ประวัติการศึกษา ปริญญาเอก : PhD (Doctor of philosophy in Management Science), Management Science, School of Management - มหาวิทยาลัยชินวัตร
ปริญญาโท : ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจอุตสาหกรรม- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปริญญาตรี : การศึกษาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจศึกษา การบัญชี - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ประสบการณ์การทำงาน 2556 – ปัจจุบัน
ตำแหน่งงาน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ
2. รองอธิการบดี
3. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
4. อาจารย์ที่ปรึกษางานค้นคว้าอิสระ และ กรรมการสอบงานค้นคว้าอิสระ ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
5. กรรมการสภาวิชาการ ตัวแทนคณะบริหารธุรกิจ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. อาจารย์ผู้สอนประจำสาขาวิชาการจัดการ และ คณะบริหารธุรกิจ
2. ปฏิบัติงานฝ่ายวิชาการและวิจัย และปฏิบัติงานตามที่ อธิการบดี มอบหมาย
3. ให้คำปรึกษาและร่วมเป็นกรรมการสอบ งานค้นคว้าอิสระ
4. เข้าร่วมประชุม ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อสภาวิชาการ
สถานที่ทำงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา ปี 2548 - 2556
ตำแหน่งงาน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ ๘ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ
2. หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ
3. อาจารย์ที่ปรึกษางานค้นคว้าอิสระ และ กรรมการสอบงานค้นคว้าอิสระ ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
4. กรรมการสภาวิชาการ ตัวแทนคณะบริหารธุรกิจ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. อาจารย์ผู้สอนประจำสาขาวิชาการจัดการ และ คณะบริหารธุรกิจ
2. บริหารและกำกับดูแลงานสาขาวิชาการจัดการ
3. ให้คำปรึกษาและร่วมเป็นกรรมการสอบ งานค้นคว้าอิสระ
4. เข้าร่วมประชุม ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อสภาวิชาการ
สถานที่ทำงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา ปี 2544 - 2548
ตำแหน่งงาน
1. อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ – อาจารย์ ๒ ระดับ ๗
2. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการการศึกษา
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. อาจารย์ผู้สอนประจำคณะบริหารธุรกิจ
2. บริหารและกำกับดูแล ภาระงานจำนวน ๕ แผนกงาน ได้แก่ แผนกพัสดุ แผนกรักษาความปลอดภัย แผนกยานพาหนะ แผนกอาคารสถานที่ และ แผนกเอกสารการพิมพ์
สถานที่ทำงาน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศาลายา
ประสบการณ์การสอน 2544 – ปัจจุบัน
1. รายวิชาที่สอน หลักการจัดการ (Principles of Management) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) ลักษณะทั่วไปของการประกอบธุรกิจ แนวความคิด และ วิวัฒนาการทางการจัดการ ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ รวมทั้ง หน้าที่ของผู้บริหารทางด้านต่าง ๆ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การชี้นำ และการควบคุม โดยศึกษาแต่ละหน้าที่และมุ่งถึงความสำคัญกับผลกระทบต่อองค์ประกอบทางด้านบุคคลที่มีต่อองค์การ ศึกษาความมีจริยธรรมทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคม
2. รายวิชาที่สอน การภาษีอากร 1 (Taxation 1) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) หลักการ ทฤษฎีวิธีการ และความจำเป็นที่รัฐต้องจัดเก็บภาษี แหล่งรายได้ของรัฐบาล ความแตกต่างของรายรับอื่น ๆ ที่ได้มาจากการภาษีอากร นโยบายและส่วนประกอบภาษีอากร วิธีจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หลักการและวิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีเฉพาะอย่างอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลอาจกำหนดขึ้นตามความจำเป็นและสภาวะเศรษฐกิจ
3. รายวิชาที่สอน ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ (Research Methodology in Business) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) ความสำคัญ ความหมาย ประเภทของการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ออกแบบการวิจัยทางธุรกิจ เขียนโครงร่างการวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ เขียนรายงานวิจัย และนำเสนอผลงานวิจัย
4. รายวิชาที่สอน การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) ความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระดับและประเภทของกลยุทธ์ กระบวนการการจัดการกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในของกิจการ การวางแผนกลยุทธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและประเมินผลกลยุทธ์ และความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายและแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานในระดับต่าง ๆ ภายในองค์กรเน้นการฝึกปฏิบัติประยุกต์หลักการและทฤษฎี ประสบการณ์การสอน ระยะเวลา วิชาที่สอน ๒๕๔๔ – ปัจจุบัน
