หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม Daily Management for Supervisor in Industrial Sector
(วิทยากร โค้ช และที่ปรึกษาธุรกิจ)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด การวางแผนงานสำหรับหัวหน้างาน เป็นระบบการทำงาน และระบบการคิดที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับการยอมรับในระดับสากล อีกทั้งในปัจจุบันยังเป็นแม่แบบโครงร่างของระบบการมาตรฐาน หรือ ระบบ ISO เกือบทุกฉบับอีกด้วย หัวหน้างานต้องรู้จักใช้การนำเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อนำมาบริหารจัดการวางแผนการทำงานในแต่ละวัน โดยสามารถนำ หลักการของแนวทางการรายงานตามหลัก Ho-Ren-So /SDCA เป็นการสร้าง Daily Management หรือการบริหารงานประจำ เป็นส่วนนึงมาจาก Total Quality Management โดยอิงมาจาก PDCA การใช้เครื่องการจัดการขั้นสูงไม่ว่าจะเป็น การใช้เครื่องมือ 3 GEN/ 5 ส/POKA YOKE/ KAIZEN/Lean Management เพื่อการวินิจฉัยและนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อยกระดับการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย และการทำตารางทักษะการทำงาน (Skill Matrix) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับการบริหารคนให้เหมาะสมกับขนาดขององค์กร การทำงานของคนในองค์กรนั้นจะเน้นการทำงานที่คุณภาพมากขึ้น ฉะนั้นผู้นำหรือหัวหน้างานจำเป็นจะต้องรู้ว่าบุคลกรที่มีอยู่นั้นจะต้องได้รับการประเมินทักษะ เพื่อสามารถทำงานทดแทนผู้อื่นได้ ในการทำตารางทักษะการทำงาน (Skill Matrix) ที่ดีนั้นจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน โดยเริ่มตั้งแต่ทบทวนหน้าที่หลักของหน่วยงาน (Function Matrix) งานหลักที่ต้องทำ (Key Responsibility) รายละเอียดงานที่ต้องทำ (Key Task) การวิเคราะห์ Job Competency การคัดเลือก Skill และตลอดการรวมถึง Skill เพื่อนำไปทำตารางทักษะการทำงาน (Skill Matrix)
หลักสูตรนี้ ออกแบบมาเพื่อเน้นการฝึกปฏิบัติการ กึ่งที่ปรึกษา เรียนรู้จากรณีศึกษา รวมทั้งการทำ Skill Matrix เพื่อประเมินความสามารถของพนักงาน และหาแนวทางในการพัฒนาพนักงานในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป โดยยึดโยงกับเป้าหมายขององค์กรได้อย่างยยั่งยืน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในการจัดการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือขั้นสูง เช่น การรายงานการทำงานด้วย Ho-Ren-So/SDCA/3 GEN/ 5 ส/POKA YOKE/ KAIZEN/Lean Management
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในการทำตารางทักษะการทำงาน (Skill Matrix)
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำเทคนิคจากวิทยากรไปจัดทำตารางทักษะการทำงาน (Skill Matrix) และประยุกต์ใช้งานในองค์กรอย่างเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคนสร้างงาน และสร้างความยั่งยืน
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม (Target Participants) หัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารคน
รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline) วันที่ 1
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
การรายงานผลการทำงานด้วย Ho-Ren-So ระหว่างการปฏิบัติงาน
การสื่อสารมอบหมายงาน ด้วยการจัดทำ Morning Talk
การให้คำปรึกษาด้วยกระบวนการ CFR (Conversation, Feedback, Recognition)
Workshop 1: กิจกรรมการให้คำปรึกษาด้วย ด้วยการจัดทำ Morning Talk+CFR
รายละเอียดของการวางแผนงานโดยใช้ S-D-CA อย่างละเอียด
การพัฒนาทักษการทำงานโดยการใช้กระบวนการคิด
- การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
- การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking)
- การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking
การวิเคราะห์ปัญหาของงานด้วย 3 GEN
การนำเครื่องมือขั้นสูงมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น 5 ส/POKA YOKE/ KAIZEN/Lean Management ตามสถานการณ์
Workshop 2: การวิเคราะห์ปัญหาด้วย 3 GEN และนำเครื่องมือมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (กรณีศึกษา)
วันที่ 2
การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสามารถของพนักงาน
SKA ในการทำงานเกี่ยวกับการหาแนวทางการเพิ่มความสามารถของพนักงาน
Workshop 1: กิจกรรมการทำ SKA การหาแนวทางการเพิ่มความสามารถของพนักงาน
Skills Matrix ของหน่วยงาน จาก Job Description ให้สอดคล้องกับระบบ ISO
บทบาทหน้าที่ของผู้ที่ทำ Skills Matrix
ตารางทักษะการทำงานของ skill Matrix
ตาราง Skill Matrix มีประโยชน์อย่างไร
เทคนิคการทำตารางทักษะของพนักงาน
เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัดทักษะของ Skill Matrix
ขั้นตอนการทำ On the Job Training Matrix
Workshop 2: กิจกรรมกลุ่ม การทำ Skill Matrix และการติดตามการทำ OJT พร้อมนำเสนอ
สรุปการเรียนรู้ ถาม-ตอบ
รูปแบบการการอบรม (Methodology) การบรรยายแบบมีส่วนร่วม 60%
กิจกรรมและWork shop ถาม-ตอบ 40% (กรณีศึกษา)
มี Pre-test, Post-Test
การติดตามประเมินผลหลังอบรม 1 ครั้งผ่านระบบ Zoom
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม