ผลงานฝึกอบรม - การพัฒนาทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์และการประยุกต์ใช้

หน้าแรก / ผลงานฝึกอบรม / ผลงานฝึกอบรม - การพัฒนาทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์และการประยุกต์ใช้

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง       10 พฤศจิกายน 2565       424       0

ติดต่อสอบถาม
  086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

19.10.65 ... อยู่กับกลุ่มผจก.แบบ face to face ในหลักสูตร การคิดและการวางแผนเชิงกลยุทธ์

เป็นคลาสที่สนุกทีเดียวสำหรับตัวผมเองเนื่องด้วยเพราะมีเคสจากผู้เรียนขึ้นมาให้ Role Play & Story Coaching กันหลายรอบเลย
แก่นสำคัญของการคิดกลยุทธ์คือการกำหนดวิธีการหรือวางแผนอย่างรอบคอบบนสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อพิชิตเป้าหมาย

องค์ประกอบจึงมีอยู่ได้กันสามส่วนหลักๆคือ
- เป้าหมาย
- สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น (อุปสรรค , ข้อจำกัด )
- คิดอย่างรอบคอบ ( Scenario )

คำถามผู้เรียนวันนี้นอกเหนือจากเชิงบริหารงานแล้วก็เป็นเรื่อง #บริหารคน ประมาณว่า ถ้าเจอหัวหน้าแบบนี้ ถ้าเจอลูกน้องแบบนี้ ถ้าเจอแผนกอื่นแบบนี้ หรือลูกค้าแบบนี้ ควรพูดอย่างไรหรือรับมืออย่างไร
ด้วยความที่สวมหมวกโค้ชตอน Roleplay ทำให้เราโฟกัสที่เบื้องหลังคำพูดมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน ทำให้เราไม่มีอารมณ์เชิงลบไปกับคำพูดลบๆของคู่สนทนา เพื่อให้เราได้ยินทั้งด้านดีและความกังวลของเขาซึ่งจะนำไปสู่การตั้งคำถามชวนคิด(ไปข้างหน้า)ต่อได้
หากถอดบทเรียนจากการ Roleplay ออกมาในเชิงของการคิดกลยุทธ์ก็คือ เมื่อเราต้องสื่อสารกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น หัวหน้า เพื่นร่วมงาน ลูกค้า พาร์ทเนอร์ หรือลูกน้อง เราต้องเตรียมตัวก่อนเสมอ ซึ่งก็คือการวิเคราะห์และวางแผนรับมือ และในการรับมือ เราก็ต้องคิดอย่างมี Scenario ทั้ง Best case & worst case เสมอ
Best case ก็คือ ..หากเขาเห็นด้วยกับไอเดียของเรา แนวทางของเรา ข้อเรียกร้องของเรา ... เราจะทำอย่างไรต่อไป
Worst case ก็คือ .. หากเขาไม่เห็นด้วยกับไอเดียเรา ข้อเรียกร้องของเรา คำสั่งของเรา งานที่เรามอบหมาย ... เราจะรับมืออย่างไร คุยอย่างไร จูงใจอย่างไร หรือ เจรจาต่อรองอย่างไรต่อไป

สิ่งสำคัญและเป็น Key การคิดเชิงกลยุทธ์ในเชิงการบริหารบุคคลที่ฉุกคิดขึ้นมาได้ระหว่างถอดบทเรียนการ Role play คือ ... การที่เราเกิดอารมณ์โมโห หงุดหงิด กังวล เครียด ตกใจ เพราะเราไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนว่าอาจจะเจอคำตอบในมุม Worst case scenario
เพราะเมื่อใดก็ตามทีเราต้องสื่อสารกับคนอื่น ส่วนใหญ่เรามักจะคาดหวังแต่มุม Best case scenario ก็คือ เขาน่าจะเห็นด้วย เขาน่าจะโอเค เขาน่าจะเต็มใจเสียเป็นส่วนมาก
เมื่อผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง..อารมณ์เชิงลบจึงเกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ระวัง ซึ่งจะนำไปสู่คำพูดหรือการสื่อสารในเชิงลบนั่นเอง

การคิดเชิงกลยุทธ์ในการสื่อสารก็คือการคาดเดาหรือเดาใจว่าคำตอบของผู้ที่เราสื่อสารด้วยจะออกมาเป็นอย่างไรได้บ้าง และหากออกมาแบบนี้เราจะคุยกับเขาอย่างไรต่อ เสนออะไรเพิ่มเติมบ้าง หรือเจรจาต่อรองอย่างไร
ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการที่เขาจะยินดีปฏิบัติตามข้อเสนอ ร้องเรียกร้องของเราได้มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกันครับ

สอนหลักสูตรนี้ทีไรมักไม่พ้นไปเชื่อมโยงเรื่อง ภาวะผู้นำ และ การสื่อสาร 360 องศาทุกทีเลยครับ