หลักสูตรฝึกอบรม ฟาประจำบ้าน - หลักสูตร 2 วัน
(Internal Facilitator)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม ฟาประจำบ้าน (Internal Facilitator)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

       ในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร เวลาส่วนมากเน้นไปกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นแบบการพบเจอกันที่เกิดขึ้นตามจริง หรือเป็นแบบเสมือน (visual) แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายใต้ความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้น การทำงานร่วมกันมีอยู่เสมอ ซึ่งองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความเข้าใจในเป้าหมายสูงสุดขององค์กรนั้น ถือได้ว่าเป็นองค์กรที่มีข้อได้เปรียบกว่าองค์กรอื่นๆ
       แต่บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่า การที่จะต้องทำงานร่วมกันกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีมนั้น เป็นยากลำบากและเผาผลาญเวลาไปมากกว่าที่ควรจะเป็นอันเป็นผลให้เวลาที่ควรที่จะทำเต็มที่ให้กับเนื้องานของตนนั้นถูกลดทอนลงไป
       ซึ่งหากการทำงานร่วมกันนั้น สามารถเป็นพื้นที่ในการสร้างการเติบโตของบุคลากรแต่ละคน และเป็นการทบทวนเป้าหมายขององค์กรอยู่ตลอดแล้ว นั่นหมายความว่า องค์กรนั้นจะมีบุคลากรที่เติบโตอยู่ตลอดเวลลา และตัวองค์กรเองก็ได้ทบทวนเป้าหมาย และกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
       ซึ่งกลุ่มคนที่จะเป็นเสมือนตัวช่วยให้การอยู่ร่วมกัน หรือการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรนั้นเป็นการรวมกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีชื่อเรียกว่า Facilitator

หลักการและแนวความคิด

Facilitator หากจะแปลเป็นภาษไทยอย่างตรงตัว คือ ผู้อำนวยความสะดวก หรือ โดยทั่วไปจะได้ยินในชื่อ ฟา หรือ กระบวนกร โดยฟา นั้น มีหน้าที่สำคัญคืออำนวยความสะดวก ให้กลุ่มดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มนั้น คือ ทุกคนที่อยู่ในกลุ่ม หรือ ทีม สามารถใช้ประสบการณ์ของตนเอง รวมถึงสรรพกำลังของตนเอง เพื่อช่วยให้ทีมนั้นดำเนินไปได้และบรรลุเป้าหมายตามที่ทุกคนในทีมต้องการ โดยที่ฟา มีหน้าที่ สร้างบรรยากาศทั้งทางกายภาพ และทางจิตใจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มหรือทีมนั้น ได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายของกลุ่มนั้นๆ
ฟา จึงมีความสำคัญมากในองค์กร เพื่อเอื้ออำนวยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ทักษะของฟา นั้นประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การฟัง การถาม การสะท้อน ทวนความ และการจับประเด็น รวมถึงทักษะการอ่านกลุ่มและการดำเนินการกลุ่ม อันเป็นทักษะที่ทำให้ฟานั้นแตกต่าง มีเอกลักษณ์ แต่น่าหลงไหล

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีฟาในองค์กร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการ มีกรอบความคิด และทักษะในการเป็นฟาที่มีคุณภาพ
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเป็นฟาได้จริงในองค์กร

กระบวนการฝึกอบรม
ใช้กระบวนการ Facilitative Coaching เพื่อให้ผู้ร่วมเรียนได้สำรวจศักยภาพตนเอง ทักษะของตนเอง ในมิติต่างๆ และได้แนวทางการพัฒนาทักษะของตนเองตามรูปแบบการเรียนรู้ของตนเองด้วย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์ ทักษะการฟาในรูปแบบต่างๆทั้งของตนเอง และผู้อื่น รวมถึงการได้ปฏิบัติการจริงอย่างเข้มข้น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียน ตลอดทั้งกระบวนการ โดยมีภาพรวมของกระบวนการดังนี้

1. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ เลือกเรียนสิ่งที่จะนำไปใช้ทันที
2. การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากประสบการณ์จริงที่ตนเองและเพื่อนมี
3. กระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
      อบรม สัมมนา Facilitative Training and Coaching
      อบรม สัมมนา Training and Group Coaching
      อบรม สัมมนา Dialogue and Reflection
4. ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติจริงให้เกิดผลลัพธ์
5. กิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองและสร้างพลังกลุ่มของทีม

