การสร้างการตระหนักรู้สภาวะและศักยภาพตัวเองกับเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา
หลังจากจบการสอนหลักสูตรการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจ(Problem Solving & Decision Making) แต่ละครั้ง ผมมักตั้งโจทย์ให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อการสอนครั้งถัดไป

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไรอีกบ้าง ?

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....ตระหนักรู้ถึงสภาวะที่กำลัง(State)ที่กำลังเป็นอยู่กับเหตุการณ์ได้อย่างไรอีกบ้าง ?

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....ถอดบทเรียนวิธีการจัดการที่เขาเคยใช้จัดการปัญหามาเป็นกระบวนการตามทฤษฎีได้อย่างไรอีกบ้าง ?

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....ตระหนักรู้ถึงจุดเด่นและคุณค่าในตัวเองที่มีอยู่ได้อย่างไรอีกบ้าง ?

ผู้เรียนมีแนวทาง....อยู่กับพื้นที่กังวลนอกComfort Zone ด้วยGrowth Mindsetใหม่ของเขาได้อย่างไรอีกบ้าง ?

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....สร้างกระบวนการจัดการปัญหาของตัวเองด้วยหลักคิดและเครื่องมือแก้ปัญหาตามทฤษฎีได้อย่างไรอีกบ้าง ?

มีแนวทางที่ผู้เรียนสามารถ....ตระหนักรู้ถึงศักยภาพในการตัดสินใจเรื่องต่างๆแล้วกล้าขยายพื้นที่อิทธิพลกับการตัดสินใจในเรื่องที่เคยไม่ตัดสินใจได้อย่างไรอีกบ้าง ?
การเผชิญกับปัญหา อุปสรรคต่างๆ ในมุมของกรอบความคิด(Mindset)คือ...การอยู่กับพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคยในมิติใหม่ๆของเหคุการณ์ งาน เรื่องราว เพื่อขยายขอบเขตอิทธิพล(Comfort Zone) ให้ครอบคลุมความกังวลนั้นๆ จนกลายเป็นศักยภาพใหม่ของตนเองได้
ดังนั้นผมจึงเลือกจะหยิบประเด็นเหล่านี้มาเป็นโจทย์ในการพัฒนา"ความละเอียด" ของกระบวนการSolution Coaching ของตัวเองให้มากขึ้นอีกเพื่อให้เป็นศักยภาพใหม่ของตัวผมเองด้วยเช่นกันครับ