สอนหลักสูตรการคิดทำให้ผมฝึกความละเอียดกับการการทำงานของสมองในเชิงลึกมากขึ้น...
จังหวะการคิดหรือไม่คิด (รู้สึก) ของแต่ละคนมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน
การใช้หลักการของสมองมาชวนคิดด้วยกระบวนการโค้ช ทำให้ผมสังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนหลายๆแบบ
ผมจึงค่อยๆพัฒนาระดับการเชื่อมโยงสมองกับการเปลี่ยนแปลงในversionต่างๆ ดังนี้
Version1 : ผู้เรียนมองเห็นความแตกต่างระหว่างสมองคิด-สมองอารมณ์ เช่น การคิดนำไปสู่การมองอย่างเป็นเหตุเป็นผล , อารมณ์นำไปสู่ความขัดแย้ง ผลลัพธ์ไม่ตามเป้า
Version2 : ผู้เรียนมองเห็นกระบวนการทำงานของสมองคิด - สมองอารมณ์ เช่น สมองคิดมีลำดับขั้นตั้งแต่ คิดแก้ปัญหา

คิดวิเคราะห์

คิดสร้างสรรค์

คิดกลยุทธ์

คิดเชิงระบบ
สมองอารมณ์

Fight - Flight - Freeze
Version3 : ผู้เรียนแยกประเภทของข้อมูลที่สมองคิด - สมองอารมณ์ หยิบมาใช้ เช่น สมองคิดสนใจข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง สถิตินำไปสู่การคิดแนวทางใหม่ๆ , สมองอารมณ์ใช้ข้อมูลจากประสบการณ์เดิม นำไปสู่แนวคิดที่คุ้นเคย เคยชิน
Version4 : ผู้เรียนมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสมองคิด-สมองอารมณ์ ที่นำไปสู่การใช้ Fix - Growth Mindset
Version5 .....ปัจจุบันผมแยกความละเอียดของการใช้สมองเป็นโหมดต่างๆที่เลือกใช้ในการจัดการสถานการณ์ประมาณนี้ครับ

Automation Mode .... สมองสั่งการโดยอัตโนมัติจากประสบการณ์ สัญชาติญาน ความเคยชินที่เป็นความเชื่อ,อุปนิสัย
เช่น...เราไม่ชอบงานแทรก เพราะเรากำลังโฟกัสเรื่องหนึ่งอยู่และอยากจัดการเรื่องนั้นให้เสร็จก่อน ไม่อยากสลับสับเปลี่ยนไปมา.. จึงตอบโต้ไปด้วยการปฏิเสธทันที

Awareness Mode .... สมองมีการตระหนักรู้ในชั่วขณะหนึ่งก่อนจะตัดสินใจบางอย่างหรือทำไปสักระยะหนึ่งแล้วเกิดการฉุกคิด
เช่น...เราแว่บคิดตรึกตรองบางอย่างโดย"ไม่รีบตัดสินใจ"ตอบรับหรือปฏิเสธงานแทรกนั้นทันที

Adaptibility Mode .... สมองมีการสลับสับเปลี่ยนรูปแบบการคิดได้เร็วในการจัดการสถานการณ์ตรงหน้าเพื่อให้ได้แนวทางที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด..เสมือนหนึ่งเป็นไหวพริบ
เช่น...ประเมินความเป็นไปได้ของการทำงานแทรกนั้นจากประสบการณ์กับข้อมูล(เท่าที่พอมีตอนนั้น)แล้วแจ้งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเช่น ระยะเวลาที่จะเรื่มงานให้ หรือเสร็จงานและส่งมอบ

Achievement Mode .... สมองมีการคิดอย่างเป็นระบบแบบแผนและจดจ่อจนบรรลุเป้าหมายของตัวเองและความต้องการผู้อื่นแบบมีประสิทธิภาพ
เช่น...มองภาพรวมทั้งหมด ก่อนวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละงาน ประเมินทรัพยากรที่มี เพื่อให้ปรับแผนการทำงานใหม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีสำหรับทุกฝ่าย
สมองแต่ละโหมดอาจะทำงานแบบเป็นกระบวนการ (มีลำดับขั้นการใช้อย่างต่อเนื่อง) หากมองเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาตัวเอง
แต่อีกนัยหนึ่งคือ..เราใช้โหมดใดโหมดหนึ่งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวเพราะมี Trigger บางอย่างที่ไปกระตุ้นให้โหมดแต่ละโหมดทำงาน
ปล....Trigger ของแต่ละคนและแต่ละโหมดอาจแตกต่างกัน ซึ่งผมกำลังสังเกต Trigger ของตัวเองที่ทำให้ตัวผมเลือกใช้แต่ละโหมดสมอง รวมถึง Trigger ที่จะช่วยให้ผมเปลี่ยนไปใช้สมองโหมดอื่นได้
เมื่อนำมาสร้างชุดเครื่องมือการโค้ชเพื่อใช้ในการชวนผู้เรียนตระหนักรู้โหมดสมองของตัวเองใน "
หมวดหลักสูตรทักษะการคิดอย่างมีคุณภาพ" ในอนาคตครับ