ผลงานฝึกอบรม - จิตวิทยาบริหารและการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

หน้าแรก / ผลงานฝึกอบรม / ผลงานฝึกอบรม - จิตวิทยาบริหารและการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง       11 พฤศจิกายน 2562       503       0

ภญ.ธันยพร จารุไพศาล

(โค้ชและวิทยากรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

        ขอเขียนย้อนหลังหน่อยนะคะ บันทึกไว้ปีหน้าตัวเองจะได้กลับมาเห็นอีก

        เป็นลูกค้าของฮอนด้ามานาน เมื่อวันอังคารก็ได้มีโอกาสมาสอนหลักสูตรจิตวิทยาบริหารและการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ฮอนด้า อยุธยา ด้วย ดีจังที่ได้มีโอกาสเข้ามาในโรงงานและเห็นการทำงานที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยค่ะ

        หลักสูตรนี้ ผู้เข้าอบรมมีทั้งคนที่มีตำแหน่งหัวหน้า และคนที่ไม่ได้เป็นหัวหน้า โดยผู้จัดการฝ่ายเป็นคนส่งมาอบรม และจัดให้ถึง 2 รุ่น แสดงถึงการที่หัวหน้าเห็นความสำคัญของการพัฒนาลูกน้องให้เป็นผู้นำ ไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่งก็ตาม และที่สำคัญท่านมากล่าวเปิดให้กับลูกน้องด้วย และมานั่งฟังด้วยพอสมควรค่ะ

        หัวใจสำคัญของการบริหารและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา
        ผู้นำ คือ คนที่ผู้อื่นเชื่อถือ ยอมรับ และไว้วางใจและจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามได้
        การจูงใจผู้อื่นจะเกิดขึ้นเมื่อทำให้เขาเห็นประโยชน์ของสิ่งนั้น
        ธรรมชาติมนุษย์ อยากให้คนอื่นชื่นชม เห็นคุณค่า และยอมรับ หากผู้นำสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ จะช่วยให้ผู้อื่นอยากพัฒนาตัวเอง เพราะจริงๆ แล้วทุกคนล้วนอยากเก่ง อยากพัฒนา อยากประสบความสำเร็จค่ะ
        วิธีหนึ่งของการยอมรับ คือ การฟังอย่างเข้าใจและการถาม แทนการสั่งอย่างเดียว เพื่อให้เขาได้แบ่งปันมุมมองแนวคิด เพราะคนทุกคนล้วนมีศักยภาพค่ะ ทุกคนอยากแบ่งปันมุมมองแนวคิด (ถ้าอีกฝ่ายรับฟัง)
        ทักษะที่ผู้นำควรมี ได้แก่ ทักษะโค้ช การฟัง การถาม ทัศนคติเชิงบวก การจับถูก มองมุมบวกของผู้อื่น

        สิ่งที่ตนเองเรียนรู้ครั้งนี้
        การรับฟังอย่างตั้งใจและการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้อง ช่วยให้ผู้เรียนกล้าที่จะแบ่งปันมุมมองแนวคิด
        การให้พลังกับผู้เรียน คือ การช่วยให้เขาเห็นว่าตนเองมีศักยภาพ และสามารถทำให้ทุกอย่างดีขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตัวเอง.. ผู้นำ เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่ตนเอง
        การ roleplay โดยให้ผู้เรียนแสดงเป็นลูกน้องแบบที่เขารู้สึกว่าท้าทาย และ อ.แสดงเป็นหัวหน้า ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำให้ลูกน้องเห็นประโยชน์และให้ลูกน้องได้คำตอบด้วยตัวของเขาเอง
        ขณะที่เราถ่ายทอด แบ่งปัน ก็ดู feedback ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แล้วปรับตามผู้เรียน ก็เป็นการทำให้เป็นตัวอย่างของการเป็นผู้นำเช่นกัน ผู้นำสื่อสารแล้วสนใจผู้ฟังมากกว่าสนใจความต้องการของตัวเอง