แก่นของ Facilitative Coaching
Facilitative Coaching คือ การเปิดพื้นที่การเรียนรุ้ให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการตระหนักรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะตน โดยกระบวนการ Facilitative Coaching จะเน้นวิชาเป็นศูนย์กลางที่พร้อมให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการสืบค้นความจริงของตนเองในประเด็นนั้นๆ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆถือเป็นอีกความจริงหนึ่งที่เพื่อนๆจะได้ร่วมกันสืบค้น จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นความจริงเฉพาะตน หรือที่เรียกว่าเป็นความรู้มือหนึ่ง ที่จะติดตัวและสามารถนำไปใช้ได้ทันที
การตระหนักรู้ในตนเองและเคารพในประสบการณ์ของเพื่อนที่ร่วมเข้าอบรมผ่านทักษะการฟัง จะช่วยให้เห็นคุณค่าในตัวเพื่อน เห็นศักยภาพในตัวเพื่อน ยอมรับความแตกต่าง อันจะนำไปสู่การเปิดใจรับข้อมูลใหม่เข้ามาพิจารณา และเกิด การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการเพิจารณาด้วยตนเอง และลองนำสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้มาทดลองฝึกในกระบวนการ ก่อนที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
ซึ่งผู้เข้าร่วมกระบวนการ จะได้เรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ไปด้วย เสมือนการถอดบทเรียนพฤติกรรมของตนเอง และพัฒนาตนเองขึ้นไปเรื่อยๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการ การเรียนรู้ตลอดชีวิต

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 วันที่ 1 กระบวนการ ตัวอย่างภาพรวมกิจกรรม
      อบรม สัมมนา 09:00-10:30 เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ Check in, แนะนำตัว, Ice Breaking
      อบรม สัมมนา 10:45-12:00 สำรวจศักยภาพและประสบการณ์ ผู้นำสี่ทิศ, แลกเปลี่ยนเรียนรู้, บทบาทสมมุติ
      อบรม สัมมนา 13:00-14:30 กลุ่ม และธรรมชาติของกลุ่ม ให้ความรู้เรื่องกลุ่ม, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ กิจกรรมท้าทายกลุ่ม
      อบรม สัมมนา 14:45-16:00 ถอดบทเรียนและสรุปการเรียนรู้ สำรวจความรู้ ทักษะที่ได้ และอยากพัฒนา


วันที่ 2
      อบรม สัมมนา 09:00-10:30 เตรียมความพร้อม/review จับกลุ่มแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ และสิ่งที่อยากจะ ได้เพิ่ม
      อบรม สัมมนา 10:45-12:00 ทักษะการฟัง และตั้งคำถาม กิจกรรมเพื่อการฟัง และการตั้งคำถาม
      อบรม สัมมนา 13:00-14:30 ทักษะการสรุป ทวนความ จับประเด็น กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมท้าทาย กลุ่ม
      อบรม สัมมนา 14:45-16:00 สรุปการเรียนรู้ Role play/ Q&A/ Check out

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมกระบวนการจะได้สำรวจการตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ได้เห็นศักยภาพและข้อจำกัดของตนเองเมื่ออยู่ในบริบทของการทำงานเป็นกลุ่มทีม รวมถึงได้สัมผัสประสบการณ์ และใคร่ครวญผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ตามรายละเอียดดังนี้
      อบรม สัมมนา 1. ผู้เข้าร่วมกระบวนการตระหนักรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นฟา
      อบรม สัมมนา 2. ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีกรอบความคิด (mindset) การเข้าใจตัวเองและผู้อื่นและสามารถเป็นผู้เอื้อให้เกิดการทำงานเป็นกลุ่มทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
      อบรม สัมมนา 3. ผู้เข้าร่วมมีกระบวนการอยู่ร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
      อบรม สัมมนา 4. ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะการเอื้ออำนวยการประชุมและการสอนงานในองค์กรในรูปแบบการฟาได้
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับหัวหน้างาน หรือวิทยากรภายใน รวมถึงกลุ่มผู้มีศักยภาพในองค์กร ที่นำทักษะการฟา ไปใช้ในที่ต่างๆที่มีการรวมกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มนั้นๆเป็นไปเพื่อการเติบโตของผู้ที่อยู่ในกลุ่มทีม และผลดีต่อองค์กร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม