้องการแก้ไข ภายในองค์กร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อหาแนวทางปรังปรุงที่ดียิ่งขึ้น
Workshop
     - การนำเหตุการณ์จริงในการปฏิบัติงาน มาพิจารณา เพื่อหาจุดที่ต้องการปรับปรุง ลด เลิก หรือ เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลของการทำงานที่ดียิ่งขึ้น
Presentation
     - การนำเสนอแนวความคิดของบุคคล หรือ กลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจ และมั่นใจ ก่อนนำไปประยุกต์ใช้จริง
บทบาทของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กร
สิ่งที่ได้จากการทำ Kaizen
     - สิ่งที่ผู้เข้าร่วม และองค์กร ได้รับจากการอบรม ประโยชน์ของ Kaizenจะมีไปอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่บุคลากรยังมีความคิดที่สร้างสรรค์ และต้องการพัฒนา
กิจกรรมเพื่อสร้างความต่อเนื่องของการทำ Kaizen ในองค์กร
     - อาทิเช่น องค์กรอาจจัดประกวด Kaizen (การนำเสนอผลงาน และ สามารถวัดผลของโครงการได้) โดยมีระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน ภายใน 15 วัน หลังจากฝึกอบรม

รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
จะเน้นให้ผู้เข้าร่วม เข้าใจหลักการ และแนวความคิดของ Kaizen โดยการปฏิบัติ และการนำเสนอ
สร้างความสนุกสนานระหว่างฝึกอบรม โดยใช้เกมส์ หรือ คำถาม ให้ทุกท่านมีส่วนร่วม สร้างความเป็นกันเอง และความกระตือรือร้น ระหว่างฝึกอบรม



ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม