ผลงานฝึกอบรม - การสร้างวิทยากรคุณภาพภายในองค์กร

หน้าแรก / ผลงานฝึกอบรม / ผลงานฝึกอบรม - การสร้างวิทยากรคุณภาพภายในองค์กร

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง       18 พฤษภาคม 2565       531       0

อ. กัณตพงษ์ วงศ์รัตนพิบูลย์

(Sale and Marketing Coaching & Consulting / Professional Trainer วิทยากรประจำสถาบันเอ็นเทรนนิ่ง)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

การสร้างวิทยากรคุณภาพภายในองค์กร
3 พฤษภาคม 2565
บริษัท อินเตอร์ แปซิฟิค เปเปอร์ จำกัด

เดินทางไปสอน on site ที่ปราจีนบุรี ผู้เรียนเป็นหัวหน้างานที่มีการสอนงานน้องๆ เช่น OJT, ให้ knowledge, พัฒนา skill ในแต่ละ function ของทีมงาน ทั้งช่างกะ หรือ operation อยู่แล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าสามารถนำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ที่เป็น Tacit Knowledge ความรู้ฝังลึก ของแต่ละคน ออกมาจัดทำเป็นหลักสูตรได้ ผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะสามารถนำมาใช้สอนน้องๆได้หลายกลุ่ม หลายครั้ง และสามารถปรับปรุงหลักสูตรได้ตลอดเวลา ที่มีการอัพเดทข้อมูล หรือปรับให้กระชับขึ้น หรือเหมาะสมกับผู้เรียนได้

ผู้เรียนบางส่วนยังเกิดความกังวล ทั้งเรื่องการกำหนดรูปแบบของหลักสูตร การจัดทำสไลด์ การดำเนินคลาสไม่ให้น่าเบื่อ การทดสอบ การวัดผล การอบรม อีกทั้งยังคงต้องทำเรื่องงานประจำ งานแทรก งานด่วน อาจทำให้ไม่มีเวลา หรืออาจทำให้น้องเสียเวลาในการปฏิบัติงาน

เมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนกันเรื่อง Growth Mindset ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดเชิงบวก ตั้งเป้าหมายที่จะทำเรื่องที่ท้าทาย และเริ่มเรียนรู้การเป็นวิทยากรภายในองค์กร ตั้งแต่การเตรียมตัว (การนำ tacit knowledge มากำหนดเป็นหัวข้อหลักสูตร, เรื่องที่จะสอน, กลุ่มผู้เข้าอบรม, เรื่องที่น้องอยากรู้) / การเขียนสไลด์ประเภทต่างๆ / การเขียน script การสอนของแต่ละสไลด์ / การออกแบบการฝึกอบรมด้วย story board / กิจกรรมระหว่างการอบรม / เทคนิคการฝึกอบรม / เทคนิคการตอบคำถามน้อง / การจูงใจให้น้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็น / การประเมินผลการอบรม / การวัดผลการอบรม เป็นต้น

หลังจบคลาสผู้เรียนเริ่มมีความเชื่อมั่นในการเป็นวิทยากรภายในองค์กรมากขึ้น โดยทุกคนจะจัดทำสไลด์หลักสูตร และทำการส่งหลักสูตรที่สมบูรณ์ตามที่ได้เรียนรู้ในคลาสให้กับ HRD ตามเวลาที่กำหนดกันต่อไป และตั้งเป้าหมายที่จะนำไปพัฒนาตัวเอง และทีมงานให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ต่อยอดการสร้าง tacit knowledge ให้เป็นองค์ความรู้ (KM) ขององค์กร