โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 7 กันยายน 2561 20,592 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / หลักการคิดและแนวทางการทำงานของผู้จัดการ
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,259 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
29 ต.ค. 2561 อ่าน 52,429 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 3,303 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 2,060 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 4,242 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,289 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
“ผู้จัดการที่เติบโตมาจากผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน มีความรู้ ความสามารถมาก เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งผู้จัดการมักมีข้อเสียที่ไม่สามารถบริหารทีมงานได้อย่างมีประสิทธิผล ยังปฏิบัติตัวเหมือนที่เคยทำในอดีต บางครั้งก็สับสนว่าควรทำ อะไรบ้างและอะไรที่ไม่ควรทำ จึงกลายเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้จัดการเอง”
หน้าที่บริหาร, ควบคุม, จัดการ ไม่ใช่ลงมือทำงาน ผู้จัดการ ควรไว้วางใจให้ลูกน้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของเขา ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปทำแทนเขา เพราะเขาก็จะไม่เก่งถ้าเราคอย ทำแทนเขาไปหมด เราจึงควรแค่ชี้แนะเท่านั้น ดังนั้น จึงควรกำหนดเป้าหมาย และบริหารให้ได้ตามเป้าหมาย คอยตรวจสอบและควบคุมให้งานอยู่ในแผนที่กำหนดไว้
กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่รอแต่คำสั่งอนุมัติ ผู้จัดการมือใหม่ หลายคนยังไม่คุ้นเคยกับการตัดสินใจ เพราะที่ผ่านมารอแต่คำสั่งอนุมัติจากหัวหน้า ทำให้ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจจึงหมดความเชื่อถือจากลูกน้อง ดังนั้น จึงควรฝึกการตัดสินใจถ้าไม่แน่ใจก็อาจทำทางเลือก เพียงนำไปปรึกษาหัวหน้าอีกครั้งหนึ่ง
สร้างทีมงานให้เหมาะสมกับงาน ไม่ใช่เลือกเฉพาะที่ถูกใจ ทีมงานย่อมมีความหลากหลายในความสามารถและงานก็มีหลากหลายอย่าง ดังนั้น ควรกระจายงานและมอบหมายงานให้ตรงกับ จุดเด่นหรือศักยภาพของแต่ละคนเหมือนคำที่ว่า “Put the Right Man to the Right Job” เพราะผู้จัดการ หลายคนจะชอบใช้เฉพาะคน ที่สนิท ซึ่งในบางครั้งงานอาจมากเกินไปสำหรับเขา ควรพิจารณาให้เหมาะสมจะได้ผลงานที่มากกว่า
เผชิญหน้ากับปัญหาร่วมกับทีมงาน ไม่ใช่แค่การรายงานผู้บริหาร ผู้จัดการมีหน้าที่รับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใครในทีมงานที่ปฏิบัติงานผิดพลาด เพราะเป็นทีมงานของเรา ดังนั้นจึงควรเข้าร่วมแก้ไขปัญหาโดยการตรวจสอบ, กำหนดแนวทาง, ให้คำแนะนำและอาจร่วมช่วยเหลือถ้าจำเป็น เพื่อให้ปัญหา/อุปสรรคได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่ใช่แค่คอยตอบคำถามผู้บริหารว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าทำอย่างนั้นแล้วคงจะได้ใจทีมงานยากครับ
ทำงานเชิงรุก (Proactive) ไม่ใช่รอรับงาน (Reactive) ผู้จัดการต้องเป็นผู้กำหนดเป้าหมายให้กับทีมงานแล้วลงมือปฏิบัติตามแผนงาน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ไม่ใช่รอรับงานเหมือในอดีตอีกต่อไป อีกทั้งยังต้องพัฒนาให้ทีมงานทำงานเชิงรุกด้วย โดยการจูงใจให้ทุกคนมีเป้าหมาย ของตัวเองแต่ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย ของทีมงานด้วย และให้ทุกคนวางแผนงานของตัวเองให้ละเอียด แล้วจึงปฏิบัติงานตามแผนอย่างต่อเนื่องต่อไป
สร้างทีมงานให้เป็นทีมเวิร์ค ไม่ใช่ให้ทะเลาะกัน ผู้จัดการหลายคนไม่ได้ทันระวังตัว ว่าได้สร้างความระแวงให้กับทีมงานเพราะชอบให้คนนั้นตรวจสอบคนนี้ แล้วให้คนนี้ตรวจสอบคนอื่นต่อไป เพื่อจะได้ข้อมูล แต่จริงๆ แล้วผู้จัดการ ควรเป็นผู้พูดคุยกับบุคลากรภายในทีมด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องถามคนอื่น เพราะการพูดคุยกันในทีมย่อมสร้างความเข้าใจและความ ไว้วางใจให้เกิดขึ้นภายในทีมได้ การทำงานก็จะราบรื่นไม่ต้องคิดกันไปเอง สุดท้ายทีมงานก็จะกลายเป็นทีมเวิร์ค
หลักพื้นฐานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวความคิด ที่ผู้จัดการ คุณภาพ ควรนำมาพิจารณาว่าสามารถ ปฏิบัติได้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานปกติเกิดประสิทธิผลมากขึ้นและควรหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับการบริหารจัดการเพิ่มเติมตามแหล่งความรู้ต่างๆ
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,259 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
29 ต.ค. 2561 อ่าน 52,429 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 3,303 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 2,060 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 4,242 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,289 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Thinking อ่าน 3,620
หมวด Coaching อ่าน 4,581
หมวด Leadership อ่าน 4,706
หมวด Leadership อ่าน 12,900
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,933
หมวด Softskill อ่าน 4,804
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,634