5. พฤติกรรมองค์การ (Organization Behavior) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) องค์การตามแนวคิดแบบต่าง ๆ วิวัฒนาการขององค์การ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลที่ทำงาน ความพอใจในการทำงาน และขวัญของพนักงาน การจูงใจ ทัศนคติ การรับรู้ การเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลภายในองค์การ การแสดงออก ความสัมพันธ์ และประสิทธิภาพของกลุ่ม การทำงานเป็นทีม ภาวะความเป็นผู้นำ พฤติกรรมบุคคลในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารความขัดแย้งในองค์การ การพัฒนาองค์การที่นำไปสู่พฤติกรรมการทำงานร่วมกันในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การเป็นผู้นำ (Leadership) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน (แบบย่อ) ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้นำ บทบาทหน้าที่และทักษะที่สำคัญของผู้นำ ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำแบบต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นผู้นำในยุคปัจจุบัน การวางแผน การตัดสินใจของผู้นำ วิธีการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา คุณธรรมจริยธรรมของผู้นำ ผู้นำกับการทำงานร่วมกันระหว่าง บุคคลต่าง ๆ ในองค์การ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการบริหารความขัดแย้ง บทบาทของผู้นำ
7. รายวิชาที่สอน การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน(แบบย่อ) หลักการจัดการการเปลี่ยนแปลง ลักษณะและองค์ประกอบการเปลี่ยนแปลง กระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง การเลือกใช้กลยุทธ์และเทคนิคเพื่อสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนแปลง ประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างความเข้าใจ และสร้างการยอมรับเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี กระบวนการ โครงสร้างระบบฯลฯ ศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ การวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือในการจัดการ การเชื่อมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ตระหนักถึงบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง การใช้ภาวะผู้นำ การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
8. การจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง (Warehouse and Transportation Management) หัวข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสอน(แบบย่อ) หลักการของการจัดการคลังสินค้า หลักการควบคุมสินค้าและการจัดการด้านความปลอดภัย การบันทึกรับ-จ่าย สินค้าคงคลัง ศึกษาระบบการรับ การจัดเก็บและระบบการกระจายสินค้า รวมถึงระบบเอกสารการจัดการคลังสินค้า การวางระบบบาร์โค้ดในการควบคุม การบริหารห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ การขนส่งและการควบคุมต้นทุนการกระจายสินค้า การเลือกทำเลที่ตั้ง การออกแบบและวางผังคลังสินค้า วางและกำหนดพื้นที่ในการจัดวางสินค้า การเลือกใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า การเลือกใช้เทคโนโลยีการจัดวางสินค้าที่เหมาะสม
ประเภทผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร ผลงานวิจัยแล้วเสร็จตีพิมพ์เผยแพร่
1. สุภาภร จงภักดีพงศ์. การผลิตและพัฒนาแผ่นพาร์ติเคิลบอร์ดด้วยวัชพืชในท้องถิ่น ต้นกก ต้นแฝก และต้นปรือ. ๒๕๔๘. (เผยแพร่ในระหว่าง ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๒ รวม ๒ ครั้ง ได้แก่ วันสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๕๒ คลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี ๒๕๕๑) แล้วเสร็จยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
2. สุภาภร จงภักดีพงศ์. การจัดทำโปรแกรมการวางแผนการจัดการวัสดุทั้งองค์กร MRP (Material Requirement Planning)
3. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี ปี ๒๕๕๖
4. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์ กรณีศึกษา สวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา ปี ๒๕๕๗ ผลงานวิจัยอยู่ระหว่างดำเนินการ
5. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอาหาร ปี ๒๕๕๘
6. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปี ๒๕๕๘ ผลงานวิจัยได้รับงบประมาณในปี ๒๕๕๙
7. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมพลาสติก ปี ๒๕๕๙
8. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมโลหะตั้งต้นและโลหะแปรรูป ปี ๒๕๕๙
เอกสาร ตำรา ประกอบการสอน
สุภาภร จงภักดีพงศ์. ภาวะผู้นำ. ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้, ๒๕๔๘. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. ระบบการคลังสินค้าโรงงาน. ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: ทริเปิ้ลเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๔. สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการสร้างปัจจัยสู่ความเป็นเลิศ. ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: ทริเปิ้ลเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๔.
หลักสูตรฝึกอบรมของ ผศ.ดร.สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา
1 | การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) | หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) | 1 วัน | รายละเอียด | https://www.entraining.net/course/การบริหารความเสี่ยง-1day-SPP/ |
2 | งบการเงินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์งบการเงิน | หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) | 1 วัน | รายละเอียด | https://www.entraining.net/course/งบการเงินและการจัดทำรายงานวิเคราะห์งบการเงิน-1day-SPP/ |