หลักสูตรฝึกอบรม กิจกรรมการรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย - หลักสูตร 1 วัน
(HIYARI HATTO ACTIVITY & KYT)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม กิจกรรมการรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ และการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย (HIYARI HATTO ACTIVITY & KYT)

อ. วินัย ดวงใจ

(กรรมการบริหารสมาคมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จังหวัดสมุทรปราการ)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
สถานประกอบการได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมความปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้พนักงานทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันและกลับถึงบ้านในแต่ละวันอย่างปลอดภัยโดยไม่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุแต่อย่างใดดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของฝ่ายบริหาร กิจกรรม Hiyari Hatto ขึ้น ซึ่ง "ฮิยาริ" เป็นภาษาญี่ปุ่นมีคำเดิมว่า "ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ (Hatto-Hiyari-Hotto)" หมายถึง การแสดงออกของความรู้สึกของความตกใจและแสดงอาการนั้นออกมาเป็นคำพูดในลักษณะอุทานเวลาเห็นเหตุการณ์ หรือประสบกับเหตุการณ์ที่เกือบเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับคำอุทานในภาษาไทยว่า "อุ๊ย! เกือบไปแล้ว…มั้ยล่ะ" แต่เนื่องจากคำว่า "ฮัตโตะ-ฮิยาริ-ฮ้อตโตะ" มีความยาวเกินไปจึงละคำว่า "ฮ้อตโตะ" เป็น "ฮิยาริ-ฮัตโตะ (Hiyari-Hatto)" มีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า "อุ๊ย! เกือบไปแล้ว"
กิจกรรมดังกล่าว จึงได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร ในการร่วมกันชี้จุดเสี่ยง และนำมาป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ หรืออุบัติเหตุขึ้น KYT (Kiken Yochi Training) เป็นวิธีการของญี่ปุ่น ที่นิยมและยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ลดเรื่องอุบัติเหตุเป็นอย่างมากแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตในการผลิต และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย เป็นกิจกรรมที่ฝึก การพยากรณ์อันตรายภายใต้แนวความคิดที่ว่า ช่วยกันทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องโดยเฉพาะการชี้นิ้ว และพูดย้ำ มีการ ฝึกอบรมทางด้านความรู้ และเทคนิค ความไวของประสาทสัมผัส ด้านอันตราย รวมไปถึงการมีสมาธิ และความกระตือรือร้น สร้างความสามัคคี ความพร้อมเป็นหนึ่ง
กิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การส่งเสริมผู้สอน หรือวิทยากรภายในองค์กรด้านความปลอดภัยการหยั่งรู้อันตราย KYT จึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมวิธีการ ในการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและการหยั่งรู้อันตราย อันเป็นเป้าหมายของทุกองค์กรคือ การยกอุบัติเหตุเป็นศูนย์หรือ Zero Accident

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการทำ "กิจกรรม Hiyari Hatto"
2. เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมแจ้งปัญหาที่เคยประสบและอาจเกิดอันตรายต่อสมาชิกของพนักงาน
3. เพื่อให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและจุดไหนที่เสี่ยงต้องได้รับการปรับปรุง
4. เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เชิงรุกป้องกันก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจวิธีค้นหาอันตราย นำไปเดือนสติก่อนปฏิบัติงาน ด้วย KYT

หัวข้อการบรรยาย
หลักในการทำให้อุบัติเหตุเป็น ศูนย์ ZERO ACCIDENT
การสร้างจิตสำนึกการระวังอันตราย อุบัติภัย ร่วมกัน ทำและคิดด้วยตัวเอง
ความแตกต่างและความหมายของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
     - INCIDENT อุบัติการณ์
     - ACCIDENT อุบัติเหตุ
     - NEAR MISS เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุ
Workshop ค้นหาอันตราย พร้อมแนวทางการป้องกันแก้ไข
กิจกรรม กิจกรรม Hiyari Hatto
ความหมาย ประวัติ ความเป็นมา
วัตถุประสงค์และประโยชน์ของกิจกรรม Hiyari Hatto
ขั้นตอนและวิธีการ กิจกรรม Hiyari Hatto
ประเมินความเสี่ยงแยกประเภท Rang A , Rang B , Rang C
การติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
Work Shop: กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ภายในโรงงานของเรา แล้วนำเสนอให้เพื่อนผู้รับอบรมทราบ เพื่อขยายผลต่อไปในโรงงานทุกพื้นที่ทำงาน
ประวัติ ความเป็นมา ของกิจกรรม KYT
ประเภทของ KYT ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
     - KYT 4 ยก (4 Rounds KYT)
     - KYT จุดเดียว (One Point KYT)
     - KYT ปากเปล่า (Oral KYT)
ขั้นตอนและวิธีการ ทำ KYT 4 ยก ค้นหาอันตราย วิเคราะห์ ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง? และจะต้องปฏิบัติอย่างไร? "มือชี้ ปากย้ำ" เตือนสติ ก่อนปฏิบัติงาน การระดมสมอง
     - ค้นหาจุดอันตราย จากภาพที่ซ่อนเร้น พร้อมสาเหตุ
     - เลือกจุดอันตรายที่สำคัญที่สุด
     - หามาตรการป้องกันแก้ไข
     - เลือกมาตรการป้องกันที่ทำได้ง่าย ทันที 1-2 ข้อ ตั้งสโลแกน โดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ทำและจำได้ง่าย ... ตะโกนเตือนตนก่อนทำงาน
Work Shop: กิจกรรมย่อย ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ทำ KYT จากภาพหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น

รูปแบบการการอบรม
บรรยาย 50% Workshop 50%

กลุ่มผู้เข้าอบรม
พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม