หลักสูตรฝึกอบรม การรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการรายงานเมื่อพบความผิดปกติ (หยุด-เรียก-รอ) - หลักสูตร 1 วัน
(Hiyari Hatto Activity & TYM /Tomeru-Yobu-Matsu)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการรายงานเมื่อพบความผิดปกติ (หยุด-เรียก-รอ) (Hiyari Hatto Activity & TYM /Tomeru-Yobu-Matsu)

อ. วินัย ดวงใจ

(กรรมการบริหารสมาคมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จังหวัดสมุทรปราการ)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและแนวความคิด
สถานประกอบการได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมความปลอดภัย เพื่อต้องการให้พนักงานทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและกลับถึงบ้านในแต่ละวันอย่างปลอดภัยโดยไม่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุแต่อย่างใด
ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของฝ่ายบริหาร กิจกรรม Hiyari Hatto ขึ้น ซึ่ง "ฮิยาริ" เป็นภาษาญี่ปุ่นมีคำเดิมว่า "ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ (Hatto-Hiyari-Hotto)" หมายถึง การแสดงออกของความรู้สึกของความตกใจและแสดงอาการนั้นออกมาเป็นคำพูดในลักษณะอุทานเวลาเห็นเหตุการณ์ หรือประสบกับเหตุการณ์ที่เกือบเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำอุทานในภาษาไทยว่า "อุ๊ย! เกือบไปแล้ว…มั้ยล่ะ" แต่เนื่องจากคำว่า "ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ" มีความยาวเกินไปจึงละคำว่า "ฮ้อตโตะ" เป็น "ฮิยาริ-ฮัตโตะ (Hiyari-Hatto)" มีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า "อุ๊ย! เกือบไปแล้ว" กิจกรรมดังกล่าว จึงได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ในการร่วมกันชี้จุดเสี่ยง และนำมาป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ หรืออุบัติเหตุขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำ "กิจกรรม Hiyari Hatto" และ หยุด เรียก รอ
2. เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมแจ้งปัญหาที่เคยประสบและอาจเกิดอันตรายต่อสมาชิกของพนักงาน
3. เพื่อให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและจุดไหนที่เสี่ยงต้องได้รับการปรับปรุง
4. เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เชิงรุกป้องกันก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น
5. ส่งเสริมให้การทำงานเป็นทีมในองค์กร มีการสร้างสัมพันธ์ภาพเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี การร่วมแรงร่วมใจกัน ผสานความแตกต่างเพื่อส่งเสริมการการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่องค์กร ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ถึงแม้ไม่ต้องมีผู้นำ ทีมก็สามารถดำเนินงานด้วยตนเองได้ ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในองค์กรอย่างที่สุด

หัวข้อการบรรยาย
หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์ ZERO ACCIDENT
ความหมายศัพท์ทางอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
      ความเสี่ยงอันตราย
      INCIDENT อุบัติการณ์
      ACCIDENT อุบัติเหตุ
      NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ
Workshop ค้นหาอันตราย พร้อมแนวทางการป้องกันแก้ไข
กิจกรรม กิจกรรม Hiyari Hatto
      ขั้นตอนและวิธีการ กิจกรรม Hiyari Hatto
      ประเมินความเสี่ยงแยกประเภท Rang A , Rang B , Rang C
      การติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
Work Shop : กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ภายในโรงงานของเรา แล้วนำเสนอ
กิจกรรม กิจกรรม หยุด เรียก รอ (TYM / Tomeru-Yobu-Matsu)
      ความสำคัญของมาตรฐาน หยุด เรียก รอ
      ขั้นตอนมาตรฐาน หยุด เรียก รอ
      HORENSO หมายถึง การรายงานการติดต่อ และ การปรึกษา ซึ่งการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อการลดความสูญเสีย ต้องเริ่มต้นด้วยการปรับความคิด และทัศนคติของคนในองค์กร ให้มีจิตสำนึกในงานที่ตนเองทำและรับผิดชอบว่าถูกต้องหรือไม่ มีปัญหาหรือไม่ ต้องเป็นคนช่างสังเกต มี Commonsense สังเกตเห็น สิ่งที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อลดความสูญเสียต่อไป
Work Shop : กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมทำกิจกรรม หยุด เรียก รอ

รูปแบบการอบรม
บรรยาย 50% Workshop 50%

กลุ่มผู้เข้าอบรม
พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม