หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการสร้างองค์กร ด้วยกิจกรรม Kaizen (Kaizen activity organization)
(MBA. (Industrial Management))
ติดต่อสอบถาม
084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล
ในภาวะที่มีการแข่งขันที่สูงในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้ การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดความไม่ปลอดภัย และการทำงานที่ใช้เวลาเท่าเดิมแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมือง่ายๆ ของกิจกรรม ไคเซ็น ก็เพื่อให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและเกิดจิตสำนึกรักองค์กร รวมถึงช่วยกันปรับปรุงวิธีการทำงาน เพื่อให้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น มีของเสียที่ลดลง ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดของการเพิ่มผลผลิต เพื่อต่อยอดไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมในเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตต่อไปในอนาคต
การดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะ และกิจกรรมไคเซ็น ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบส่วนใหญ่มีอยู่ด้วยกันสองประการคือ พนักงานส่วนใหญ่ ขาดความรู้ ในกิจกรรม ไม่รู้ว่ากิจกรรมนี้คืออะไร จำเป็นอย่างไร ทำไมต้องทำ และถ้าจะทำต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแค่ให้ความรู้ คำแนะนำ หรือให้ตัวอย่าง พร้อมกับการ แนะขั้นตอน วิธีการดำเนินงานก็ไปได้ แต่สำหรับปัญหาที่สองซึ่งมักเกิดขึ้นกับ บริษัทที่มีการดำเนินกิจรรมทั้งสองมาได้ระยะหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั่นก็คือ จำนวนของการเสนอกิจกรรมเหล่านี้ลดลง แม้จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมก็ตาม เช่น เพิ่มเงินรางวัล จัดประกวดคำขวัญ จัดการแข่งขัน ติดบอร์ด ป้าย ประชาสัมพันธ์ แต่จำนวนก็ยังไม่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนด
โดยหลักสูตรนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวในการดำเนินกิจกรรม ไคเซ็น และเพื่อให้เกิดคณะกรรมการดำเนินงาน ที่จะเข้าใจแนวคิด ในการดำเนินกิจกรรมของ ไคเซ็น ที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งคณะทำงาน การติดตาม การดำเนินงาน และเรียนรู้วิธีการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น เพื่อช่วยชี้แนะให้กับพนักงาน ได้ด้วยเครื่องมือต่างๆเช่น PDCA, QC7 Tools, 5S ฯลฯ ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานไคเซ็นอย่างจริงจังและสามารถผลักดัน ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน ผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างได้อย่างต่อเนื่องแล้วก็จะเกิดการสร้างวัฒนธรรมไคเซ็นในองค์กร ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรม ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานของ คณะกรรมการไคเซ็น
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและสามารถชี้แนะกระบวนการทำงานของพนักงานได้อย่างถูกวิธีและ ทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม
1. ไคเซ็นคืออะไร วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ ปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
4. การดำเนินกิจกรรมไคเซ็น ภายในองค์กร วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงการดำเนินกิจกรรม ไคเซ็น การปรับปรุงงานและสามารถให้คำปรึกษา พร้อมหาแนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
5. วิธีการตรวจสอบกิจกรรมไคเซ็น และประเมินผลความสำเร็จ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคการตรวจสอบและวิธีการคัดเลือกกิจกรรมไคเซ็น เพื่อความเป็นเลิศในองค์กร
6. กรณีศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้จากการดำเนินกิจกรรมจริงขององค์กรอื่น
กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน
พนักงาน
ผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 40 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 20 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
2. สามารถดำเนินกิจกกรมไคเซ็น ภายในองค์กรได้อย่างยั่งยืน
3. สามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้และขยายผลภายในองค์กรต่อไป
4. พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่น PCDA, 5S, QC7Toolsฯลฯร่วมกับ กิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม